กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเจาะเลือดใกล้บ้าน ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
รหัสโครงการ 66-L1466-01-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเกลือ
วันที่อนุมัติ 27 กรกฎาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2566 - 15 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 25 กันยายน 2566
งบประมาณ 23,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายดุสิต นะสม
พี่เลี้ยงโครงการ นายสาธิต โตกำ
พื้นที่ดำเนินการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเกลือ ตำบลนาเกลือ อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.326,99.466place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ส.ค. 2566 15 ก.ย. 2566 23,600.00
รวมงบประมาณ 23,600.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 210 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เป็นหนึ่งในโรคเรื้อรังที่บั่นทอนคุณภาพชีวิตและคร่าชีวิตมนุษย์มากที่สุดโรคหนึ่ง สำหรับประเทศไทยแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตด้วยเบาหวานปีละ 2หมื่นคน จากข้อมูล Health Data Center (HDC) พบว่า ปี 2559-2561 อัตราป่วยด้วยโรคเบาหวานของจังหวัดตรัง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น คือ ร้อยละ 4.68, 4.81 และ 5.04 ตามลำดับ แสดงว่า โรคเบาหวานมีแนวโน้มสูงมากขึ้นเรื่อยๆ เริ่มมีความชุกค่อนข้างสูง และนำไปสู่การเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เรื้อรังหรือรุนแรงได้ อาทิ เช่น ภาวะหลอดเลือดตีบแข็ง ความดันโลหิตสูง จอประสาทตาเสื่อม ไตวาย โรคหลอดเลือดหัวใจขาดเลือด ร่วมกับเป็นแผลเรื้อรัง ติดเชื้อได้ง่าย ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่เกิดขึ้นเหล่านี้ สามารถส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆตามมา ทั้ง ทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม รวมทั้งปัญหาทางเศรษฐกิจของครอบครัว ซึ่งผู้ป่วยเรื้อรังต้องมีการเจาะเลือดประจำทุกปีดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเกลือ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพและดูแลป้องกันภาวะแทรกซ้อน     ได้จัดทำโครงการเจาะเลือดใกล้บ้านลดความแออัดในโรงพยาบาล การเก็บและการส่งตัวอย่างที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ใกล้บ้านก่อนนัดพบแพทย์ อยู่ระหว่างดำเนินการ เน้นเจาะเลือดในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังรายเก่าและรายใหม่ที่มีอาการคงที่ สามารถควบคุมโรคได้ดี จุดหนึ่งที่ทำให้เกิดความแออัดในโรงพยาบาลคือระยะเวลาในการรอคอยการเจาะเลือดและบริการทางห้องปฏิบัติการ ดังนั้น จึงเป็นเรื่องดีที่ จัดทำโครงการการเจาะเลือดใกล้บ้านที่สถานบริการ รพ.สต. ก่อนพบแพทย์ ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาการรอคอยในโรงพยาบาลของประชาชนที่เข้ามารับบริการได้มากกว่า 2-5 ชั่วโมง ขณะเดียวกันยังเป็นการส่งเสริมการจัดบริการแบบ New Normal ช่วยให้การรักษาระยะห่างในขณะที่อยู่ในโรงพยาบาลมีประสิทธิภาพมากขึ้น อันจะช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโดย ยกตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยเบาหวาน เป็นกลุ่มที่จำเป็นต้องเจาะเลือดตรวจระดับน้ำตาลทุกๆช่วงเวลาหนึ่ง การเจาะเลือดนอกหน่วยบริการหรือโรงพยาบาล จะช่วยเพิ่มความสะดวกแก่ผู้ป่วยให้แพทย์เรียกดูข้อมูลผลการเจาะเลือดผ่านระบบออนไลน์เพื่อประกอบการตรวจรักษาหรือปรับยาให้เหมาะสมได้ จากนั้นเวลารับยาก็ยังมีโครงการส่งยากลับสู่รพ.สต. ทำให้ภาพของการจัดบริการในรูปแบบ New Normal มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ผู้ป่วยไม่ต้องเดินทางมาโรงพยาบาล ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 แต่ยังคงได้รับบริการที่ได้มาตรฐานเทียบเท่าการเดินทางมาโรงพยาบาลเช่นเดิม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยเรื้อรังทุกคนได้รับบริการที่ดี ลดความแออัด ลดการรอคอย ลดภาวะค่าใช้จ่ายการเดินทาง

ร้อยละ 90 ของผู้ป่วยเรื้อรังทุกคนได้รับบริการที่ดี ลดความแออัด ลดการรอคอย ลดภาวะค่าใช้จ่ายการเดินทาง

2 เพื่อให้ผู้ป่วยเรื้อรังได้รับการตรวจเจาะเลือดประจำทุกปี ลดภาวะแทรกซ้อน พร้อมส่งต่อผู้ป่วยเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง

ร้อยละ 90 ของผู้ป่วยเรื้อรังได้รับการตรวจเจาะเลือดประจำทุกปี ลดภาวะแทรกซ้อน พร้อมส่งต่อผู้ป่วยเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. เสนอแผนงานเพื่อให้อนุกรรมการกลั่นกรองและเสนอแผนงาน/โครงการต่อคณะกรรมการกองทุนฯ เพื่อขออนุมัติงบ
  2. ประชุมชี้แจงแนวทางในการสำรวจผู้ป่วยเรื้อรังเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงร่วมกับแกนนำสุขภาพในชุมชน เพื่อให้ติดตามผู้ป่วยเรื้อรังเข้าร่วมโครงการร่วมกับการประชาสัมพันธ์
  3. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น โรงพยาบาลกันตัง ในการดำเนินงานตามโครงการ เช่น วัสดุอุปกรณ์การเจาะเลือด
  4. ประสานงานโรงพยาบาลกันตังในกรณีที่ส่งต่อผู้ป่วยที่เจาะโรงพยาบาล
  5. สรุปผลการดำเนินงาน
  6. รายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความรู้ และตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลตนเอง มิให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ทางตาและทางเท้า ช่องปากได้
  2. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับการตรวจเจาะเลือดประจำปี ตรวจผลเลือดพบความผิดปกติได้รับการแก้ไขปัญหาภาวะแทรกซ้อนและส่งต่อผู้ป่วยเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง
  3. เพิ่มความสะดวกและสามารถลดภาวะความแออัดในโรงพยาบาล
  4. มีการจัดทำข้อมูลด้านสุขภาพในผู้ป่วยเรื้อรังเป็นปัจจุบันและต่อเนื่อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ส.ค. 2566 13:14 น.