กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการอบรมพัฒนาองค์ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพของหญิงวัยเจริญพันธุ์และหญิงตั้งครรภ์ ป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนด ปีงบประมาณ พ.ศ.2566

assignment
บันทึกกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์/การมีบุตร,การดูแลสุขภาพในขณะตั้งครรภ์,การจัดการด้านโภชนาการอาหารที่เหมาะสมในหญิงตั้งครรภ์,การปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพของตนเองในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์7 ธันวาคม 2566
7
ธันวาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองเบตง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1 ขั้นตอนวางแผนงาน
- ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ
- จัดทำคำสั่ง/แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ คณะทำงาน ผู้ปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ - ติดต่อประสานงานหน่วยงาน/ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันดำเนินงาน 2 จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองเบตง 3 ขั้นตอนการดำเนินงาน 3.1 ดำเนินกิจกรรมอบรมพัฒนาองค์ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพของหญิงวัยเจริญพันธุ์และหญิงตั้งครรภ์ และการแก้ไขปัญหาหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์รวมจำนวน 50 คน ดังนี้               1. หัวข้อให้ความรู้เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์/การมีบุตร                     - การวางแผนครอบครัว                     - การตรวจสุขภาพร่างกาย                     - ปัจจัยและลักษณะที่พึงระวังในกลุ่มหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่จะตั้งครรภ์               2. หัวข้อให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในขณะตั้งครรภ์
                  - แนวทางการฝากครรภ์อย่างมีคุณภาพ                   - การฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ และฝากครบ 8 ครั้งคุณภาพ                   - ความเปลี่ยนแปลงและลักษณะทางกายภาพในช่วงตั้งตั้งครรภ์               3. หัวข้อการจัดการด้านโภชนาการอาหารที่เหมาะสมในหญิงตั้งครรภ์                   - อาหารที่เหมาะสมในขณะตั้งครรภ์                   - อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงขณะตั้งครรภ์                   - โภชนาการที่ส่งผลต่อน้ำนมและอาหารที่เหมาะสมระหว่างหลังคลอด               4. หัวข้อการปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพของตนเองในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์                   - ออกกำลังกายแบบไหน ปลอดภัยสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์                   - การดูแลสุขภาพช่องปาก                   - การฝึกทำสมาธิและการพักผ่อนที่เหมาะสมของหญิงตั้งครรภ์ 3.2 ประสานงานPCU.ทั้ง 3 ในเขตเทศบาลเบตง เพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมการฝากครรภ์ครั้งแรกภายใน 12 สัปดาห์ และการฝากครรภ์ 5 ครั้งตามเกณฑ์คุณภาพของกระทรวงสาธารณสุข พร้อมหญิงตั้งครรภ์ทุกรายได้รับการประเมินภาวะสุขภาพจากหน่วยงานกระทรวงสาธารณสุข 3.3 ติดตามสถานการณ์ พร้อมรายงานผล และประชาสัมพันธ์ให้หน่วยงานทราบเป็นระยะ 3.4 สรุปผลการดำเนินโครงการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

โครงการอบรมพัฒนาองค์ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพของหญิงวัยเจริญพันธุ์และหญิงตั้งครรภ์
ป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนด ปีงบประมาณ พ.ศ.2566 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธุ์และ หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการดูแลสุขภาพของตนเอง ทั้งก่อนการตั้งครรภ์ ในขณะ
ตั้งครรภ์ และหลังคลอด เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธุ์และหญิงตั้งครรภ์ สามารถปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพ ของตนเองได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสมและเพื่อเป็นการป้องกันและลดภาวะคลอดก่อนกำหนดหรือแท้ง ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ โดยจัดอบรมในวันที่ 7 ธันวาคม 2566 เวลา 08.00 น.-16.30 น. ณ ห้องประชุมศูนย์บริการสาธารณสุข (กาแป๊ะ กม.3) เทศบาลเมืองเบตง มีผู้เข้าร่วมอบรมจำนวน 60 คน โครงการอบรมพัฒนาองค์ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพของหญิงวัยเจริญพันธุ์และหญิงตั้งครรภ์ ป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนด ปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ได้ดำเนินการโดยมีกิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์/การมีบุตร การดูแลสุขภาพในขณะตั้งครรภ์ การจัดการด้านโภชนาการอาหารที่เหมาะสมในหญิงตั้งครรภ์ และการปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพของตนเองในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ กิจกรรมทั้งหมดได้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของโครงการ มีการประชุมการวางแผนงาน ดำเนินการจัดกิจกรรมและมีการสรุป ประเมินผลในแต่ละกิจกรรม โดยมีผลด้านคุณภาพ คือ หญิงตั้งครรภ์ หญิงวัยเจริญพันธุ์ อายุตั้งแต่ 15-49 ปี และเจ้าหน้าที่ มีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องในการการดูแลสุขภาพของตนเอง ทั้งก่อนการตั้งครรภ์ ในขณะตั้งครรภ์ และหลังคลอด ตลอดจนหญิงวัยเจริญพันธุ์และหญิงตั้งครรภ์ สามารถปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพของตนเองได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมเป็นการป้องกันและลดภาวะคลอดก่อนกำหนดหรือแท้งในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ และด้านปริมาณหญิงตั้งครรภ์ หญิงวัยเจริญพันธุ์ อายุตั้งแต่ 15-49 ปี และเจ้าหน้าที่คิดเป็นร้อยละ 100 ได้รับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของตนเอง ทั้งก่อนการตั้งครรภ์ ในขณะตั้งครรภ์ และหลังคลอด สามารถปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพของตนเองได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม และการป้องกันและลดภาวะคลอดก่อนกำหนดหรือแท้งในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์