กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอาหารปลอดภัยตามหลักโภชนาการ ด้วยเกษตรพอเพียง
รหัสโครงการ 66-L3013-02-29
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านกูวิง
วันที่อนุมัติ 21 กันยายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 9 พฤศจิกายน 2566 - 10 พฤศจิกายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 10 ธันวาคม 2566
งบประมาณ 25,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายกษิดิท มณีโชติ
พี่เลี้ยงโครงการ นายอับดุลกอเดร์ การีนา
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบานา อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 95 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การจัดอาหารในโรงเรียนที่มีนักเรียนระดับก่อนประถมศึกษาและระดับประถมศึกษาเป็นสิ่งสำคัญมากเพราะเด็กในวัยนี้เป็นวัยที่กำลังเจริญเติบโตในทุกๆ ด้านคือทั้งด้านร่างกาย อารมณ์และสังคม ดังนั้นทางโรงเรียนจึงจัดทำโครงการเกษตรพอเพียง สู่ผลิตผลอาหารเพื่อน้องตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้นักเรียนได้รับสารอาหารครบทั้ง 5 หมู่ และมีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์ แข็งแรง ให้เด็กได้รับสารอาหารจากผักที่ปลอดสารพิษ โดยเฉพาะนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ ซึ่งโรงเรียนบ้านกูวิง มีนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 45 คน นักเรียนกลุ่มนี้บางคนไม่ได้รับประทานอาหารเช้ามาโรงเรียน ทำให้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้นักเรียนมีปัญหาเรื่องสุขภาพ ภาวะทางโภชนาการ ทางโรงเรียนจึงเห็นว่าหากเรามีผลิตผลที่สามารถผลิตขึ้นเองได้ เพื่อไปเป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหารให้กับนักเรียนจะทำให้ลดค่าใช้จ่าย และมีวัตถุดิบที่มีคุณภาพ ปลอดสารพิษ อีกทั้งการทำเกษตร เป็นการทำให้นักเรียนฝึกความมีระเบียบ วินัย ความรับผิดชอบ และตระหนักถึงความสำคัญของการทานผักที่ปลอดสารพิษ เกิดความภูมิใจในตนเองที่ได้ดูแลแปลงเกษตร และยังเป็นแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงให้กับชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนได้รับประทานอาหารกลางวันที่มีคุณค่าตามหลักโภชนาการ จากผักปลอดสารพิษในแปลงเกษตรของโรงเรียน

นักเรียนทุกคนได้รับประทานอาหารกลางวันที่มีคุณค่าตามหลักโภชนาการ จากผักปลอดสารพิษในแปลงเกษตรของโรงเรียน

0.00
2 เพื่อให้นักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการมีสุขภาวะตามเกณฑ์มาตรฐาน

นักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการมีสุขภาวะตามเกณฑ์มาตรฐานมากขึ้น

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
9 พ.ย. 66 จัดกิจกรรมอบรมหลักโภชนาการรับประทานอาหารปลอดสารพิษจากแหล่งเกษตรพอเพียง 50 12,200.00 -
10 พ.ย. 66 - 31 ส.ค. 67 กิจกรรมปลูกผักยกแคร่ 50 10,000.00 -
1 ม.ค. 67 - 15 ส.ค. 67 ประเมินติดตามภาวะทุพโภชนาการในเด็ก 45 3,000.00 -
รวม 145 25,200.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนทุกคนได้ได้รับประทานอาหารกลางวันจากผักปลอดสารพิษในแปลงเกษตรของโรงเรียน

  2. นักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการมีสุขภาวะตามเกณฑ์มาตรฐานมากขึ้น

  3. โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงให้แก่ชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ก.ย. 2566 00:00 น.