กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการนวดศีรษะแบบอินเดียเพื่อสุขภาพกายและใจห่างไกลความเครียด
รหัสโครงการ 2566-L6896-02-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มโครงการนวดเพื่อสุขภาพ
วันที่อนุมัติ 27 กรกฎาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 46,940.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวทิตการ ปานเล็ก
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.559,99.616place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การนวดถือเป็นศาสตร์และศิลป์สามารถช่วยในเรื่องของสุขภาพ แม้ว่าความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอันทันสมัยของการแพทย์แผนปัจจุบันจะมีบทบาทสำคัญในการดูแลสุขภาพของคนทั่วโลก แต่มีคนอีกจำนวนไม่น้อยที่เสาะแสวงหาทางเลือกอื่นในการดูแลสุขภาพของตนเองด้วยเหตุผลที่แตกต่างกัน การนวดจึงมีผลต่อสุขภาพกายในด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาโรคและการฟื้นฟูสมรรถภาพ ศาสตร์การแพทย์ทางเลือกไม่เพียงแต่เป็นการส่งเสริมสุขภาพเท่านั้น แต่ยังสามารถใช้ในการบำบัดและยังเป็นทางเลือกสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรังบางโรคที่การแพทย์ปัจจุบันไม่สามารถบำบัดอาการและความต้องการบางอย่างของผู้ป่วยได้   ตามทฤษฎีการแพทย์กล่าวไว้ว่า ไมเกรนเป็นโรคที่มีประวัติมายาวนานตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ กว่า 2500 ปีก่อน แต่สาเหตุและกระบวนการก่อโรคเพิ่งถูกค้นพบเมื่อไม่นานมานี้ สมมุติฐานหลักเกี่ยวกับสาเหตุของไมเกรน คือความผิดปกติของสารสื่อประสาทเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งเป็นสารเคมีที่ช่วยในการส่งข้อมูลของเซลล์สมอง ในระหว่างที่เกิดอาการของไมเกรน พบว่าการเปลี่ยนแปลงของเซโรโทนินทำให้เส้นเลือดบริเวณนั้นหดตัว เกิดภาวะขาดออกซิเจน ส่งผลให้สมองบริเวณนั้นทำงานผิดปกติ หากเส้นเลือดหดตัวอยู่นาน อาจทำให้เกิดภาวะสมองขาดเลือดได้ซึ่งพบได้ไม่บ่อยนัก การเปลี่ยนแปลงของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงบริเวณผิวรอบนอกของเนื้อสมองทำให้เกิดกลุ่มอาการปวดศีรษะที่เป็นลักษณะเฉพาะของไมเกรนขึ้น มักจะเป็นการปวดศีรษะแบบตุ๊บๆ ข้างเดียว แต่อาจพบลักษณะการปวดแบบตื้อๆในทั้งสองฝั่งได้ อาการปวดศีรษะนี้มักพบร่วมไปกับอาการคลื่นไส้อาเจียน มีความรู้สึกไวต่อแสงและเสียง ผู้ป่วยมักมีอาการปวดศีรษะอยู่หลายชั่วโมง หรืออาจปวดนานเป็นวันได้   การนวดศีรษะแบบอินเดียเน้นการนวดศีรษะ บ่า ต้นแขน หลังตอนบน ใบหน้าเนื่องจากบริเวณเหล่านี้ เป็นจุดที่คนสมัยใหม่ใช้มาก โดยเฉพาะคนทำงานจะมีการสะสมความเครียดไว้ค่อนข้างสูง สังเกตได้จากมีอาการเมื่อยหลัง ไหล่ บ่า เมื่อยกล้ามเนื้อตา กระบอกตา การนวดจะสัมพันธ์กับจักระ 3 แห่ง ( 7 แห่ง ทั่วร่างกาย ) คือจักระที่ 5 ซึ่งอยู่บริเวณคอ ซึ่งเกี่ยวกับการสื่อสารการพูด การทำงานของหัวใจ ทรวงอก ปอด จักระที่ 6 ที่บริเวณหว่างคิ้ว ซึ่งเกี่ยวกับความคิด สมองและจักระที่ 7 ที่กระหม่อม ซึ่งส่งผลต่อสมาธิและสัญชาติญาณ การนวดแบบอินเดียนี้ยังช่วยบรรเทาอาการต่างๆมากมายเช่น ปวดศีรษะ ไมเกรน หูอื้อ นอนไม่หลับ การนวดใบหน้ายังช่วยแก้ปัญหาปวดและคัดจมูกจากการคัดหลั่งของๆเหลวในโพรงไซนัสได้   กลุ่มโครงการนวดเพื่อสุขภาพจึงเล็งเห็นว่า โครงการนี้เป็นโครงการที่จะทำให้ผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้เพื่อไปใช้เป็นประโยชน์แก่ตนเอง ครอบครัวและชุมชน เนื่องจากปัจจุบันนี้ประชาชนมีปัญหาสุขภาพกันมากโดยเฉพาะโรคเครียด ปวดศีรษะ ไมเกรน หูอื้อ จากข้อมูลปัจจุบันประเทศไทยมีคนไข้ที่ป่วยเป็นโรคไมเกรนเรื้อรังมากกว่า 10 ล้านคน ผู้ป่วยจำนวนมากยังไม่สามารถเข้าถึงวิธีการรักษาที่ดีมีประสิทธิภาพ เมื่อไม่สามารถเข้าสู่กระบวนการรักษาได้อย่างทันท่วงทีก็จะนำไปสู่อาการเจ็บป่วยอื่นๆ ตามมา เช่น โรคนอนไม่หลับ โรคซึมเศร้า และส่งผลให้เกิดอาการเกี่ยวกับหลอดเลือดสมอง หรือสโตรกได้อีก โรคไมเกรนจึงนับว่าเป็นวายร้ายที่ส่งผลเสียทำให้คนไข้มีสุขภาพที่ไม่ดี มีภาระค่าใช้จ่ายเรื่องการรักษาที่ค่อนข้างสูงเนื่องจากอาการป่วยเรื้อรัง การนวดศีรษะแบบอินเดียจึงถือเป็นศาสตร์ของแพทย์ทางเลือกอีกทางหนึ่งที่เหมาะสำหรับการดูแลสุขภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ความเข้าใจในการออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้าอย่างถูกวิธีและสามารถนำความรู้เผยแพร่ต่อครอบครัวและชุมชนได้

ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้าอย่างถูกวิธีและสามารถนำความรู้เผยแพร่ต่อครอบครัวและชุมชนได้

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66
1 อบรม(3 ส.ค. 2566-31 ส.ค. 2566) 46,940.00      
รวม 46,940.00
1 อบรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 43 46,940.00 1 46,120.00
3 ส.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมอบรมชิงปฏิบัติการ การออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้า 43 46,940.00 46,120.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ที่ถูกวิธีในการนวดศีรษะแบบอินเดียเพื่อบำบัดอาการไมเกรน
  2. ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ต่อคนในชุมชนได้
  3. สามารถส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาไทยในชุมชนได้อย่างต่อเนื่องถาวรและถูกต้องตามเกณฑ์มาตรฐาน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ส.ค. 2566 09:37 น.