กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองระดับสมรรถนะการได้ยินในกลุ่มทำงานที่ใช้เครื่องกลเสียงดัง
รหัสโครงการ 66-L1520-01-16
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านในปง
วันที่อนุมัติ 21 กรกฎาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2566 - 20 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 20 กันยายน 2566
งบประมาณ 7,050.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายธวัช ใสเกื้อ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลอ่าวตง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.862,99.365place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานแรงงานนอกระบบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกได้นำเสนอว่าปัจจุบันทั่วโลกมีผู้สูญเสียสมรรถภาพ การได้ยินจำนวน 466 ล้านคนหรือร้อยละ 5 ของประชากรทั้งหมด และคาดว่าจำนวนจะเพิ่มขึ้นเป็น 900 ล้านคนในปี พ.ศ.2593 หรือร้อยละ 10 ของประชากรทั่วโลก (World Health Organization, 2019) โดยข้อมูลอุบัติการณ์การสูญเสียสมรรถภาพการได้ยินจากเสียงในการประกอบอาชีพ พบได้ ประมาณ ร้อยละ 7 ถึง 21 ของผู้ประกอบอาชีพที่รับสัมผัสเสียงดัง ในหลายประเทศจึงให้ความสำคัญ กับการสูญเสียสภาพการได้ยินและมีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวอย่างกว้างขวาง ตัวอย่างของ ประเทศที่มีระดับการสูญเสียการได้ยินสูงในประชากร ได้แก่ ประเทศแทนซาเนียซึ่งมีการประกอบ อุตสาหกรรมเหมืองเป็นส่วนใหญ่ จากการศึกษาพบว่า 94% ของผู้ทำงานในเหมืองมีปัญหาทางการได้ ยิน โดยแบ่งเป็นร้อยละ 47 มีการสูญเสียสมรรถภาพการได้ยินร้อยละ 12 มีปัญหาการได้ยิน และร้อย ละ 35 มีความบกพร่องทางการได้ยิน (Musiba, 2015) สำหรับในประเทศไทย จากข้อมูลของสำนัก ระบาดวิทยา ได้จัดให้การสูญเสียสมรรถภาพการได้ยินอันมีสาเหตุจากการรับสัมผัสเสียงดังขณะ ทำงานเป็นโรคจากการประกอบอาชีพที่สำคัญ โดยจากการจัดทำระบบเฝ้าระวัง 5 กลุ่มโรคหลักจาก การประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ระหว่างปี พ.ศ.2546-2552 พบว่ามีผู้เสื่อมสมรรถภาพการได้ยิน จากการรับสัมผัสเสียงดัง คิดเป็นร้อยละ 60.2 ของผู้ป่วย 5 กลุ่มโรคหลักจากการประกอบอาชีพและ สิ่งแวดล้อม โดยในปี พ.ศ. 2557 พบผู้ป่วยด้วยโรคประสาทหูเสื่อมจากเสียงดัง 44,026 ราย และยังคง มีแนวโน้มสูงขึ้นต่อไป จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2559 พบผู้ป่วยจำนวน 56,055 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 115.19 คนต่อแสนประชากร (อัถสิทธ์ รัตนารักษ์และคณะ, 2560) สียงดังอาจทำให้เกิดอาการเวียนหัว บ้านหมุน เสียการทรงตัว เสียงดังอาจเป็นสาเหตุของเสียงรบกวนในหูที่หลายคนทนทุกข์ทรมานยิ่งกว่านั้น การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงอึกทึกครึกโครม อาจมีผลกระทบไปถึงสุขภาพกาย เกิดการป่วยไข้ทางกายได้แก่โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง และสุขภาพจิต จิตไม่สงบ วิตกกังวล สับสน นอนไม่หลับ หรือเกิดภาวะก้าวร้าวในเด็ก เรามาทำความเข้าใจเรื่องมลพิษจากเสียงดังดีกว่า เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบดังกล่าวก่อนที่จะสายเกินแก้การได้ยินเสียงเป็นสิ่งที่ดี เพราะทำให้เราได้มีการสื่อสารเข้าใจซึ่งกันและกัน เด็กที่เกิดมาหูหนวก ไม่ได้ยิน จะทำให้เป็นใบ้ ไม่อาจมีภาษาพูดและไม่อาจมีพัฒนาการตามวัย ต้องมีการแก้ไขโดยด่วนเพื่อให้สามารถได้ยินและเรียนรู้ภาษาพูด มีภาษาพูด แต่คนที่เกิดมาโชคดีมีการได้ยินปกติ หลายคนกลับไม่ทะนุถนอมดูแลการได้ยินดีที่ธรรมชาติให้มา แต่กลับใช้หูอย่างสมบุกสมบัน ฟังเสียงดังเกินความจำเป็นโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม หลายคนกลับเป็นคนก่อเสียงดังและทำลายหูของตนเองไปอย่างช้าๆ โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์การใช้โทรศัพท์มือถือตลอดเวลา ด้วยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านในปงจึงตระหนักของกลุ่มวัยทำงานที่ประกอบชีพใช้เครื่องกลเสียงดังเป็นประจำในการทำงานเสี่ยงต่อเยื่อแก้วหูและการได้ยิน ในการคัดกรองเพื่อหาความผิดปกติ ด้วยการตรวจระดับการได้ยิน ซึ่งคงเป็นประโยชน์เบื้องในการรีบหาทางในการรักษาโรคระบบการได้ยิน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้กลุ่มวัยทำงานมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องมลพิษทางเสียงป้องกันการเกิดเสียหายของอวัยวะหูภายใน

ร้อยละ 100 กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจการป้องกันมลพิษทางเสียงก่อการเกิดเสียหายของอวัยวะหูภายใน

2 2. เพื่อให้กลุ่มวัยทำงานได้รับคัดกรองทราบระดับสมรรถนะการได้ยินของตนเอง

ร้อยละ 100 กลุ่มเป้าหมายได้การคัดกรองระดับสมรรถนะการได้ยินของหู

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 30 7,050.00 0 0.00
1 ส.ค. 66 - 20 ก.ย. 66 ประชาสัมพันธ์โครงการ 0 450.00 -
1 ส.ค. 66 - 20 ก.ย. 66 การคัดกรองระดับสมรรถนะการได้ยินของหู 30 6,000.00 -
1 ส.ค. 66 - 20 ก.ย. 66 กิจกรรมการให้ความรู้ ความเข้าใจการป้องกันมลพิษทางเสียงก่อการเกิดเสียหายของอวัยวะหูภายใน 0 600.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มทำงานที่ใช้เครื่องกลได้การคัดกรองสมรรถนะระดับการได้ยินของหู
  2. กลุ่มทำงานที่ใช้เครื่องกลมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องมลพิษทางเสียงป้องกันการเกิดเสียหายของอวัยวะหูภายใน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ก.ค. 2566 15:12 น.