กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมพัฒนาศักยภาพ อสม.หมอประจำบ้าน ตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ประจำปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L5303-2-4
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) หมู่ที่ 5 ตำบลเจ๊ะบิลัง
วันที่อนุมัติ 26 ตุลาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2566 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 2 กันยายน 2567
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) หมู่ที่ 5 ตำบลเจ๊ะบิลัง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.687,99.965place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ต.ค. 2566 30 ก.ย. 2567 20,000.00
รวมงบประมาณ 20,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

“คนไทยทุกครอบครัวมีหมอประจำตัว 3 คน” กำลังเป็นเป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุขในยุคปัจจุบัน บ่งชี้เห็นถึงแนวทางการพัฒนาระบบสุขภาพของประเทศไทยที่จะต้องเดินไปในระยะอันสั้นนี้ เป็นแนวทางการพัฒนาที่ต่อยอดมาจากระบบบริการสุขภาพถ้วนหน้า ที่ปัจจุบันนี้ประชากรกว่า 99% ของประเทศสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพ ซึ่งถือกันว่าเป็นบันไดขั้นที่ 2 ของการบรรลุสุขภาพดีถ้วนหน้าอย่างยั่งยืน บันไดขั้นที่ 1 ที่ผ่านมาก่อนหน้านั้นคือการที่ประเทศมีระบบบริการสุขภาพที่ดีและเพียงพอ และบันไดขั้นที่ 3 ซึ่งเป็นขั้นสุดท้ายที่จะต้องไปให้ถึงคือการมีทีมหมอครอบครัวที่มีประสิทธิภาพที่กำลังพูดถึงอยู่นี้ แนวคิดของนโยบายนี้คือการต้องการออกแบบระบบบริการให้คนไทยทุกคน ทุกครอบครัวมีหมอดูแล ให้บริการในทุกระดับของการเจ็บป่วย ตั้งแต่การเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ ดูแลได้ภายในครอบครัว และชุมชน การเจ็บป่วยที่เพิ่มระดับความต้องการบริการสุขภาพและการแพทย์ขึ้นมาเล็กน้อย ต้องการการดูแลในสถานบริการปฐมภูมิใกล้บ้านในระดับตำบล และการเจ็บป่วยที่ต้องการการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาล หรือการดูแลในระดับอำเภอ ต่อไปถึงระดับจังหวัด โดยกำหนดหน้าตาของหมอทั้ง 3 คน “ได้แก่ หมอคนที่ 1 คือ อสม. ทำหน้าที่เป็นหมอประจำบ้าน อสม. 1 คน รับผิดชอบประชาชน 8- 15 หลังคาเรือน ให้การดูแลเบื้องต้น ทำหน้าที่หลักเชื่อมประสานกับหมอคน 2 และหมอคนที่ 3  หมอคนที่ 2 คือ หมอสาธารณสุข หมายถึงเจ้าหน้าที่ทุกคนที่ปฏิบัติหน้าที่ในสถานบริการปฐมภูมิ หมอคนที่ 3 คือ หมอเวชปฏิบัติครอบครัว หมายถึงบุคลากรในวิชาชีพแพทย์ที่ผ่านการเทรนเวชปฏิบัติ ซึ่งหมอทั้ง 3 คน เป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้นโยบายนี้เดินหน้าไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะ อสม. ซึ่งเป็นหมอคนที่1 เป็นหมอประจำบ้าน ที่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุดคือ จำเป็นจะต้องมีความรอบรู้มีศักยภาพเหมาะสมกับบทบาทใหม่ ที่จะนำสู่ความไว้วางใจ
    ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 5 ตำบลเจ๊ะบิลัง มีบทบาทในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.) ให้สามารถดูแลและมีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพของประชาชนในชุมชน ด้วยการเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ด้านสุขภาพ ให้บริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐานและเชื่อมประสานระหว่างหน่วยงานต่างๆในชุมชน เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพในชุมชน จึงมีนโยบายที่จะพัฒนาความรู้และทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงานจริงของ อสม. ตลอดจนพัฒนาระบบการเฝ้าระวังและดูแลผู้ป่วยด้วยโรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของชุมชน ให้สอดคล้องกับนโยบาย 3 หมอ โดยมีเป้าหมายที่จะดำเนินการอบรมฟื้นฟูพัฒนาศักยภาพ อสม.ซึ่งเป็นหมอ คนที่ 1 ในทุกชุมชนให้เป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในเรื่องที่เป็นปัญหาสาธารณสุขในชุมชน เพื่อนำไปถ่ายทอดความรู้ ให้บริการและประสานงานกับชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้จัดทำโครงการโครงการอบรมพัฒนาศักยภาพ อสม.หมอประจำบ้าน ตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ประจำปีงบประมาณ ๒๕67 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อทบทวนบทบาทและภารกิจของ อสม.ในการดูแลสุขภาพของประชาชนตามสภาพปัญหาสาธารณสุขที่ เปลี่ยนแปลงไป

จำนวน อสม.ที่เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆตามบทบาทภารกิจอย่างน้อยร้อยละ 90

2 2 เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะที่จำเป็นและเร่งด่วนของ อสม.ในการปฏิบัติงานที่เหมาะสมกับสภาพปัญหาสาธารณสุขของพื้นที่

1.จำนวน อสม.ที่เข้ารับการอบรม ร้อยละ 90 2.อสม.มีความรู้ในการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐานในเรื่องที่จำเป็นอย่างน้อยร้อยละ 80

3 3.เพื่อพัฒนาระบบการเฝ้าระวังและดูแลผู้ป่วยด้วยโรคที่เป็นปัญหาสำคัญของชุมชน

มีแผนปฏิบัติงานในการเฝ้าระวังและดูแลผู้ป่วยด้วยโรคที่เป็นปัญหาสำคัญของชุมชน

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 79 20,000.00 0 0.00
1 ต.ค. 66 - 30 ก.ย. 67 แต่งตั้งคณะทำงาน/ประชุมคณะทำงานทีมวิทยากร เพื่อกำหนดเนื้อหาการอบรม และแนวทางการดำเนินการ 26 650.00 -
1 ต.ค. 66 - 30 ก.ย. 67 อบรมฟื้นฟูศักยภาพและจัดทำแผนเฝ้าระวังสุขภาพประชาชนในพื้นที่จำนวน 2 วัน 53 19,350.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.อาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.) มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถถ่ายทอดความรู้ด้านสุขภาพแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    2.ชุมชนมีการจัดการระบบการเฝ้าระวังและดูแลโรคที่เป็นปัญหาสุขภาพของชุมชนได้ดียิ่งขึ้น     3. สามารถจัดการด้านสุขภาพในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาสุขภาพประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 พ.ย. 2566 10:42 น.