กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการในเด็กนักเรียน
รหัสโครงการ 2566-L7161-02-18
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านกาแป๊ะฮูลู)
วันที่อนุมัติ 24 สิงหาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กันยายน 2566 - 31 ธันวาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 มกราคม 2567
งบประมาณ 74,665.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอารุณชัย ดาเด๊ะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 58 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

ระบุ

กลุ่มวัยทำงาน 58 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กอายุ 4-14 ปี ที่มีปัญหาด้านโภชนาการ
58.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภาวะโภชนาการมีส่วนสำคัญต่อสุขภาพสุขภาวะทางโภชนาการจะเกิดขึ้นได้ต้องมีความสมดุลระหว่างการได้รับและความต้องการสารอาหารหากไม่สมดุลจะก่อให้เกิดภาวะทุพโภชนาการซึ่งไม่ว่าจะเป็นโภชนาการขาดหรือโภชนาการเกินก็ตามล้วนก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพไม่ว่าจะทางด้านร่างกายสติปัญญาอารมณ์และสังคมซึ่งมีผลโดยตรงต่อการเรียนรู้และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้ทั้งสิ้นซึ่งในปัจจุบันเป็นแนวโน้มปัญหาโภชนาการของโลก เด็กเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ ในหลายประเทศล้วนมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งวัยเด็กเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาในด้านต่าง ๆ อย่างรวดเร็วทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม เด็กในวัยนี้ถ้าได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม มีการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน และมีการส่งเสริมพัฒนาการที่ดีในแต่ละด้าน ก็จะทำให้เด็กนั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต ซึ่งพัฒนาการเด็กเกิดจากการเปลี่ยนแปลงหลายด้านผสมผสานกัน โดยพัฒนาการทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม ล้วนมีความสำคัญและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหมด การเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการด้านหนึ่งย่อมมีผลให้ /พัฒนาการอีกด้าน… -2-

พัฒนาการอีกด้านหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปด้วย เช่น เด็กที่มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์มักเคลื่อนไหวคล่องแคล่วสามารถ
สามารถช่วยเหลือตนเองได้ มีอารมณ์แจ่มใส รู้จักควบคุมอารมณ์ เข้ากับผู้อื่นได้ดี และมีความสนใจเรียนรู้สิ่งรอบข้าง ในทางตรงกันข้ามเด็กที่มีสุขภาพไม่ดี มักประสบปัญหาด้านการเจริญเติบโตของร่างกายล่าช้า หรือหยุดชะงักชั่วขณะ อารมณ์หงุดหงิดง่าย มีอาการเศร้าซึม ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ยาก และขาดสมาธิในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆและอาหารก็มีความสำคัญในทุกเพศและทุกวัย โดยเฉพาะสำหรับเด็กวัยเรียน ซึ่งเป็นวัยที่ร่างกายกำลังเจริญเติบโต และเป็นช่วงที่สมองกำลังพัฒนา อาหารจึงมีความสำคัญอย่างมากสำหรับวัยนี้ ดังนั้นควรรับประทานให้ครบทั้ง 5 หมู่ ซึ่งในแต่ละหมู่ต้องมีความหลากหลายและปริมาณให้เพียงพอต่อร่างกายเพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอและเหมาะสม เด็กในวัยเรียนเป็นช่วงเวลาที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว การได้รับสารอาหารมากเกินไปหรือน้อยเกินไป จะมีผลกระทบต่อเด็กได้รับผลกระทบที่พบ ประกอบด้วย ด้านสุขภาพร่างกายด้านสังคมและจิตใจ ด้านการเรียน ด้านเศรษฐกิจ และด้านเศรษฐกิจ จากการตรวจสุขภาพนักเรียนของโรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านกาแป๊ะฮูลู) ประจำปีการศึกษา 2565 ทั้งหมด 297 คน พบว่า นักเรียนที่มีภาวะสูงดีสมส่วน จำนวน239 คน คิดเป็นร้อยละ 80.47 ภาวะอ้วน จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 2.69 ภาวะเตี้ย จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 6.73 นักเรียนที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 30 คน คิดเป็นร้อยละ 10.10 จากปัญหาดังกล่าวงานอนามัยโรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านกาแป๊ะฮูลู)จึงได้เสนอโครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการในเด็กนักเรียนขึ้น เพื่อแก้ปัญหาและเสริมสร้างปลูกฝังสุขนิสัยที่ดีในการเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย และให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการ เพื่อให้นักเรียนสามารถพัฒนาสุขภาพของตนเองได้อย่างยั่งยืนและที่สำคัญผู้ปกครองของเด็กนักเรียนจำเป็นต้องมีความรู้เรื่องการรับประทานอาหารที่ถูกต้องเหมาะสมของนักเรียนด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อประเมินและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กวัยเรียน
  1. ร้อยละ 100 ประเมินและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กวัยเรียน
0.00
2 2. เพื่อให้ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็ก มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการและการส่งเสริมโภชนาการในเด็กวัยเรียน

2.  ร้อยละ 80 ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็ก มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการและการส่งเสริมโภชนาการในเด็กวัยเรียน

0.00
3 3. เพื่อให้ผู้ปกครอง นักเรียน มีความรู้ความเข้าใจในการปลูกผักขั้นพื้นฐานด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง รู้ถึงประโยชน์ของผัก และสาธิตการทำอาหารแบบง่าย ๆ

3.  ร้อยละ 70 ของผู้ปกครอง นักเรียน มีความรู้ความเข้าใจในการปลูกผักขั้นพื้นฐานด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง รู้ถึงประโยชน์ของผัก และสาธิตการทำอาหารแบบง่าย ๆ

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 116 74,665.00 4 74,665.00
26 ก.ย. 66 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียน แก่นักเรียน ผู้ปกครอง ครู 116 30,685.00 30,685.00
26 ก.ย. 66 กิจกรรมสาธิตการปลูกผักปลอดสารพิษ เพื่อเป็นอาหารเสริมภาวะโภชนาการ 0 3,000.00 3,000.00
26 ก.ย. 66 กิจกรรมสาธิตการทำอาหารเช้าเพื่อเสริมโภชนาการเด็ก 0 2,080.00 2,080.00
1 ต.ค. 66 - 31 ธ.ค. 66 กิจกรรมส่งเสริมและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็ก 0 38,900.00 38,900.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็ก มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการส่งเสริมโภชนาการในเด็กวัยเรียน
    1. เด็กวัยเรียนได้รับการประเมินและส่งเสริมภาวะ โภชนาการด้านสุขภาพอนามัยได้ถูกต้องและเหมาะสมตามวัย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ส.ค. 2566 00:00 น.