กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและชะลอภาวะไตวายเรื้อรังในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ปี 2567
รหัสโครงการ 67-L6895-06-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 6 การใช้เงินตามมติบอร์ด
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองกันตัง
วันที่อนุมัติ 13 กันยายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2566 - 30 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 สิงหาคม 2567
งบประมาณ 29,150.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ น.ส. ฉันทนา ทิ้งเหม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.41,99.519place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไตเรื้อรัง เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญของประเทศไทย มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นในแต่ละปี และเมื่อผู้ป่วยเข้าสู่ภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย การรักษาด้วยวิธีบำบัดทดแทนไต ซึ่งได้แก่ การล้างไตทางช่องท้อง การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม และการปลูกถ่ายไต มีค่าใช้จ่ายสูงมาก
และมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโดยรวม ปัจจุบันพบผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเรื้อรังกระจายอยู่ในชุมชน และหมู่บ้านทั่วประเทศ จึงถึงเวลาที่ทุกภาคส่วนร่วมมือผลักดันทศวรรษการป้องกันและชะลอภาวะไตเรื้อรัง เพื่อขับเคลื่อนและร่วมดำเนินการแก้ไขปัญหาโรคไตทุกระดับ ซึ่งจะเป็นพลังในการแก้ไขปัญหาโรคไตอย่างยั่งยืนได้ งบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นจึงมีความสำคัญยิ่งในการป้องกันและชะลอการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเรื้อรัง ให้มีจำนวนที่ลดลงได้ในอนาคต ศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองกันตัง ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว จึงจัดโครงการป้องกันและชะลอภาวะไตวายเรื้อรังในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ปี 2567 ขึ้นเพื่อให้ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมีความรู้ ความเข้าใจเกิดความตระหนักในการป้องกันและชะลอภาวะไตวายเรื้อรัง ป้องกันและชะลอการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเรื้อรังได้ในระดับหนึ่ง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมีความรู้ และตระหนักรู้ในการป้องกันและชะลอภาวะไตวายเรื้อรัง

 

2 เพื่อป้องกันและชะลอการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเรื้อรัง
  1. ร้อยละ 50 ของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เข้าร่วมกิจกรรมมีระดับ eGFR อยู่ในเกณฑ์ ≥60%
  2. ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจโครงการอยู่ในระดับมาก
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00
  1. ขั้นเตรียมการ 1.1 สำรวจหากลุ่มเป้าหมายที่ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มารับบริการที่คลินิก NCD เทศบาลเมืองกันตัง ที่มีค่า eGFR ≤60% โดยดูค่าระดับ eGFR จากผลการเจาะเลือดประจำปีของผู้ป่วยหรือการใช้แบบการประเมินโอกาสเสี่ยงโรคไตหรือการใช้ Thai CKD Risk Score ของคณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล 1.2 เสนอแผนงานเพื่อให้อนุกรรมการกลั่นกรองและเสนอต่อคณะกรรมการฯ เพื่อขออนุมัติงบประมาณ
    1.3 ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานตามโครงการ เช่น โรงพยาบาลกันตัง ทีมเครือข่ายสุขภาพอำเภอกันตัง เป็นต้น
  2. ขั้นดำเนินการ 2.1. ชี้แจงความสำคัญและความจำเป็นให้กลุ่มเป้าหมายทราบและเชิญชวนให้สมัครใจเข้ารับการอบรม 2.2 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการแก่กลุ่มเป้าหมายเพื่อให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพ สร้างความตระหนัก การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ การป้องกันโรคแทรกซ้อน พร้อมแบ่งกลุ่มเข้าฐานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การประเมินความเสี่ยงต่อภาวะไตวาย  การรับประทานอาหาร การใช้ยาอย่างเหมาะสม และออกกำลังกาย
    2.3. ติดตามผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มารับบริการคลินิกโรคเรื้อรัง เพื่อทบทวน เน้นย้ำการดูแล การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และช่วยประเมินและแก้ไขปัญหา 2.4. ประเมินความพึงพอใจในการดำเนินกิจกรรม
  3. ขั้นสรุปและรายงานผล 3.1 สรุปและรายงานผลการดำเนินงานแก่คณะกรรมการกองทุนฯ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง มีความรู้และตระหนักรู้ในการป้องกันและชะลอภาวะไตวายเรื้อรัง
  2. การเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเรื้อรังในพื้นที่/ชุมชน ลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 พ.ย. 2566 10:26 น.