กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการฟื้นฟูความรู้โรคไข้มาลาเรียบ้านกาสังใน
รหัสโครงการ 66-L8411-02-25
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม. ตำบลตาเนาะปูเต๊ะ
วันที่อนุมัติ 20 กรกฎาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กันยายน 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 14,150.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสีวิกา ไกรววณ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตาเนาะปูเต๊ะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.355399858,101.3271073place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้มาลาเรียเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตและสุขภาพของประชาชน โดยจังหวัดยะลาเป็นพื้นที่หนึ่งที่มีการระบาดของโรคมาลาเรียอย่างต่อเนื่องทุกปี จึงได้มีการเน้นให้มีการควบคุมโรคไข้มาลาเรียเป็นนโยบายหลักของงานด้านสาธารณสุขอำเภอบันนังสตา เป็นอำเภอหนึ่งที่มีการระบาดของโรคมาลาเรียในปี 2566 ซึ่งทุกพื้นที่ของอำเภอบันนังสตา จะมีผู้ป่วยด้วยโรคมาลาเรียอย่างต่อเนื่อง สำหรับตำบลตาเนาะปูเต๊ะ มีจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้มาลาเรีย ทั้งสิ้น 28 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 2.1 ต่อแสนประชากร สาเหตุจากยุงก้นปล่องที่เป็นพาหะนำโรค ประกอบกับสภาพพื้นที่ของตำบลที่มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการระบาดของโรค นอกจากนี้พฤติกรรมสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ ที่ยังไม่มีการควบคุมป้องกัน เช่น การนอนไม่กางมุ้ง เป็นต้น จึงทำให้โรคไข้มาลาเรียจะมีการระบาดตลอดปี และมีการระบาดในทุกกลุ่มอายุ ดังนั้นชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลตาเนาะปูเต๊ะ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการเฝ้าระวัง ควบคุมปัญหาดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง จึงมีจัดโครงการฟื้นฟูความรู้โรคไข้มาลาเรียบ้านกาสังใน เพื่อป้องกันการเกิดโรคซ้ำในพื้นที่เสี่ยง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยง มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโรคไข้มาลาเรียร้อยละ 100

 

2 เพื่อควบคุม ป้องกันโรคไข้มาลาเรีย อย่างต่อเนื่อง

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 50 14,150.00 1 14,150.00
21 ก.ย. 66 อบรมให้ความรู้ เรื่อง โรคไข้มาลาเรีย 50 14,150.00 14,150.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยง มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องโรคไข้มาลาเรียร้อยละ 100 2.ประชาชนมีความตระหนักในการควบคุม ป้องกันโรคไข้มาลาเรีย ได้อย่างต่อเนื่อง ไม่เกิดโรคซ้ำในพื้นที่เสี่ยง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ก.ค. 2566 15:16 น.