กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการบริหารจัดการขยะและบริหารจัดการน้ำท่วมขังเพื่อป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชนและสถานศึกษาในเขตเทศบาลตำบลบ้านนา

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบริหารจัดการขยะและบริหารจัดการน้ำท่วมขังเพื่อป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชนและสถานศึกษาในเขตเทศบาลตำบลบ้านนา
รหัสโครงการ 66-L5184-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทศบาลตำบลบ้านนา
วันที่อนุมัติ 15 สิงหาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 31 สิงหาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 10,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายฮ่าหรน หมันหลอ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านนา อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด
30.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขของตำบลบ้านนา อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา เป็นโรคติดต่อปีะจำถิ่นที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค และพบมีการระยาดตลอดปีและพบมากในฤดูฝน สถิติผู้ป่วยไข้เลือดออกของประเทศไทยข้อมูล ณ วันที่ 2 สิงหาคม 2566 มีผู้ป่วยไข้เลือดออกทั้งสิ้นจำนวน 46855 ราย มีผู้เสียชีวิต 41 ราย ส่วนจังหวัดสงขลามีผู้ป่วยจำนวน 2684 ราย อัตราป่วย 187.49 ต่อแสนประชากร มีผู้เสียชีวิต 2 ราย (ที่อำเภอนาหม่อมและอำเภอหาดใหญ่) โดยอำเภอที่พบผู้ป่วยมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ อำเภอสะเดา อำเภอหาดใหญ่ และอำเภอเมืองสงขลา ส่วนอำเภอจะนะอยู่ในลำดับที่ 7 คือมีผู้ป่วยจำนวน 411 รายโดยตำบลบ้านนามีผู้ป่วยจำนวน 80 ราย เป็นผู้ป่วยที่อยู่ในเขตเทศบาลตำบลบ้านนา จำนวน 42 ราย และอยู่ในเขตเทศบาลตำบลจะนะ 38 ราย ส่วนสถิติผู้ป่วยไข้เลือดออก ในเขตเทศบาลตำบลบ้านนา ข้อมูลตั้งแต่ปี 2564,2565,2566 มีรายงานผู้ป่วยจำนวน 6 ราย , 12 ราย , 42 ราย จาดสถิติจะพบว่าการระบาดของโรคไข้เลือดออกมีแนวโน้มสูงขึ้น ทั้งนี้จะพบการระบาดทั้งในส่วนของชุมชนและสถานศึกษา โดยเฉพาะชุมชนบ้านลางา ที่พบผู้ป่วยไข้เลือดออกจำนวนทั้งสิ้น 13 ราย แยกเป็นผู้ป่วยในชุมชนบ้านลางาจำนวน 4 ราย และพบผู้ป่วยที่เป็นเด็กนักเรียนในโรงเรียนรุ่งโรจน์วิทยาอีก 8 ราย และยังมีสถานศึกษาอีกแห่งที่อยู่ใกล้กับโรงเรียนรุ่งโรจน์วิทยาคือโรงเรียนบ้านลางา ซึ่งมีรายงานพบเด็กป่วยจำนวน 1 ราย การป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพคือต้องกำจัดต้นเหตุของการเกิดยุง คือต้องไม่มีแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายรอบๆ บริเวณบ้านตามมาตรการ 3 เก็บ คือ 1.เก็บบ้านให้ปลอดโปร่ง ไม่มีบริเวณอับทึบที่ให้ยุงเกาะ 2.เก็บขยะที่อยู่บริเวณรอบบ้าน เก็บเศษภาชนะที่ไม่ต้องการทิ้งไว้ในถุงดำมัดปากถง 3.เก็บน้ำ คือเก็บภาชนะใส่น้ำต้องมีฝาปิดมิดชิด คว่ำภาชนะขังน้ำและเปลี่ยนน้ำในกระถางหรือแจกัน เพื่อป้องกันยุงลายวางไข่ และเมื่อมีเหตุระบาดของโรคไข้เลือดออกจะต้องเร่งดำเนินการควบคุมโดยการพ่นหมอกควัน/ละอองฝอยกำจัดยุงรอบบ้านผู้ป่วยและบ้านเรือนในรัศมี 100 บาท จากบ้านผู้ป่วย เพื่อเป็นการควบคุมไม่ให้ยุงลายไปแพร่เชื้อแก่บุคคลอื่นหรือชุมชนรอบข้าง ทั้งนี้สถิติผู้ป่วยไข้เลือดออกในพื้นที่พบผู้ป่วยไข้เลือดออกเป็นประจำพบว่าบริเวณสถานที่ดังกล่าวมี ลักษณะเป็นแหล่งน้ำท่วมขังโดยเฉพาะในโรงเรียนรุ่งโรจนืวิทยาและโรงเรียนบ้านลางาที่มีสภาพพื้นที่เป็นแหล่งน้ำท่วมตลอดเวลาเกิดเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของลูกน้ำยุงลาย นอกจากนี้บริเวณชุมชนก็พบมีขยะมูลฝอยที่เป็นภาชนะขังน้ำทำให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของลุกน้ำยุงลาย ดังนั้นถ้าหากมีการแก้ไขปัญหาในเรื่องของน้ำท่วมขังในพื้นที่กับการแก้ปัญหาในเรื่องขยะมูลฝอยก็จะสามารถแก้ปัญหาในเรื่องของแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายได้ ในการนี้ เทศบาลตำบลบ้านนา ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการบริหารจัดการขยะและบริหารจัดการน้ำท่วมขังเพื่อป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชนและสถานศึกษาในเขตเทศบาลตำบลบ้านนา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นทีทั้งในส่วนของสถานศึกษาและขยายผลไปสู่ชุมชน โดยการจัดทำธนาคารนำ้ใต้ดิน และการลดปริมาณขยะมูลฝอยในพื้นที่ โดยการนำขยะมูลฝอยเหล่านี้ไปเป็นส่วนหนึ่งของการจัดทำธนาคารน้ำใต้ดินเพื่อเป็นการลดปริมาณขยะมูลฝอยในพื้นที่ เป็นการลดแหล่งเพาะพันธุ์ของลูกน้ำยุงลายในพื้นที่ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกลดลง

