กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรพสต.บ้านในเมือง รู้ทันใส่ใจ ปลอดภัยจากภาวะเสี่ยงขณะตั้งครรภ์ ปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ 66-L5313-01-006
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพสต.บ้านในเมือง
วันที่อนุมัติ 19 กรกฎาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 14 สิงหาคม 2566 - 29 ธันวาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 29 ธันวาคม 2566
งบประมาณ 21,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุภาภรณ์ อังศุภานิช
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.842,99.826place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 21,200.00
รวมงบประมาณ 21,200.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

ระบุ

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันเทคโนโลยีส่งผลให้สภาพสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปผู้หญิงตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรเพิ่มขึ้น หรือเมื่อแต่งงานมีครอบครัว ผลที่ตามมาคือการตั้งครรภ์จะโดยพึงประสงค์หรือไม่พึงประสงค์ก็ตามแต่สภาพสังคมปัจจุบัน ผู้หญิงได้เข้ามามีบทบาทในการทำงานมากขึ้นไม่ว่าจะทำงานในบ้านและทำงานนอกบ้านควบคู่กับการดูแลครอบครัวไปด้วย ทำให้ขาดการดูแลสุขภาพตัวเองก่อนการตั้งครรภ์ และมีความรู้ไม่เพียงพอสำหรับการตั้งครรภ์ให้ทีคุณภาพที่ส่งให้ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย ซึ่งการส่งเสริมมีหลายด้าน เช่นการรับประทานอาหาร การออกกำลังกายการดูแลสุขภาพอนามัย การเลือกใช้ยา การประเมินภาวะเสี่ยงขณะตั้งครรภ์และการปฏิบัติตนต่างๆรวมไปถึงการเตรียมตัวเป็นคุณแม่ในอนาคต การมีส่วนร่วมของชุมชนให้มีเครือข่ายที่เข้มแข็งได้แก่ กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) มีบทบาทสำคัญในการดูแลสุขภาพประชาชนรับผิดชอบครอบคลุม ทุกเพศ และทุกกลุ่มอายุ และอยู่ใกล้ชิดกับชุมชนมากที่สุด     จากการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กในปีงบประมาณ 2566 (ตค65 – มิย.66 ) ที่ผ่านมาพบว่าหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูงด้วยโรคประจำตัวและภาวะเสี่ยงต่างๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง (ครรภ์เป็นพิษ) โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคไทรอยด์ ภาวะตกเลือดหลังคลอด ภาวะซีด การคลอดก่อนกำหนด หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงเหล่านี้ ควรได้รับการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง จากการรวบรวมข้อมูลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูงในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านในเมืองปีงบประมาณ ๒๕๖6 (ตค65 –มิย66) พบว่าอัตราหญิงตั้งครรภ์มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ จำนวน 5 ราย คิดเป็นร้อยละ 8.33 และยังพบว่าทารกมีภาวะดาวน์ซินโดรมและลิ้นหัวใจรั่วแต่กำเนิด 1 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.66 หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโภชนาเกินเกณฑ์ ค่าดัชนีมวลกาย> 30จำนวน 2 รายคิดเป็นร้อยละ 3.33 หญิงตั้งครรภ์มีภาวะซีดจาการขาดธาตุเหล็ก จำนวน 6ราย คิดเป็นร้อยละ 10 หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นอายุ 15 – 19 ปี จำนวน 3 รายและติดเชื้อ HIV จากสามี 1 รายอีกด้วย หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นคลอดบุตรน้ำหนักแรกเกิด < 2,500 กรัม จำนวน 4 ราย คิดเป็นร้อยละ6.66 (จำนวนหญิงตั้งครรภ์ที่ฝากครรภ์ตั้งแต่ ตค.65 –มิย. 66 จำนวน 60 ราย )  ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านในเมือง ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพ เริ่มตั้งแต่หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่วางแผนตั้งครรภ์ หญิงตั้งครรภ์ และการดูแลสุขภาพมารดาและทารกหลังคลอด ในการป้องกันการเกิดภาวะเสี่ยงขณะตั้งครรภ์และการรับมือกับปัญหาการตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูงขึ้น เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่วางแผนการตั้งครรภ์ในอนาคต หญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลตนเองในขณะตั้งครรภ์เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูงหรือครรภ์เป็นพิษ  โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ที่มีโรคประจำตัวด้วยโรคทางอายุกรรมต่างๆ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไทรอยด์ โรคไต โรคหัวใจ โลหิตจาง เอดส์ ได้มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลตนเองและเลือกวิธีคุมกำเนิดที่ถูกต้อง เพื่อให้ทารกในครรภ์ได้รับการดูแลตามเกณฑ์คุณภาพ คลอดอย่างปลอดภัย มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตดีและพัฒนาการสมวัยตามเกณฑ์ และเป็นกำลังสำคัญของประเทศในอนาคตบนพื้นฐานการส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพด้านอนามัยแม่และเด็กในชุมชนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่แต่งงานเตรียมพร้อมตั้งครรภ์ ,หญิงตั้งครรภ์ มีทัศนคติและเจตคติ เรื่องความสำคัญของการฝากครรภ์เร็วก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์และฝากครรภ์คุณภาพ 5 ครั้งตามเกณฑ์ ค้นหาภาวะเสี่ยงของหญิงขณะตั้งครรภ์ ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในหญิงวัยเจริญพันธุ์และหญิงขณะตั้งครรภ์ , มารดาและทารกหลังคลอดทุกรายได้รับการดูแลหลังคลอดครบ 3 ครั้งตามเกณฑ์เพื่อการเตรียมพร้อมเป็นคุณแม่ที่ดีในอนาคต

หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่แต่งงานเตรียมพร้อมตั้งครรภ์ หญิงขณะตั้งครรภ์ มีทัศนคติ เจตคติ เห็นความสำคัญของการฝากครรภ์เร็วก่อนอายุครรภ์ ๑๒ สัปดาห์ และฝากครรภ์คุณภาพครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ ได้รับการประเมินภาวะเสี่ยงขณะตั้งครรภ์ และส่งต่อสูติแพทย์กรณีที่หญิงขณะตั้งครรภ์มีภาวะเสี่ยงผิดปกติ , มารดาและทารกหลังคลอดได้รับการดูแลหลังคลอดมีความพร้อมในการเลี้ยงดูบุตรและปฏิบัติตัวในการดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสม ร้อยละ ๘๐

80.00
2 เพิ่มพูนศักยภาพความรู้ด้านอนามัยแม่และเด็ก แก่อสม. (หมอคนที่ 1 ) ในการค้นหาและติดตามเยี่ยมหญิงตั้งครรภ์ในชุมชน

อสม (หมอคนที่๑ ) มีความรุ้ ความเข้าใจและมีทักษะด้านอนามัยแม่และเด็ก ร้อยละ๘๐

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 100 21,200.00 3 21,200.00
6 ต.ค. 66 2.อบรมให้ความรู้แก่ปลุ่มเป้าหมายหญิงวัยเจริญพันธ์ที่แต่งงานเตรียมพร้อมตั้งครรภ์,หญิงตั้งครรภ์+สามี มารดาหลังคลอด 70 13,400.00 13,400.00
10 ต.ค. 66 3.อบรมณ์พัฒนาศักยภาพเพิ่มพูนความรู้ด้านอนามัยแม่และเด็กแก่อสม.ในเขตรับผิดชอบเพื่อคัดเลือกเป็นอสม.หมอคนที่1 30 7,800.00 7,800.00
23 เม.ย. 67 1.สำรวจและรวบรวมข้อมูลจำนวนหญิงวัยเจริญพันธ์แต่งงานเเละเครียมพร้อมตั้งครรภ์,หญิงตั้งครรภ์,มารดาหลังคลอดไม่เกิน6เดือน ในเขตรับผิดชอบ 0 0.00 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงตั้งครรภ์ และหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่เตรียมพร้อมที่จะตั้งครรภ์ในอนาคต มีความรู้ ทักษะ และตระหนักถึงความสำคัญของการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ได้ถูกต้อง สามารถนำความไปเผยแพร่ในชุมชนได้ ๒.หญิงตั้งครรภ์ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะผิดปกติต่างๆในขณะตั้งครรภ์อย่างครอบคลุมเพื่อค้นหาภาวะเสี่ยงต่างๆ ในระยะเริ่มแรกและได้รับการแก้ไข/ส่งต่ออย่างทันท่วงที ๓.หญิงตั้งครรภ์ทุกรายได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างน้อย ๒ ครั้งในครรภ์ปกติและสำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูงจะได้รับการดูแลจากสูติแพทย์ตลอดการตั้งครรภ์จนถึงคลอด ๔.หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูงได้การเยี่ยมติดตามอย่างต่อเนื่องจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอสม.ในเขตรับผิดชอบ 5.หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่เตรียมพร้อมในการตั้งครรภ์มีความรู้เข้าใจในการเตรียมตัวที่จะตั้งครรภ์ในอนาคตได้อย่างปลอดภัยเพื่อลดภาวะเสี่ยงขณะตั้งครรภ์และลดภาวะพิการที่อาจเกิดขึ้นกับทารกในครรภ์ได้ 6.เพิ่มศักยภาพความรู้ด้านอนามัยแม่และเด็กแก่อสม.ที่รับผิดชอบดูแลสุขภาพทุกกลุ่มวัยในชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ส.ค. 2566 09:42 น.