กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานความดันปีงบประมาณ 2560
รหัสโครงการ 60-L5209-1-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ท่าช้าง
วันที่อนุมัติ 26 มกราคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 19 มกราคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2560
งบประมาณ 36,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ น.ส.แพรวนภา ไชยภักดี
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาววารีญา บิลตาลี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าช้าง อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.048,100.378place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 180 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์และสาธารณสุขที่มีความทันสมัย อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงอันเกิดจากนโยบายการพัฒนาประเทศของรัฐบาลในแต่ละยุคแต่ละสมัย ตลอดจนการเข้าถึงบริการของรัฐ ยามเจ็บป่วยของประชาชนที่เสมอภาคและเท่าเทียมกันในโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า ทำให้สถานภาพด้านสุขภาพและแบบแผนพฤติกรรมการเจ็บป่วยของประชาชนเปลี่ยนไป จากสถิติปีงบประมาณ ปี ๒๕๕๙โรคความดันโลหิตสูง มีอัตราป่วยสงสูงสุด จํานวน ๖๐๒,๕๔๘ ราย อัตราป่วย ๙๓๗.๕๘ ต่อประชากรแสนคน รองลงมาคือ โรคเบาหวาน จํานวน ๓๓๖,๒๖๕ ราย อัตราป่วย ๕๒๓.๒๔ ต่อ ประชากรแสนคน โรค โรคหัวใจขาดเลือด จํานวน ๒๔,๕๘๗ ราย อัตราป่วย ๓๘.๒๖ ต่อประชากรแสนคน และโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน ๒๐,๖๕๗ ราย อัตราป่วย ๓๒.๑๗ ต่อประชากรแสนคนดังจะเห็นได้ จากการเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อที่เกิดจากตัวเชื้อโรค สิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมและสุขวิทยาส่วนบุคคลมีแนวโน้มลดลง แต่การเจ็บป่วยด้วยโรคที่ไม่ติดต่ออันเกี่ยวเนื่องมาจากพฤติกรรมและวิถีชีวิตกลับมีแนวโน้มสูงขึ้น เช่น การเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง โรคเบาหวานและอุบัติเหตุที่มีอัตราการเกิดโรคเพิ่มสูงขึ้นและเป็นสาเหตุการตายในอันดับต้นๆ ของประเทศ การคัดกรองและป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มีเป้าหมายสำคัญคือการสร้างสุขภาพที่ดีให้กับประชาชนและลดปัญหาค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในระยะยาว โดยใช้กระบวนการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคซึ่งจากปัญหาดังกล่าวหากประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตเป็นประจำทุกปีซึ่งเป็นวิธีการค้นหาผู้ป่วยในระยะเริ่มต้นทำให้กลุ่มป่วยได้เข้าสู่กระบวนการรักษา กลุ่มเสี่ยงได้เข้าสู่กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงแล้ว ยังเป็นการสร้างองค์ความรู้สำหรับผู้ป่วยและประชาชนทั่วไปให้รู้จักวิธีการปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องอันจะช่วยลดอัตราผู้ป่วยรายใหม่และลดความรุนแรงในกลุ่มผู้ป่วยคือการเกิดภาวะแทรกซ้อนด้วยโรคอื่นๆ ที่จะตามมาได้เป็นอย่างมากจากสถิติการคัดกรองโรคเรื้อรังของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าช้างปีงบประมาณ ๒๕๕๙ พบประชากรกลุ่มปกติ จำนวน ๓,๒๐๒ คนคิดเป็นร้อยละ๙๐.๓๗ กลุ่มเสี่ยงจำนวน ๓๑๙ คิดเป็นร้อยละ ๙.๐๓ กลุ่มป่วยจำนวน๒๒ คนคิดเป็นร้อยละ ๐.๖๒ คนดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าช้างและเครือข่ายสุขภาพภาคประชาชนตำบลท่าช้าง จึงได้จัดทำ “โครงการคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง”ขึ้น เพื่อสร้างความตระหนักในประชาชนกลุ่มเป้าหมายควบคู่กับการเพิ่มศักยภาพในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสม ส่งเสริมสุขภาพให้แข็งแรงสุขภาพจิตดีเพื่อป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ที่จะเกิดขึ้นต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงความดัน/เบาหวานเข้าสู่กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

๑. กลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นกลุ่มปกติมากขึ้น

2 ๒. เพื่อให้ความรู้กลุ่มเสี่ยงความดัน/เบาหวานให้รักสุขภาพ ใส่ใจ ๓ อ. ๒ ส.

๒. อัตราป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงลดลง

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. จัดทำโครงการและขออนุมัติ ๒. รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล ออกเป็น ๓ กลุ่ม คือ ๒.๑กลุ่มป่วย เข้าสู่กระบวนการรักษา ๒.๒ กลุ่มเสี่ยง เข้าสู่กระบวนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ๒.๓ กลุ่มปกติ เพื่อเข้าสู่กระบวนการรณรงค์ส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ ๓. การให้ความรู้ปรับเปลี่ยนส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโดยทีมสุขภาพ ๔.ประเมินผลการดำเนินงาน ๕. จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. กลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นกลุ่มปกติมากขึ้น ๒. อัตราป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงลดลง ๓. กลุ่มเสี่ยงมีความรู้สามารถปรับพฤติกรรมถูกต้อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 2560 13:52 น.