กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการช่วยเหลือความผิดปกติทางสายตาเทศบาลตำบลเมืองรามันห์
รหัสโครงการ 66-l8305-01-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 7 สิงหาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 7 สิงหาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 153,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอิบตีซาม วาแมยีซา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกายูบอเกาะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)         ในปัจจุบันประเทศไทยมีประชากรสูงอายุ มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น เมื่อเทียบกับสัดส่วนของประชากรในวัยอื่นอย่าง ประเด็นสำคัญในการปรับเปลี่ยนแนวคิดในทุกระดับของสังคม ให้มีความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และการเปลี่ยนแปลงควรได้รับการออกแบบให้สอดคล้องกับการเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยกระบวนการสร้างและรักษาระดับสุขภาวะในผู้สูงวัยให้มีความสามารถในการใช้ร่างกาย จิตใจ และสังคม จากการสำรวจข้อมูลผู้สูงอายุและประชาชนอายุ 50 ปีขึ้นไปในเขตเทศบาลตำบลเมืองรามันห์ พบว่ามีจำนวน 411 ราย, 699 รายตามลำดับ และจากการสำรวจข้อมูลผู้มีปัญหาด้านสายตาในกลุ่มผู้สูงอายุและประชาชนที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป โดนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตเทศบาลตำบลเมืองรามันห์ พบว่าจำนวน 368 ราย นั้น
        ดวงตาเป็นอวัยวะทีสำคัญมากในการดำรงชีวิต ไม่ว่าบุคคลจะทำกิจกรรมใดๆ ในชีวิตประจำวันก็ต้องอาศัยการมองเห็นจากดวงตาทั้งสิ้น หากดวงตาของบุคคลใดมีปัญหาก็ย่อมส่งผลให้การดำเนินชีวิตนั้น ประสบอุปสรรคเช่นกัน การมองเห็นไม่ชัดเจน ถือว่าเป็นปัญหาด้านสายตาด้านหนึ่งที่ควรแก้ไข ผู้ที่มองภาพไม่ชัดเจน ในระยะใกล้ เรียกว่า สายตายาว ซึ่งมักจะพบเมื่อมีอายุมากกว่า 40 ปีหรือพบในผู้สูงอายุ เกิดจากการที่เลนส์แก้วตาแข็งขึ้น ความยืดหยุ่นน้อยลงตามอายุที่มากขึ้น ประกอบกับกล้ามเนื้อตาเสื่อมสภาพตามวัย อ่อนล้าลง ทำให้เลนส์แก้วตาไม่สามารถปรับตัวให้พองขึ้นหรือแบนลงเพื่อช่วยในการโฟกัสภาพได้เหมือนเดิมจึงไม่สามารถมองเห็นภาพในระยะใกล้ได้ชัดเจน ส่วนผู้มองภาพ ไม่ชัดเจนในระยะไกล เรียกว่าสายตาสั้น (Myopia) เกิดจากภาวะความผิดปกติของสายตาที่ไม่สามารถรับแสงหักเหจากวัตถุที่มาโฟกัสตรงจอตาได้อย่างพอดี ( Refractive Errors ) ส่งผลให้มองเห็นวัตถุดังกล่าวไม่ชัด โดยผู้ที่สายตาสั้นจะมองเห็นสิ่งที่อยู่ระยะไกลไม่ชัด หรือมองเห็นมัวลง แต่จะมองเห็นสิ่งที่อยู่ใกล้ชัดเจน ปัญหาที่เกิดขึ้นแก้ไขได้หลายวิธี ผู้ที่มีปัญหาทางสายตาอาจใส่แว่นหรือคอนเทคเลนส์เพื่อแก้ไขปัญหาเบื้องต้น ดังนั้นการดูแลรักษาที่เกี่ยงข้องกับระบบสายตาจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญมากสำหรับมนุษย์ทุกคน ซึ่งโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบสายตามีหลายชนิด ได้แก่ สายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง เหล่านี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการสวมใส่แว่นตาที่เหมาะสม จากความสำคัญดังกล่าว จากความสำคัญดังกล่าวเทศบาลตำบลเมืองรามันห์ มีความตระหนักถึงปัญหาทางสายตาในผู้สูงอายุ และประชาชนกลุ่มเสี่ยงในเขตเทศบาลตำบลเมืองรามันห์ ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ซึ่งจะพบปัญหาสายตายาวมากขึ้น เป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และเพื่อให้ผู้สูงอายุ และประชาชนอายุ 50 ปีขึ้นไป ที่มีความเสี่ยงด้านการมองเห็นสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ จึงได้จัดทำโครงการตรวจคัดกรองโรคตาและช่วยเหลือความผิดปกติทางการมองเห็นของผู้สูงอายุและประชาชนกลุ่มเสี่ยงในเขตเทศบาลตำบลเมืองรามันห์ ประจำปี 2566 โดยการตรวจวินิจฉัยโรคทางตา และตรวจวัดสายตา สำหรับใช้แว่นตาที่เหมาะสม เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้สูงอายุและประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่มีปัญหาสายตาพื้นที่ในเขตเทศบาลตำบลเมืองรามันห์ โดยขอรับสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลเมืองรามันห์

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อประเมินสุขภาพสายตาและตรวจโรคทางสายตา 2.เพื่อแก้ไขปัญหาที่มีความปกติทางสายตาสามารถมองเห็นได้ตามปกติ 3.เพื่อแก้ปัญหาผู้ที่มีภาวะทางตาได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที 4.เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีสายตาผิดปกติสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขในระดับชุมชนได้อย่างทั่วถึงสามารถประกอบอาชีพ และใช้ชีวิตประจำวันอย่างปกติสุข

กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองโรคทางสายตาไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 2. กลุ่มเป้าหมายที่มีปัญหาทางสายตา ได้รับแว่นตาที่เหมาะสม 3. กลุ่มเป้าหมายที่มีภาวะโรคทางตาได้รับการรักษาไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
4. ผู้ที่ได้เข้าร่วมโครงการ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 100 ที่ได้รับการช่วยเหลือคัดกรองสายตา และแก้ไขปัญหาความผิดปกติของสายตา สามารถประกอบอาชีพ และใช้ชีวิตประจำวันอย่างปกติสุข

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุและประชาชนทั่วไปอายุ 50 ปีขึ้นไปที่มีปัญหาด้านสายตา ได้รับการแก้ไขปัญหาด้านการมองเห็นและสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ
  2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ส.ค. 2566 16:07 น.