กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชาวลาเมาะร่วมใจต้านภัยความดันเบาหวานในชุมชน ปี 2566
รหัสโครงการ 66-L2512-2-6
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม. หมู่ 5 ตำบลรือเสาะออก
วันที่อนุมัติ 21 กรกฎาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 30,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายบือราเฮง โตะหลู
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลรือเสาะออก อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ข้อมูลจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พบว่าโรคเรื้อรังหรือโรคไม่ติดต่อเป็น โรคที่เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวันที่มีพฤติกรรมเสี่ยง ได้แก่ การสูบบุหรี่ การไม่ ออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่มีรสเหวาน มัน เค็มจัด รวมถึงความเครียด ที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคร้าย ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมองและหัวใจ มะเร็ง ถุงลมโป่งพองและ โรคอ้วนลงพุง และทำให้อายุไขของคนป่วยกลุ่มนี้จะมีอายุต่ำกว่า 60 ปี โดยจากสถิติพบว่า คนไทยเสียชีวิตด้วยโรคกลุ่มดังกล่าวมากกว่าปี ละ3 แสนคน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยคิดเป็นร้อยละ 73 ของสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทย โดยทั่วโลก สาเหตุการตายด้วยโรคกลุ่มดังกล่าวคิดเป็นร้อยละ 63 ของสาเหตุการตายของประชากรโลก ปัจจุบันพบว่าอัตราความชุกของ โรคเบาหวานความดันโลหิตสูง รพ.สต.บ้านบูกิ๊ตจือแร มี แนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี รวมถึงผู้ป่วยเบาหวานความดันโลหิตสูง เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี จากการจัดล าดับความชุก 10 อันดับโรคของผู้รับบริการพบว่า ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จัดอยู่ในอันดับที่ 1 และ พบจำนวนสูงสุดในกลุ่มผู้ป่วยอายุ 60 ปี ขึ้นไป รองลงมาพบในกลุ่มอายุ 40-60 ปี และพบจำนวนน้อยในช่วงอายุ น้อยกว่า 40 ปี ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง พบโรคแทรกซ้อนร้อยละ 55.77 และยังพบว่ามีผู้ป่วย เบาหวานความดันโลหิตสูง ที่ต้องเข้านอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง และ ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ อีกเป็นจำนวนมาก ถึงแม้ว่าโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ส่วนใหญ่ไม่ทำให้สูญเสียชีวิตทันที แต่ทำให้คุณภาพชีวิตลดลง เกิดความสูญเสียทั้งทางด้านสังคม และเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเมื่อผู้ป่วยมี ภาวะแทรกซ้อน ทำให้เกิดข้อจำกัดด้านความสามารถหรือมีความพิการหรือเสียชีวิตก่อนเวลาอันควร ดังนั้นการ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ระดับความดันโลหิตมีความสำคัญในการควบคุมความรุนแรงของโรค และป้องกันการ เกิดภาวะแทรกซ้อน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองโดยกิจกรรม 3 อ 3 ส. จึงเป็นวิธีการที่สำคัญในการช่วยให้ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงสามารถดูแลตนเองและควบคุมโรคได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราตายด้วยโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง

อัตราด้วยเบาหวานลดลง 10% จากปีที่ผ่านมา

0.00
2 เพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงควบคุมความดันโลหิตได้ดีเพิ่มขึ้น 10% จากปีที่ผ่านมา

0.00
3 . เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม และลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อน

ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานได้รับการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 30,000.00 0 0.00
1 - 30 ส.ค. 66 อบรมให้ความรู้และคัดกรองสุขภาพ 0 30,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้ป่วยรู้ปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและรู้วิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลด ปัจจัยเสี่ยง ป้องกันและชะลอการดำเนินโรคสู่ภาวะแทรกซ้อน มีทักษะการดูแลตนเองที่บ้าน (Self-care skills ) ไม่พบผู้เสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยและสมาชิกครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ก.ค. 2566 00:00 น.