กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสนับสนุนผ้าอ้อมผู้ใหญ่ สำหรับบุคคลที่มีภาวะพึ่งพิง และบุคคลที่มีภาวะปัญหาการกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้ ปีที่ 2
รหัสโครงการ 2566-L8010-6-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 6 การใช้เงินตามมติบอร์ด
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของรัฐ เช่น สสอ.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รองประธานศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง
วันที่อนุมัติ 14 กันยายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 21 สิงหาคม 2566 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 190,030.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวิวัฒน์ คงแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

บุคคลที่มีภาวะพึ่งพิงโดยเฉพาะในรายที่จำเป็นต้องใช้ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ เพื่อนำไปใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน จัดได้ว่าเป็นกลุ่มที่ควรให้การสนับสนุน เพื่อให้บุคคลดังกล่าวได้รับการดูแลและเข้าถึงการบริการสาธารณสุขในชุมชนอย่างทั่วถึงมากยิ่งขึ้น คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจึงมีมติให้ผ้าอ้อมผู้ใหญ่เป็นสิทธิ์ประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อให้บุคคลที่มีภาวะพึ่งพิงตามแผนการดูแลรายบุคคลระยาวด้านสาธารณสุข ( Care Plan ) และบุคคลที่มีปัญหากลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้ ตามผลการประเมินหรือข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ได้รับการดูแลและเข้าถึงบริการสาธารณสุขอย่างทั่งถึงและเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นในงบประมาณที่มีอยู่ ในระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ จึงมีความสำคัญยิ่งในการสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายดังกล่าว สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขอย่างทั่วถึง และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นได้

องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง มีประชากรทั้งหมด 14,242 คน ผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 60 ปี มีจำนวน 1,723 คน ได้รับการประเมินการทำกิจวัตรประจำวันโดยใช้แบบประเมินคัดกรองความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล พบว่าผู้สูงอายุที่มีคะแนนเอดีแอลมากกว่า 11 คะแนน จำนวน 1,691 คน คิดเป็นร้อยละ 98.1 และมีคะแนนเท่ากับหรือน้อยกว่า 11 คะแนน (ติดบ้าน ติดเตียง) จำนวน 32 คน คิดเป็นร้อยละ 1.9 มีคนพิการทั้งหมด 395 คน ได้รับการประเมินการทำกิจวัตรประจำวันโดยใช้แบบประเมินคัดกรองความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล พบว่าคนพิการที่มีคะแนนเอดีแอล มากกว่า 11 คะแนน จำนวน 363 คน คิดเป็นร้อยละ 91.9 และมีคะแนนเท่ากับหรือน้อยกว่า ๑๑ คะแนน (ติดบ้าน ติดเตียง) จำนวน 32 คน คิดเป็นร้อยละ 8.1 ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่เป็นคนพิการ จำนวน 27 คน คนพิการที่มีภาวะพึ่งพิง ที่ไม่ใช่ผู้สูงอายุ จำนวน 5 คนศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง ดูแลผู้สูงอายุ/คนพิการที่มีภาวะพึ่งพิงทั้งหมด 32 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.5 ของผู้สูงอายุและคนพิการทั้งหมดในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพงโดยผู้สูงอายุ/คนพิการที่มีภาวะพึ่งพิงทั้งหมด แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ ๑ (เคลื่อนไหวได้บ้างมีปัญหาการกิน/ การขับถ่ายแต่ไม่มีภาวะสับสน) จำนวน 5 คนคิดเป็นร้อยละ 15.6 กลุ่มที่ ๒ (เคลื่อนไหวได้บ้างมีภาวะสับสน และอาจมีปัญหาการกิน/การขับถ่าย) จำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 53.1 กลุ่มที่ ๓ (เคลื่อนไหวเองไม่ได้ และอาจมีปัญหาการกิน/การขับถ่ายหรือเจ็บป่วยรุนแรง) จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 31.3 และกลุ่มที่ 4 (เคลื่อนไหวเองไม่ได้ เจ็บป่วยรุนแรงหรืออยู่ในระยะสุดท้ายของชีวิต) จำนวน 0 คน ผู้สูงอายุ/คนพิการที่มีภาวะพึ่งพิง ที่มีคะแนนความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันน้อยกว่าหรือเท่ากับ 6 คะแนน มีจำนวน 16 คน และบุคคลที่มีภาวะปัญหาการกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้ ตามการประเมิน/ใช้ข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ จำนวน 10 คน เนื่องจากบุคคลดังกล่าวไม่สามารถกลั้นอุจจาระหรือปัสสาวะได้เนื่องจากการทำงานของร่างกายที่ผิดปกติเนื่องจากพยาธิสภาพของโรค โดยส่งผลกระทบทั้งทางด้านร่างกาย จิตสังคม จึงมีความจำเป็นต้องใช้ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ในการดำรงชีวิตประจำวัน ทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้การดูแลสอดคล้องกับปัญหาและความต้องการในการดำเนินชีวิตในแต่ละวัน หากผู้ป่วยได้รับการตอบสนองความต้องการในการดูแลผู้ป่วยที่ดี ย่อมทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น

ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง จึงจัดทำโครงการสนับสนุนผ้าอ้อมผู้ใหญ่ สำหรับบุคคลที่มีภาวะพึ่งพิง และบุคคลที่มีปัญหาการกลั้นปัสสาวะและอุจจาระไม่ได้ เพื่อขอรับการสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง จำนวน 26 คน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้บุคคลที่มีภาวะพึ่งพิงและมีค่าคะแนนระดับความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (Barthel ADL index) น้อยกว่าหรือเท่ากับ 6 คะแนน ตามแผนการดูแลรายบุคคลระยะยาวด้านสาธารณสุข (Care Plan) และบุคคลที่มีปัญหาการกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้ ได้รับการสนับสนุนผ้าอ้อมผู้ใหญ่เพิ่มเติมตามสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และเข้าถึงบริการสาธารณสุขตามสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

ตัวชี้วัดความสำเร็จ : ร้อยละ 100 ของผู้สูงอายุ/ผู้พิการ ได้รับการคัดกรองและมีระบบส่งเสริม ป้องกัน ฟื้นฟูและการดูตามระดับความจำเป็นในการดูแลระยะยาว และบุคคลที่มีปัญหาการกลั่นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้ ตามผลการประเมินหรือบ่งชี้ทางการแพทย์ การประเมิน :

แบบประเมินคัดกรองความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล

แบบประเมินภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ (คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา)

ร้อยละ 100 ของผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงและมีค่าคะแนนระดับความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (Barthel ADL index) น้อยกว่าหรือเท่ากับ 6 คะแนน ตามแผนการดูแลรายบุคคลระยะยาวด้านสาธารณสุข (Care Plan) และบุคคลที่มีปัญหาการกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้ ตามผลการประเมินหรือข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ ได้รับการสนับสนุนผ้าอ้อมผู้ใหญ่เพิ่มเติมตามสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ การประเมิน :

แบบบันทึกการรับการสนับสนุนผ้าอ้อมผู้ใหญ่ ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุและคนพิการที่มีภาวะพึ่งพิง และบุคคลที่มีปัญหาการกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้ ตามผลการประเมินหรือข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ มีความพึงพอใจในการให้บริการสาธารณสุขและการได้รับผ้าอ้อมผู้ใหญ่ การประเมิน :

แบบประเมินความพึงพอใจ ร้อยละ 60 ของผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงและมีค่าคะแนนระดับความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (Barthel ADL index) น้อยกว่าหรือเท่ากับ 6 คะแนน ตามแผนการดูแลรายบุคคลระยะยาวด้านสาธารณสุข (Care Plan) และบุคคลที่มีปัญหาการกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้ ตามผลการประเมินหรือข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และมีค่าคะแนนระดับความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (Barthel ADL index) คงที่หรือเพิ่มขึ้น การประเมิน :

แบบประเมินคุณภาชีวิต ขององค์การอนามัยโลก

1.50 100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อให้บุคคลที่มีภาวะพึ่งพิงและมีค่าคะแนนระดับความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (Barthel ADL index) น้อยกว่าหรือเท่ากับ 6 คะแนน ตามแผนการดูแลรายบุคคลระยะยาวด้านสาธารณสุข (Care Plan) และบุคคลที่มีปัญหาการกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้ ได้รับการสนับสนุนผ้าอ้อมผู้ใหญ่เพิ่มเติมตามสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และเข้าถึงบริการสาธารณสุขตามสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

1 ก.ค. 66 - 15 ส.ค. 66 สำรวจผู้สูงอายุ/ผู้พิการและบุคคลที่มีภาวะปัญหาการกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง 0.00 -
1 พ.ย. 66 - 30 ก.ย. 67 การให้บริการสาธารสุขแก่ผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงที่มีคะแนน ADL น้อยกว่า 6 คะแนน และบุคคลที่มีภาวะปัญหาการกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้ 165,880.00 -
1 พ.ย. 66 - 30 ก.ย. 67 ประชุม/ติดตามผล 23,150.00 -
1 ส.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 รายงานผลโครงการ 1,000.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงและมีค่าคะแนนระดับความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (Barthel ADL index) น้อยกว่าหรือเท่ากับ 6 คะแนน ตามแผนการดูแลรายบุคคลระยะยาวด้านสาธารณสุข (Care Plan) และบุคคลที่มีปัญหาการกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้ ตามผลการประเมินหรือข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ ได้รับการสนับสนุนผ้าอ้อมผู้ใหญ่เพิ่มเติมตามสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

  2. ผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงและมีค่าคะแนนระดับความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (Barthel ADL index) น้อยกว่าหรือเท่ากับ 6 คะแนน ตามแผนการดูแลรายบุคคลระยะยาวด้านสาธารณสุข (Care Plan) และบุคคลที่มีปัญหาการกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้ ตามผลการประเมินหรือข้อบ่งชี้ทางการแพทย์มีสุขภาพดีขึ้น และสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติ

  3. ผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงและมีค่าคะแนนระดับความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (Barthel ADL index) น้อยกว่าหรือเท่ากับ 6 คะแนน ตามแผนการดูแลรายบุคคลระยะยาวด้านสาธารณสุข (Care Plan) และบุคคลที่มีปัญหาการกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้ ตามผลการประเมินหรือข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ มีความพึงพอใจในการให้บริการสาธารณสุข

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ก.ย. 2566 10:20 น.