กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการช่วยเหลือประชาชนในสถานการณ์น้ำท่วม หรือภัยพิบัติ หรือเฝ้าระวังควบคุมโรคระบาดรุนแรง ในเขตเทศบาลตำบลห้วยยอด
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลตำบลห้วยยอด
วันที่อนุมัติ 9 พฤศจิกายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 100,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางปรียภัทร์ พลเดช
พี่เลี้ยงโครงการ นางสุดารัตน์ ภักดี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลห้วยยอด อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.776,99.632place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อแก้ปัญหาด้านสาธารณสุขเบื้องต้นแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบด้านสุขภาพ กรณีเกิดโรคระบาด แบะ ภัยพิบัติฉุกเฉิน
  1. ร้อยละ 90 ของประชาชน ที่ได้รับผลกระทบด้านสุขภาพจากโรคระบาดและภัยพิบัติ
2 2. เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ที่เกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติได้รับความรู้และมีความเข้าใจในการดูแลป้องกันตนเองเมื่อเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่
  1. ร้อยละ 90 ของ ประชาชน ในพื้นที่ที่เกิดโรคระบาดและภัยพิบัติ ได้รับความรู้และมีความเข้าใจในการดูแลป้องกันตนเองเมื่อเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.เมื่อเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ 1.1 กิจกรรมย่อย -ติดตามสถานกา่รณ์การเกิดโรคระบาดและภัยพิบัติฉุกเฉินในพื้นที่ และสำรวจผลกระทบด้านสุขภาพ -จัดทำทะเบียนผู้ที่ได้รับผลกระทบด้านสุขภาพ -ติดต่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง -จัดประชุมร่วมกับ ผู้บริหาร ประธานกรรมการชุมชน เจ้าหน้าที่ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ทีม SRRT อสม. เพื่อวางแผนการป้องกันและควบคุมสถานการณ์การเกิดโรคระบาดและภัยพิบัติ ในพื้นที่ 2. ตรวจเยี่ยม ให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบ 2.1 กิจกรรมย่อย -ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม ให้ความช่วยเหลือด้านสุขภาพ ตามระดับความรุนแรง ของโรคระบาดและภัยพิบัติ -ดำเนินการป้องกันควบคุมโรคและผลกระทบจากภัยสุขภาพตามแผนการดำเนินการที่วางไว้อย่างเร่งด่วน 3. กิจกรรมสรุปผลการดำเนินโครงการ 3.1 กิจกรรมย่อย -ติดตามเยี่ยมและประเมินสุขภาพของประชาชนภายในเขตเทศบาล -ประชุม สรุปผลการดำเนินโครงการ -รายงานผลและสรุปผลการดำเนินงานให้คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในเขตเทศบาล มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคและสามารถปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคและภัยทางสุขภาพได้อย่างถูกต้อง
  2. ประชาชนภายในเขตเทศบาลฯ สามารถเตรียมตัวป้องกันภาวะฉุกเฉินทางสุขภาพได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง
  3. ประชาชนภายในเขตเทศบาลฯ ได้รับการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาทางสุขภาพได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ก.ย. 2566 13:54 น.