กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคปวดข้อยุงลาย ประจำปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L5246-2-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม. ตำบลท่าโพธิ์
วันที่อนุมัติ 1 พฤศจิกายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2566 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 195,950.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวิชาญ เกตุแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.796,100.416place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ต.ค. 2566 30 ก.ย. 2567 64,350.00
2 1 มี.ค. 2567 30 ก.ย. 2567 131,600.00
รวมงบประมาณ 195,950.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 7029 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์โรคไข้เลือดออกของ จ.สงขลา ตั้งแต่ 1 มกราคม 2566 – 20 พฤษภาคม 2566 มีจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ทั้งสิ้น 1,035 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 72.30 ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้เสียชีวิต 2 ราย อัตราตายต่อประชากรแสนคน เท่ากับ 0.14 อัตราผู้ป่วยตายเท่ากับร้อยละ 0.19 กลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือกลุ่มอายุ 5 - 9 ปี คิดเป็นอัตราป่วย 291.84 ต่อประชากรแสนคน รองลงมาคือ กลุ่มอายุ 10 - 14 ปี, 0 - 4 ปี โดยอำเภอที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุดคืออำเภอสะเดา อัตราป่วยเท่ากับ 138.58 ต่อประชากรแสนคน รองลงมาคืออำเภอจะนะ และอำเภอเมืองสงขลาตามลำดับ พื้นที่อำเภอสะเดา 6 ตำบล 7 หมู่บ้าน พบผู้ป่วยไข้เลือดออกรายตำบล ได้แก่ 1. ตำบลสะเดา พบผู้ป่วย จำนวน 36 ราย 2. ตำบลปาดังเบซาร์ พบผู้ป่วย จำนวน 22 ราย 3. ตำบลสำนักขามพบผู้ป่วย จำนวน 10 ราย 4. ตำบลสำนักแต้ว พบผู้ป่วย จำนวน 8 ราย 5. ตำบลปริก พบผู้ป่วย จำนวน 4 ราย และ 6. ตำบลท่าโพธิ์ พบผู้ป่วย จำนวน 4 ราย
    เนื่องจากสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ตำบลท่าโพธิ์มีฝนตกเป็นระยะ ๆ ประกอบกับมีนักเรียน นักศึกษา หรือแรงงานต่างพื้นที่ ที่เดินทางเข้ามาทำงานในพื้นที่โดยไม่มีการตรวจสอบโรค ทำให้มีปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคได้มากขึ้น ซึ่งถ้าไม่มีการป้องกันและควบคุมโรคอย่างเร่งด่วน อาจทำให้มีการระบาดมากยิ่งขึ้น ทำให้ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน ดังนั้น กลุ่ม อสม. ตำบลท่าโพธิ์ จึงมีความประสงค์ที่จะเสนอโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพธิ์ เพื่อจัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคปวดข้อยุงลายประจำปีงบประมาณ 2567 เพื่อป้องกันโรคล่วงหน้าและควบคุมโรคได้ทันท่วงทีที่เกิดโรค โดยอาศัยความร่วมมือทั้งจากภาคีเครือข่ายรวมทั้งภาคประชาชน ร่วมกันควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อนำโดยยุงลาย ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณต.ค. 66พ.ย. 66ธ.ค. 66ม.ค. 67ก.พ. 67มี.ค. 67เม.ย. 67พ.ค. 67มิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67ก.ย. 67
1 กิจกรรมที่ 1(1 ต.ค. 2566-30 ก.ย. 2567) 0.00                        
2 กิจกรรมที่ 2(1 มี.ค. 2567-30 ก.ย. 2567) 0.00                        
รวม 0.00
1 กิจกรรมที่ 1 กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
2 กิจกรรมที่ 2 กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกและโรคปวดข้อยุงลาย
  2. ประชาชนในพื้นที่ตำบลท่าโพธิ์เห็นความสำคัญของการป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคปวดข้อยุงลาย ให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วมในการสนับสนุนการดำเนินงานตามโครงการอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 พ.ย. 2566 13:54 น.