1.จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกลดลงมากกว่า 50 เปอร์เซ็นจากปีที่ผ่านมา

50.00
2 2.เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังในโรงเรียนรุ่งโรจน์วิทยาและโรงเรียนบ้านลางาที่มีสภาพน้ำท่วมขังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของลุกน้ำยุงลาย

2.ไม่มีน้ำท่วมขังในโรงเรียนรุ่งโรจน์วิทยาและโรงเรียนบ้านลางา

50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 10,700.00 0 0.00
31 ส.ค. 66 1.อบรมให้ความรู้กลุ่มเป้าหมายเรื่องการบริหารจัดการขยะโดยการคัดแยกขยะโดยขยะบางส่วนที่คัดแยกจะนำไปจัดทำธนาคารน้ำใต้ดิน เช่น ขวดแก้ว ขวดพลาสติก 0 8,100.00 -
31 ส.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 2.จัดสาธิตวิธีการบริหารจัดการน้ำท่วมขังในพื้นที่โดยการทำธนาคารน้ำใต้ เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ป้องกันโรคไข้เลือกออก 0 2,300.00 -
31 ส.ค. 66 3.จัดทำป้ายไวนิลโครงการฯ 0 300.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.สามารถลดอัตราการป่วยของโรคไข้เลือดออกในเขตเทศบาลตำบลบ้านนา

2.สามารถลดปริมาณขยะมูลฝอยในพื้นที่เขตเทศบาลตำบลบ้านนา

3.สามารถแก้ไขปัยาหน้ำท่วมขังหรือปัญหาภัยแล้งได้ในอนาคต

4.ประชาชนในหมู่บ้านชุมชนมีคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 ส.ค. 2566 00:00 น.