กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ อบรมทันตสุขภาพประชากรวัยเรียนในสถานศึกษา ประจำปี 2566
รหัสโครงการ 66-L2500-02-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านปาลอบาต๊ะ
วันที่อนุมัติ 5 เมษายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2566 - 31 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 45,120.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอับดุลเราะฮ์มาน ดือราซอ
พี่เลี้ยงโครงการ -
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลุโบะบายะ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.422,101.663place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 4 ส.ค. 2566 4 ส.ค. 2566 45,120.00
รวมงบประมาณ 45,120.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันการปฏิรูปไปสู่การส่งเสริมสุขภาพเป็นกิจกรรมที่สำคัญและจำเป็นมากในโรงเรียนเพราะการที่เด็กและเยาวชนมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ทั้งร่างกายและจิตใจนั้นเป็นสิทธิขั้นต้นของมนุษย์ ที่ผู้อื่นไม่สามารถหยิบยื่นให้ได้ ซึ่งในยุคปัจจุบันเด็กมีการบริโภคขนมคบเคี้ยวกันอย่างแพร่หลาย ขนมแต่ละชนิดมีส่วนผสมของน้ำตาลในปริมาณมาก โดยเฉพาะลูกกวาด ลูกอม ซึ่งมีสีสันสวยงาม ทำให้เด็กชอบซื้อมากินอยู่เสมอ หากนักเรียนกินลูกอม และขนมขบเคี้ยวแล้วไม่รักษาดูแล สุขภาพในช่องปากที่ถูกวิธีอาจส่งผลทำให้สุขภาพในช่องปากเสีย ฟันผุ ซึ่งเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้โดยการสร้างความเข้าใจในความสำคัญของสุขภาพทันตและได้เรียนรู้วิธีการปฏิบัติตามหลักอนามัยที่ถูกต้อง เช่น การแปรงฟันที่ถูกวิธี การเข้าใจพิษในภัยของอาหาร ขนมขบเคี้ยวที่ตนรับประทานต่อเพราะ ถ้าเด็กนักเรียนมีสุขภาพช่องปากที่ไม่ดี ฟันผุ ส่งผลต่อการพัฒนาการ และโภชนาการของเด็กสุดท้ายส่งผลต่อการเรียนของเด็กในอนาคต

ดังนั้น โรงเรียนในเขตตำบลลุโบะบายะ จำนวน 3 โรง จึงได้จัดทำโครงการอบรมทันตสุขภาพประชากรวัยเรียนในสถานศึกษา ประจำปี 2566 ขึ้น เพื่อมุ่งหวังให้เด็กและเยาวชนวัยเรียนได้มีความรู้ มีทัศนคติ และการปฏิบัติในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดี ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่จะสนับสนุน ให้เด็กนักเรียนมีสุขภาพที่สมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจต่อไป เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนรักษาสุขภาพปากและช่องฟันของตนเองจนเกิดเป็นนิสัยในอนาคต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1) เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมที่ดีในการดูแลสุขภาพช่องปาก 2) เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนที่มีปัญหาด้านทันตสุขภาพฟันได้รับบริการทันตกรรม 3) เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกทักษะการดูแลสุขภาพช่องฟันได้อย่างถูกต้องตามหลักอนามัย 4) เพื่อให้ผู้ปกครอง หน่วยงานต่างๆตลอดจนชุมชนในพื้นที่ร่วมเป็นภาคีเครือข่ายในการส่งเสริมทันต สุขภาพของประชากรวัยเรียนในชุมชน

1.นักเรียนมีความรู้ทัศนคติ เเละพฤติกรรมที่ดีในการดูเเลสุขภาพช่องปาก 2.นักเรียนที่มีปัญหาด้านทันตสุขภาพฟันได้รับบริการทันตกรรมครบทุกคนทุกระกับ 3.นักเรียนได้ฝึกทักษะการดูเเละสุขภาพช่องฟันได้อย่างถูกต้องตามหลักอนามัย

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1) ประชุมผู้เกี่ยวข้องปรึกษารูปแบบและรายละเอียดของโครงการ
2) เขียนโครงการเสนอขอรับงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลลุโบะบายะ
3) เตรียมข้อมูล เอกสาร และวัสดุอุปกรณ์ที่จะต้องใช้ในการดำเนินงาน
4) วางแผนการจัดตารางการอบรม การจัดหาวิทยากร จัดซื้อ จัดจ้าง วัสดุ อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
5) จัดแผนการตรวจสุขภาพช่องฟันนักเรียนของโรงเรียนในตำบลลุโบะบายะ จำนวน 3 โรง ไม่น้อยกว่า 2
ครั้ง/ภาคเรียน (ตลอดปีการศึกษา 2566)
6) จัดอบรมตามโครงการ
7) ลงพื้นที่ตรวจสุขภาพช่องฟันนักเรียนของโรงเรียนในตำบลลุโบะบายะ จำนวน 3 โรง ไม่น้อยกว่า 2
ครั้ง/ภาคเรียน (ตลอดปีการศึกษา 2566)
8) ประเมินและสรุปโครงการ
9) รายงานผลการอบรม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.นักเรียนมีความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมที่ดีในการดูแลสุขภาพช่องปาก 2.นักเรียนได้รับบริการทันตกรรมโดยผู้เชี่ยวถูกต้องครบทุกคนทุกระดับชั้น 3.นักเรียนมีทักษะการแปรงฟันที่ถูกต้องตามช่วงวัย 4.ผู้ปกครอง หน่วยงานต่างๆในพื้นที่มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพฟันและร่วมกันเป็นภาคี เครือข่ายป้องกันโรคในช่องปาก

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ส.ค. 2566 10:33 น.