กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการการจัดการสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนและชุมชนเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออก หมู่ที่ 12 บ้านเขาน้อยใต้ ตำบลฉลุง ประจำปีงบประมาณ 2566

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการจัดการสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนและชุมชนเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออก หมู่ที่ 12 บ้านเขาน้อยใต้ ตำบลฉลุง ประจำปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ 66-L8409-02-25
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 12
วันที่อนุมัติ 27 กรกฎาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 31,550.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวรอฮีบ๊ะ ใบกาเด็ม นางยูนีต้า หมันสัน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลฉลุง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.725,100.035place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 250 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย ส่วนใหญ่มักเป็นในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ในผู้ใหญ่อาจพบได้บ้าง บางรายอาการรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้ มักระบาดในช่วงหน้าฝนซึ่งยุงลายเป็นพาหะนำโรค ซึ่งลักษณะที่อยู่อาศัยของยุงลาย พบมากตามบ้านที่อยู่อาศัย ในสวน ขยายพันธุ์โดยวางไข่ในน้ำนิ่งพบบ่อยในภาชนะน้ำขัง เช่น โอ่งน้ำ แจกันดอกไม้ ยางรถยนต์เก่า หรือเศษวัสดุที่รองรับน้ำได้ทุกชนิด โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อ มีปัจจัยองค์ประกอบของการเกิดโรค ประกอบด้วย บุคคล เชื้อโรค พาหนะนำโรค และสิ่งแวดล้อม ซึ่งในการป้องกันควบคุมโรคติดต่อ จะต้องควบคุมปัจจัยดังกล่าว ไม่ให้เอื้อต่อการเกิดโรค คือบุคคลต้องมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ เชื้อโรคต้องไม่มีหรือมีจำนวนน้อย พาหนะนำโรคไม่มีหรือมีน้อยและที่สำคัญคือสิ่งแวดล้อม ต้องถูกสุขลักษณะ โดยเฉพาะสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยของบุคคลต้องสะอาดถูกสุขลักษณะจึงจะทำให้ไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของเชื้อโรค และการปรับปรุงควบคุมหรือรักษาสภาพแวดล้อม ให้สะอาดถูกสุขลักษณะเป็นสิ่งที่ประชาชนในทุกหมู่บ้าน/ทุกชุมชนทำได้ปฏิบัติได้ในวิถีชีวิตประจำวันของแต่ละบุคคลแต่ละหลังคาเรือน ซึ่งหมู่บ้านใดชุมชนใดมีการปรับปรุงรักษาความสะอาดของที่พักอาศัยให้ได้มาตรฐานเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง ก็จะเป็นการป้องกันโรคติดต่อต่างๆในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ประชาชนในชุมชนนั้นๆมีสุขภาพที่แข็งแรง ไม่เจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อ ซึ่งการดำเนินการป้องกันควบคุมโรคติดต่อจะได้ผลจะต้องได้รับ ความร่วมมือจากทุกคน ทุกหลังคาเรือน ทุกภาคส่วนจึงจะได้ผลอย่างยั่งยืน จากสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกของจังหวัดสตูล พบว่าในปี 2566 พบผู้ป่วย 163 ราย คิดเป็นอัตราป่วยโรคไข้เลือดออก 146.65 ต่อแสนประชากร และในตำบลฉลุงมีผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 33 ราย คิดเป็นอัตราป่วยโรคไข้เลือดออก 254.2 ต่อแสนประชากร (ข้อมูล ณ วันที่ 20 มิถุนายน 2566 ที่มาของข้อมูล สาธารณสุขอำเภอเมืองสตูล) และแนวโน้มจะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น เนื่องจากยังพบว่าประชาชนในตำบลฉลุงยังไม่ให้ความสำคัญกับการป้องกันโรคไข้เลือดออก ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและการจัดการสิ่งแวดล้อมบริเวณที่พักอาศัย ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ
ดังนั้นกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 12 บ้านเขาน้อย จึงได้จัดทำโครงการการจัดการสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนและชุมชนเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออก ในปี 2566 ขึ้น โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อลดค่า HI และ CI โดยการสร้างความตระหนักให้แก่แกนนำสุขภาพครัวเรือนดำเนินการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายบริเวณที่พักอาศัย ทุกหลังคาเรือนอย่างต่อเนื่อง ปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยต้องสะอาดถูกสุขลักษณะไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของลูกน้ำยุงลายซึ่งเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่แกนนำสุขภาพครัวเรือนในดำเนินการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายบริเวณที่พักอาศัย 2. เพื่อลดค่า HI, CI 3. เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก จำนวนร้อยละ ๑0 เปอร์เซ็นต์ ของปีที่ผ่านมา

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

วิธีดำเนินการ (ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4) 1. กิจกรรม ฝึกอบรม     - เรื่องการให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก
    - เรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อมบริเวณที่พักอาศัย เพื่อลดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย 2. กิจกรรม ปฏิบัติจริง - แกนนำสุขภาพครัวเรือนกลับไปปรับปรุง พัฒนา และจัดการสิ่งแวดล้อมในครัวเรือน และชุมชนตนเอง 3. กิจกรรม ติดตามการประเมิน - ลงติดตามสำรวจลูกน้ำยุงลาย โดย อสม. ตามเขตรับผิดชอบ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. แกนนำสุขภาพครัวเรือนมีความรู้และดำเนินการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายบริเวณที่พักอาศัยตนเอง
  2. ค่า HI และ CI ลดลง
  3. ผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมีจำนวนลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ส.ค. 2566 11:03 น.