กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคตาแดงในชุมชน
รหัสโครงการ 66-L1520-01-19
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลอ่าวตง
วันที่อนุมัติ 21 กรกฎาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2566 - 20 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 20 กันยายน 2566
งบประมาณ 34,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเพ็ญศรี เลี่ยนกัตวา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลอ่าวตง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.862,99.365place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 10556 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปี พ.ศ. 2566 ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูฝน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมไปจนถึงกลางเดือนตุลาคม
ในภาคกลาง เหนือ และตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคใต้จะยังคงมีฝนชุกถึงช่วงมกราคมของปีถัดไป
สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงมีฝนตกชุกในบางพื้นที่ อากาศเริ่มเย็นลง และมีความชื้นสูงขึ้น เป็นสาเหตุ ทำให้โรคหลายชนิดสามารถแพร่ระบาดได้ง่ายและรวดเร็ว กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
เตือนโรคภัยสุขภาพที่เกิดในช่วงฤดูฝน ประกอบด้วย 1) โรคติดต่อทางเดินหายใจ ได้แก่ โรคไข้หวัดใหญ่
และโรคปอดอักเสบ 2) โรคติดต่อจากการสัมผัส ได้แก่ โรคมือ เท้า ปาก โรคไข้ฉี่หนู และโรคเมลิออยโดสิส 3) โรคติดต่อนำโดยยุงลาย ได้แก่ โรคไข้เลือดออก โรคไข้ปวดข้อยุงลาย หรือโรคชิคุนกุนยา และโรคติดเชื้อไวรัสซิกา และ 4) โรคเยื่อบุตาอักเสบหรือโรคตาแดง ช่วงฤดูฝนจะมีโอกาสพบผู้ป่วยโรคตาแดงเพิ่มขึ้นได้ เนื่องจากโรคนี้พบมากในช่วงฤดูฝนและสามารถติดต่อกันได้ง่าย ระยะการติดต่อไปยังผู้อื่น ประมาณ 14 วัน โดยการสัมผัสกับน้ำตา หรือจากการใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น แก้วน้ำ จาน ชาม ผ้าเช็ดหน้า โทรศัพท์มือถือ ที่เปื้อนเชื้อจากมือของผู้ป่วยแล้วขยี้ตา
หลังผ่านไป 24 - 72 ชั่วโมง ผู้สัมผัสจะเริ่มมีการอักเสบของเยื่อบุตา โดยมีอาการตาแดง ระคายเคืองตา ปวดตา น้ำตาไหล แสบตาเวลาถูกแสง มีขี้ตามากกว่าปกติ อาจมีเลือดออกใต้เยื่อบุตาขาวและมักเป็นสองข้าง อาการเลือดออกจะทุเลาภายใน 7-12 วัน อย่างไรก็ตาม โรคนี้สามารถหายเองได้ หากไม่มีการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำแต่อาจมีอาการแทรกซ้อนทางระบบประสาทตามมาได้ ผู้ป่วยบางรายอาจมีการอักเสบของกระจกตาร่วมด้วย เนื่องจากเชื้อไวรัสลามไปที่กระจกตาหรือมีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ผู้ป่วยจะมีอาการปวดตาและสายตามัวลงได้ มีเพียงประมาณร้อยละ 20 - 50 ของผู้ป่วยที่เกิดจุดขาว ๆ ที่กระจกตานานเป็นเดือน ซึ่งอาจทำให้สายตามัวลงหรือเห็นแสงรบกวน และมีน้อยรายที่โรคอาจรุนแรงจนเกิดเป็นพังผืด ดึงรั้งที่เยื่อตา สถานการณ์โรคตาแดงของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม – 10 กรกฎาคม ๒๕๖6 พบผู้ป่วยจำนวน 24,690 ราย กลุ่มอายุที่พบมาก คือ อายุมากกว่า 65 ปี (ร้อยละ 13.82) 55 – 64 ปี (ร้อยละ 13.34) และ 45 – 54 ปี (ร้อยละ 12.68) เมื่อพิจารณารายภาค พบว่า ภาคใต้ พบมากในกลุ่มอายุ 35 – 44 ปี (582 ราย) อายุ 10 - 14 ปี (596 ราย) และ อายุ 25 – 34 ปี (534 ราย) พบมากสุดในกลุ่มอาชีพเกษตรกร สำหรับสถานการณ์โรคตาแดงจังหวัดตรัง ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม – 10 กรกฎาคม ๒๕๖6 พบผู้ป่วยโรคตาแดง จำนวน 166 ราย และสถานการณ์ โรคตาแดงในพื้นที่ตำบลอ่าวตง พบผู้ป่วยรวม 36 ราย ส่วนใหญ่เป็นวัยเรียนและมีการระบาดเกิดขึ้นในสถานศึกษา (ข้อมูลจาก รพ.สต.บ้านในปง) งานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลอ่าวตง ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติมถึง
(ฉบับที่ 7 ) พ.ศ. 2562 มาตรา 6๖ (๓) การป้องกันและระงับโรคติดต่อ (6) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ ประกอบกับพระราชบัญญัติ. กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ. ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542.และแก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2). พ.ศ. 2549 มาตรา ๑๖ ให้เทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหาร ส่วนตำบลมีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง (๑๙) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล องค์การบริการส่วนตำบลอ่าวตงเล็งเห็นความสำคัญของการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในการป้องกันตนเองจากโรคตาแดง จึงได้จัดโครงการป้องกันและควบคุมโรคตาแดงในชุมชนขึ้น เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้และทักษะในการป้องกันตนเองจากโรคตาแดงที่อาจเกิดขึ้นแก่ประชาชนในตำบลอ่าวตง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคตาแดง สามารถปฏิบัติตนในการป้องกันตนเองได้อย่างถูกต้อง

กลุ่มเป้าหมาย ร้อยละ 80 มีความรู้เกี่ยวกับการการป้องกันและควบคุมโรคตาแดง
(คะแนนความรู้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80)

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 34,200.00 0 0.00
1 ส.ค. 66 - 20 ก.ย. 66 บรรยายความรู้โรคตาแดง 0 0.00 -
1 ส.ค. 66 - 20 ก.ย. 66 ประชาสัมพันธ์การป้องกันตนเองและการปฏิบัติตนเมื่อมีอาการของโรคตาแดง 0 34,200.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันตนเองจากโรคตาแดง
  2. สามารถป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดโรคตาแดงที่อาจเกิดขึ้นในตำบลอ่าวตงได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ก.ค. 2566 11:05 น.