กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก รพ.สต.บ้านนาท่อม
รหัสโครงการ 67-L3356-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาท่อม
วันที่อนุมัติ 8 พฤศจิกายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2566 - 30 เมษายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 40,170.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายศักดิ์ชาย โรจชะยะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาท่อม อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 105 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด
25.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออก (Dengue fever) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue virus) โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว มักพบในประเทศเขตร้อน และจะระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี ไข้เลือดออกพบได้ในทุกเพศทุกวัย แต่พบมากที่สุดในกลุ่มเด็กอายุ 5-14 ปี แต่พบว่าในวัยทำงานมีการเสียชีวิตสูงสุด สถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกในประเทศไทย ปี 2566 สถิติผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสะสมแล้วกว่า 110,809 ราย และมีผู้เสียชีวิตแล้ว 106 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 11 ตุลาคม 2566) ทั้งนี้ พบตัวเลขการระบาดที่สูงที่สุดในรอบ 5 ปี ในปี 2566 ระบาดหนักในที่สุดในรอบ 5 ปี พบผู้ป่วยแล้วกว่า 1.1 แสนราย เสียชีวิตกว่า 106 ราย จากการประเมินความเสี่ยง แนวโน้มผู้ป่วยไข้เลือดออกในประเทศไทยเริ่มลดลง แต่ยังมีแนวโน้มสูงในบางพื้นที่ จึงยังต้องดําเนินมาตรการต่าง ๆ อย่างเข้มข้น ได้แก่ กําจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย สื่อสารความเสี่ยง และควบคุมโรคตามมาตรการ 3-3-1 เพื่อลดความรุนแรงของการระบาดและจํานวนผู้เสียชีวิต และจากสถานการณ์ไข้เลือดออกในจังหวัดพัทลุง ปี พ.ศ.2565 พบว่า ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวนทั้งหมด 30 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 23.93 ต่อประชากรแสนคน และในปี พ.ศ.2566 นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 ถึงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2566 อ.เมืองพัทลุง ได้รับรายงานผู้ป่วยโรค ไข้เลือดออก จํานวนทั้งสิ้น 257 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 204.96 ต่อประชากรแสนคน พบผู้ป่วยเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยพบเพศหญิง 136 ราย เพศชาย 121 ราย อัตราส่วนเพศหญิงต่อเพศชาย เท่ากับ 1.12 : 1 กลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือกลุ่มอายุ 10 - 14 ปีคิดเป็นอัตราป่วย 788.21 ต่อประชากรแสนคน รองลงมาคือ กลุ่มอายุ 5 - 9 ปี และ 15 - 24 ปี อัตราป่วยเท่ากับ 453.77 และ 445.69 ต่อประชากรแสนคน ตามลําดับ และในเดือน พบผู่ป่วยสูงสุดในเดือนตุลาคม จํานวนผู้ป่วย เท่ากับ 76 ราย โดยมีรายงานผู้ป่วยเดือน มกราคม 7 ราย กุมภาพันธ์ 9 ราย มีนาคม 6 ราย เมษายน 11 ราย พฤษภาคม 12 ราย มิถุนายน 19 ราย กรกฎาคม 31 ราย สิงหาคม 48 ราย กันยายน 30 ราย ตุลาคม 76 ราย และ พฤศจิกายน 8 ราย ซึ่งเข้าสู่ฤดูฝนแนวโน้มที่จะเกิดโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้นเพราะการที่ฝนตกจะทำให้เกิดน้ำขังตามพื้นที่ต่าง ๆเป็นผลให้ยุงลายสามารถมาวางไข่ไว้ที่ผิวน้ำนั้นๆ ได้ จนเกิดการแพร่กระจายยุงลาย และในเขตอำเภอเมืองพัทลุง พบว่า ตําบลที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุดคือ ตําบลนาท่อม อัตราป่วยเท่ากับ 548.87 ต่อประชากรแสนคน จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ 25 ราย และในเดือนตุลาคม ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาท่อม รายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 9 ราย และเดือนพฤศจิกายน 2 ราย ซึ่งเห็นได้ว่าแนวโน้มการเกิดโรคผู้ป่วยเพิ่มขึ้น ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาท่อม มุ่งหวังเพื่อเป็นการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก รวมทั้งเป็นการป้องกันและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย รวมถึงการกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออกในครัวเรือน หมู่บ้าน โรงเรียน และวัด ด้วยเหตุนี้การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้ง จากชุมชน โรงเรียน เทศบาลตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจ และทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายต่อเนื่อง

การส่งเสริมให้ประชาชนร่วมกันทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย

0.00 50.00
2 เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคที่นำโดยยุงลายเป็นพาหะในเขตเทศบาลตำบลนาท่อม

หมูบ้าน/ชุมชนสามารถควบคุมไข้เลือดออกได้ (ไม่มีผู้ป่วยรายใหม่ใน 28 วันหรือ 4 สัปดาห์ นับจากวันที่เริ่มป่วย

25.00 0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 40,170.00 0 0.00
4 ธ.ค. 66 เตือนภัยเฝ้าระวังพื้นที่ชุมชนไข้เลือดออก 0 3,000.00 -
6 ธ.ค. 66 รณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก 0 12,000.00 -
15 ธ.ค. 66 แต่งตั้งคณะกรรมการเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว ทีม SRRT 0 3,270.00 -
16 ธ.ค. 66 - 29 ก.พ. 67 ควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก 0 20,500.00 -
4 มี.ค. 67 ประชุมคณะกรรมการ SRRT ติดตามผลดำเนินงาน 0 1,400.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก 2.ประชาชนในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการป้องกันไข้เลือดออก 3.ความชุกของลูกน้ำ ยุงลาย ในชุมชนลดลง 4.ประชาชนร่วมกันทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ต.ค. 2566 14:54 น.