กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปลูกผักข้างบ้าน ปลอดสารเคมี สุขภาพดี ลดโรค
รหัสโครงการ 66-L5302-2-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มส่งเสริมการบริโภคผักปลอดสารพิษตำบลควนโพธิ์
วันที่อนุมัติ 22 กันยายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 22 กันยายน 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 26,887.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ 1.นายยาหมุน บูหมัน 2.นายสามาด เตาวะโต 3.นายวิรัตน์ ถิ่นกาแบง 4.นายซาการียา โต๊ะหมาด
พี่เลี้ยงโครงการ นายลิขิต อังศุภานิช
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนโพธิ์ อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.769,100.018place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 24 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของพื้นที่เกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ เมื่อเทียบกับพื้นที่เกษตรทั้งหมด
8.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การดำรงชีวิตแบบเร่งรีบของบุคคลในปัจจุบัน เน้นเลือกรับประทานอาหารที่สะดวก รวดเร็ว เพื่อประหยัดเวลาในการใช้ชีวิตโดยขาดการคำนึงถึงผลเสียที่จะเกิดต่อสุขภาพในระยะยาว อาหารที่รับประทานส่วนใหญ่ประกอบขึ้นจากวัตถุดิบที่หาได้ง่าย ราคาถูก โดยขาดการคำนึงถึงแหล่งผลิตและประโยชน์ที่ได้รับรวมถึงการปลอดสารพิษของวัตถุดิบนั้นๆ เมื่อรับประทานไปเป็นระยะเวลานานเกิดการสะสมสารพิษในร่างกายเมื่อร่างกายอ่อนแอส่งผลให้เกิดโรคต่างๆ เช่น โรคมะเร็ง โรคไต โรคผิวหนัง เป็นต้น
ผักเป็นพืชอาหารที่คนไทยนิยมนำ มาใช้รับประทานกันมากเนื่องจากมีคุณค่าทางอาการ ทั้งวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายสูง แต่ค่านิยมในการบริโภคผักนั้น มักจะเลือกบริโภคผักที่สวยงามไม่มีร่องรอยการทำลายของหนอนและแมลงศัตรูพืช จึงทำให้เกษตรกรที่ปลูกผักจะต้องใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดแมลงฉีดพ่นในปริมาณที่มาก เพื่อให้ได้ผักที่สวยงามตามความต้องการของตลาด เมื่อผู้ซื้อนำมาบริโภคแล้วอาจได้รับอันตรายจากสารพิษที่ตกค้างอยู่ในพืชผักนั้นได้ เพื่อเป็นการแก้ปัญหาดังกล่าว เกษตรกรจึงควรหันมาทำการปลูกผักปลอกภัยจากสารพิษ โดยนำเอาวิธีการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชหลายวิธีมาประยุกต์ใช้ร่วมกัน เป็นการทดแทนหรือลดปริมาณการใช้สารเคมีให้น้อยลง เพื่อความปลอดภัยของเกษตรกร ผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม แต่ที่จริงแล้วประชาชนสามารถที่จะปลูกผักมารับประทานได้เอง โดยที่ไม่ต้องเสี่ยงที่จะได้รับสารเคมี เพราะการปลูกเองทำให้มีความมั่นใจที่จะรับประทาน การปลูกผักรับประทานเองแบบผักอินทรีย์ ก็เป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยใช้ผู้บริโภคได้รับสารอาหารที่ดี  มีประโยชน์อย่างแท้จริง
กลุ่มส่งเสริมการบริโภคผักปลอดสารพิษตำบลควนโพธิ์ ตระหนักถึงปัญหาด้านสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมบริโภคผักปลอดสารพิษ ลดเสี่ยง ลดโรค เพื่อสุขภาวะที่ดีของประชาชนตำบลควนโพธิ์ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่ปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อใช้บริโภคในครัวเรือน ตลอดจนการสร้างค่านิยมในการบริโรคผักปลอดสารพิษในชุมชนเพิ่มมากขึ้น ลดปริมาณการใช้สารเคมีน้อยลง เพื่อความปลอดภัยของเกษตรกร ผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้ประชาชนในพื้นมีสุขภาพที่ดีต่อไปอย่างยั่งยืน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มพื้นที่เกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์

ร้อยละของพื้นที่เกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ เมื่อเทียบกับพื้นที่เกษตรทั้งหมด

8.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมคณะทำงานเพื่อแบ่งงาน
  2. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติดำเนินการ
  3. จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินโครงการ
  4. รับสมัครเกษตรกรและประชาชนทั่วไปจำนวน 24 ท่าน
  5. ดำเนินโครงการโดยอบรมให้ความรู้เรื่องการปลูกผักปลอดสารพิษ
  6. สาธิตการเพาะพันธุ์ต้นกล้าผัก เพื่อเป็นศูนย์เรียนรู้ของประชาชนในตำบลควนโพธิ์
  7. สรุปและประเมินผลดำเนินโครงการ รายงานผลการดำเนินโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนรู้จักเลือกบริโภคอาหารและวิธีการประกอบการที่ปลอดภัยจากสารเคมี
  2. ประชาชนมีพืชผักที่มีคุณภาพ ไม่มีสารพิษตกค้าง เกิดความปลอดภัย
  3. ประชาชนผู้ปลูกผักมีสุขภาพอนามัยดีขึ้นเนื่องจากการฉีดพ่นสารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการทำให้เกษตรกรปลอดภัยจากสารพิษ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ก.ย. 2566 20:08 น.