กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการผู้สูงวัยยุคใหม่ใส่ใจสุขภาพจิต ชุมชนกุบังจามัง ต.ฉลุง
รหัสโครงการ 66-L8409-02-28
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่ม สร้างสรรค์กิจกรรมชุมชนบ้านกุบังจามัง
วันที่อนุมัติ 27 กรกฎาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 10,275.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายธันวา เด็นหลี นางสาวสุไลล่า หมันวาหาบ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลฉลุง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.725,100.035place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 35 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ผู้สูงอายุในชุมชนกุบังจามังเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเปราะบางสูงมาก ภาวะเปราะบางไม่ใช่แค่โรค แต่ยังเป็นภาวะหนึ่งของร่างกายซึ่งอยู่ระหว่างกลางของความสามารถในการทำงานได้ กับ ภาวะไร้ความสามารถและอยู่ระหว่างความสุขภาพดีกับความเป็นโรค นับเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญและพบบ่อยผู้สูงอายุ ส่งผลกระทบทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ผู้ที่มีภาวะเปราะบางความสามารถทางกายภาพของระบบต่างๆ ภายในร่างกายจะลดลงและเพิ่มความรุนแรงความเจ็บป่วย การบกพร่องทางความคิด การเคลื่อนไหวของร่างกายลดลงทั้งการเดินและการทรงตัว จนอาจเกิดพรัดตกหกล้มและเกิดภาวะพึ่งพาในที่สุด ทำให้ผู้สูงอายุเกิดความเครียดจนกลายเป็นภาวะซึมเศร้าโดยไม่รู้ตัว ทำให้ผู้สูงอายุไม่มีความสุข หดหู่เบื่อหน่าย มองว่าตนเองไม่มีคุณค่า กังวลลูกหลานจะทิ้งขว้าง บางรายมีอาการตรงกันข้าม หงุดหงิด โมโหง่าย เอาแต่ในตัวเอง น้อยใจง่าย ทะเลาะกับลูกหลานบ่อยครั้ง นอกจากนี้อาการทางจิตใจส่งผลให้เกิดอาการทางร่างกาย เช่น นอนไม่หลับ หรือนอนมากเกินไป อ่อนเพลีย ไม่สดชื่น เบื่ออาหาร ชอบพูดเรื่องเศร้าๆ ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจมีความคิดทำร้ายตนเองได้ จากสถานการณ์ปัญหาข้างต้นที่กล่าวมา จึงต้องมีการจัดทำโครงการผู้สูงวัยยุคใหม่ใส่ใจสุขภาพจิต ชุมชนกุบังจามัง ต.ฉลุงโดยเลือกพื้นที่ หมู่ 7 ตำบลฉลุง เป็นพื้นที่นำร่อง โดย ชุมชนกุบังจามัง หมู่7 ตำบลฉลุง มีประชากรทั้งหมด 995 คน มีจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด 133 คน โดนแบ่งออกเป็น3กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุติดสังคม 108 คน กลุ่มผู้สูงอายุติดบ้าน 22 คน และ กลุ่มผู้สูงอายุติดเตียง 3 คน ปัญหาที่รบกวนจิตใจผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักเป็นเรื่องความสัมพันธ์ในครอบครัว และผู้สูงอายุไวต่อความรู้สึกมากที่สุด คือการเสียหน้า การเสียคุณค่าและการเสียความเคารพจากผู้อื่น โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ คือกลุ่มผู้สูงอายุติดสังคมและกลุ่มผู้สูงอายุติดบ้าน รวมจำนวน 35 คน ดังนั้น การสร้างเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุด้านจิตใจ เพื่อให้ผู้สูงอายุรับรู้เข้าใจถึงปัญหาต่างๆ ทางด้านสังคม จะเป็นการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ผู้สูงอายุรับมือกับสภาวะอารมณ์ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้สูงอายุมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพจิตอย่างเหมาะสม 2. เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุออกกำลังกาย ลดอาการของโรคประจำตัว

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. กิจกรรม เวทีส่งเสริมสุขภาพจิตเชิงสร้างสรรค์   - การให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพจิตของตนเอง รับฟังปัญหา และ ให้คำแนะนำ โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยา โรงพยาบาลสตูล   - การนันทนาการในการส่งเสริมสุขภาพจิต โดยการเล่นเกมเชิงสร้างสรรค์และการเรียนรู้เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความผ่อนคลายและสนุกกับกิจกรรม
  2. กิจกรรม ติดตามการประเมินสุขภาพจิตผู้สูงอายุ
    • ลงพื้นที่ติดตามประเมินสุขภาพจิต 3 ครั้ง ก่อนเข้าร่วมโครงการ ระหว่าโครงการ หลังโครงการ โดยใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการประเมินรวมถึงการพูดคุยรับฟัง ดูพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลง
  3. กิจกรรม ส่งเสริมการออกกำลังกายยามเช้าเพื่อสุขภาพ   - ชวนผู้สูงอายุออกกำลังกายตอนเช้า สัปดาห์ละ3 ครั้ง หลังละหมาดซูโบะ เช่นการเดินระยะทางใกล้ๆ บริหารมือ เท้า และอวัยวะส่วนอื่นๆ แบบเบาๆ ใช้ท่าการออกกำลังกาย แบบ รำไทเก็ก เพื่อไม่ให้ผู้สูงอายุออกแรงมากเกินไป จะมีการจดบันทึก การออกกำลังกายในทุกครั้ง ตลอดโครงการ   - บางสัปดาห์ หลังออกกำลังกายมีเวทีจิบชาแชร์เรื่องเล่า เพื่อให้ผู้สูงอายุได้ระบายและผ่อนคลายความทุกข์สร้างความสุขให้กับตัวเอง โดยจะมีทีมงานชวนคุยระหว่างรับประทานอาหารเช้าร่วมกัน เดือนละ 2 ครั้ง ภายในระยะเวลาโครงการ 3 เดือน รวมเป็น 6 ครั้ง
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุเกิดความรู้ความตระหนักในการดูแลสุขภาพจิตและเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพของตนเอง
  2. ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดีขึ้นทางด้านร่างกาย จิตใจ และ อาการลดอาการของโรคประจำตัว จากการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสนอ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ส.ค. 2566 11:42 น.