กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดหวาน มัน เค็ม เด็กหนองแสง ประจำปี 2566
รหัสโครงการ 66-L1520-02-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านหนองชุมแสง
วันที่อนุมัติ 21 กรกฎาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2566 - 20 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 20 กันยายน 2566
งบประมาณ 13,080.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางโชติมาศ รัตนพงษ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลอ่าวตง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.862,99.365place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 208 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาสุขภาพที่เป็นสาเหตุการตายอันดับแรกๆของประเทศไทย คือมะเร็งทุกชนิดความดันโลหิตสูง/โรคหลอดเลือดสมองหลอดเลือดและโรคหัวใจมีอัตราตาย 101.88 ,49.62 ,38.48ต่อแสนประชากรตามลำดับ (ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติพ.ศ.2547) ซึ่งโรคเหล่านี้เกิดจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง คือขาดการออกกำลังกาย มีการรับประทานอาหารไม่เหมาะสมและไม่เพียงพอแม้ประชาชนจะมีความรู้ แต่ยังไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้ถูกต้องจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ สำรวจพฤติกรรมการเล่นกีฬาหรือออกกำลังกาย พบว่าร้อยละ 36.6 ของประชากรอายุ 11 ปีขึ้นไป ที่มีการออกกำลังกายเพียงพอที่จะช่วยป้องกันโรคได้ สำหรับการรับประทานอาหารนั้นจากผลการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยในปีพ.ศ.2551-2552 พบว่าทั้งหญิงและชาย รับประทานผักและผลไม้ เฉลี่ยเพียงวันละ 3.1 และ 3.0 ส่วนมาตรฐาน ตามลำดับ โดยมีความชุกของการรับประทานผักและ ผลไม้ปริมาณต่อวันเพียงพอตามข้อแนะนำ (รวม > 5 ส่วน มาตรฐานต่อวัน) การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ด้วยการปฏิบัติจริง 2 กระบวนการได้แก่ 1. การออกกำลังกายสม่ำเสมอสัปดาห์ละอย่างน้อย 3-5 วันๆละอย่างน้อย30 นาที 2. การรับประทานผักและผลไม้สด วันละครึ่งกิโลกรัม หรือรับประทานผักในปริมาณครึ่งหนึ่งของอาหารแต่ละมื้อ และลดการรับประทานอาหารไขมันจะสามารถทำให้ประชาชนลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งได้ถึงร้อยละ20-30 โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือดก็ลดลงมากเช่นกัน ทั้งการออกกำลังกายและการปลูกผักร่วมกันยังเป็นกิจกรรมสร้างความอบอุ่นในครอบครัวอีกด้วย โดยมีประชากรกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ประชากรกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง ซึ่งโดยส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่พึงประสงค์ การบริโภคอาหาร การขาดการออกกำลังกาย จากพฤติกรรมข้างต้น ส่งผลให้ประชากรในพื้นที่มีภาวะอ้วนลงพุง ปัญหารอบเอวเกิน การส่งเสริมประชาชนให้ปฏิบัติตนถูกต้องตามพฤติกรรม 3 อ. 2 ส. ปรับพฤติกรรมการบริโภค, การออกกำลังกาย และการจัดการความเครียด รวมทั้งไม่สูบบุหรี่และไม่ดื่มสุราได้นั้นจะลดความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังต่างๆได้ มีผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มีจำนวนสูงขึ้นทุกปี รวมถึงผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะมีแนวโน้มเป็นโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โรงเรียนบ้านหนองชุมแสงจึงตระหนักหาแนวทางในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักเรียนให้หันมาสนใจเกี่ยวกับเรื่อง สุขภาพ โดยเฉพาะอาหารที่อาจก่อเกิดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งอาหารที่มีรสหวาน มันเค็ม อาหารประเภทนี้จะก่อให้เกิดเป็นโรคดังกล่าว เพื่อเป็นการกระตุ้นเตือนให้ความสำคัญ เกี่ยวกับสุขภาพของตนเอง ทางโรงเรียนบ้านหนองชุมแสงจึงได้จัดทำโครงการดังกล่าวขึ้น โรงเรียนบ้านหนองชุมแสงเล็งเห็นความสำคัญของการแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพ เน้นการป้องกันให้นักเรียนกลุ่มเสี่ยงสามารถดูแลตนเองเพื่อไม่ให้กลายเป็นกลุ่มป่วยและเพื่อให้นำความรู้ที่ได้รับไปแนะนำผู้ปกครองและคนในชุมชนกลุ่มป่วยให้สามารถควบคุมอาการตนเองและลดภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นได้โดยเน้นการดำเนินงานโดยโรงเรียนบ้านหนองชุมแสงมีส่วนร่วมในการกระตุ้นและสร้างกระแสให้นักเรียนโรงเรียนบ้านหนองชุมแสงตื่นตัวในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอย่างต่อเนื่องจึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดหวาน มัน เค็ม เด็กหนองแสง ประจำปี 2566

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้และนำความรู้ไปปฏิบัติได้จริงในชีวิตประจำวัน

นักเรียนสามารถเลือกบริโภคอาหารได้ถูกต้องอย่างน้อยร้อยละ 80

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 13,080.00 0 0.00
1 ส.ค. 66 - 20 ก.ย. 66 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม ตามความเหมาะสม 0 9,080.00 -
1 ส.ค. 66 - 20 ก.ย. 66 กิจกรรมรณรงค์ลดการกินหวาน มัน เค็มในโรงเรียน เช่น การจัดป้ายนิเทศ ประชาสัมพันธ์กิจกรรมลดการกินหวาน มัน เค็ม 0 4,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนปรับเปลี่ยนทัศนคติของเด็กต่อเรื่องการกินอาหารหวาน มัน เค็ม เกินความจำเป็น
  2. นักเรียนปฏิบัติตน "ลด หรือ งด" เติมน้ำตาลหรือปรุงรสเค็มเพิ่มในอาหาร
  3. นักเรียนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม "ชิม" ก่อนปรุงเพิ่มทุกครั้ง
  4. นักเรียน "เลี่ยงกิน" ขนมหวานและเครื่องดื่มรสหวาน หันมาทานผลไม้รสหวานน้อยแทน
  5. นักเรียนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม "เลือก" ทานเนื้อสัตว์ไม่ติดหนัง หรือเลาะไขมันออก
  6. นักเรียนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม "ใช้" ไขมันดีในการปรุงประกอบอาหารโดยสลับชนิดกันไป เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว
  7. นักเรียนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม "เลือก" ทานเนื้อสัตว์ไม่ติดหนัง หรือเลาะไขมันออก
  8. นักเรียนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม "ลด" การกินอาหารแปรรูป อาหารกึ่งสำเร็จรูป และขนมขบเคี้ยวต่าง ๆ
  9. นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับการบริโภคน้ำตาล,เครื่องปรุงรสเค็ม,ไขมันในปริมาณที่เหมาะสม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ก.ค. 2566 10:30 น.