กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังการระบาดของโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 67-L3013-05-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุข อบต.บานา
วันที่อนุมัติ 28 พฤศจิกายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 14 ธันวาคม 2566 - 30 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 19 กันยายน 2567
งบประมาณ 194,260.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมะรอสดี เงาะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายอับดุลกอเดร์ การีนา
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบานา อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ข้อมูลจากการเฝ้าระวังโรคทางระบาดวิทยา กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ณ วันที่ 26 สิงหาคม 2566 พบ ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสะสม 79,475ราย คิดเป็นอัตราป่วย 120.25ต่อแสนประชากร ผู้เสียชีวิต 73 รายคิดเป็น อัตราตาย 0.09 ต่อแสนประชากร สถานการณ์โรคไข้เลือดออก พ.ศ.2566 จำนวนผู้ป่วยมากกว่า พ.ศ.2565 ณ ช่วงเวลา เดียวกัน 3.7 เท่า มีแนวโน้มพบผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตเพิ่มสูงขึ้น สำหรับในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 12 ประกอบด้วย 7 จังหวัด คือ จังหวัดตรัง พัทลุง สตูล สงขลา ปัตตานี นราธิวาส และยะลา พบผู้ป่วยสะสม 2,884 ราย เสียชีวิต 4 ราย มีจังหวัดเข้าเกณฑ์เปิดศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน (EOC) ระดับจังหวัดแล้ว ได้แก่ สงขลา สตูล และนราธิวาส สำหรับสถานการณ์จังหวัดปัตตานี มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 3 มิถุนายน 2566 สะสมรวม 430 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 73.57 ต่อแสนประชากร ไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิต สำหรับตำบลบานา มีรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออก ตั้งแต่วันที่1 มกราคม- 20 พฤศจิกายน2566จำนวน 57 ราย เพศชาย29 รายเพศหญิง28ราย พบในเด็กนักเรียนจำนวน38รายและอาชีพอื่นๆ จำนวน19 ราย

ดังนั้น กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม จึงเล็งเห็นความสำคัญที่จะต้องดำเนินการจัดทำโครงการเฝ้าระวังการระบาดของโรคไข้เลือดออกเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่กำลังเป็นปัญหาของชุมชนในเขตพื้นที่และการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายด้วยความร่วมมือของประชาชนในชุมชนตำบลบานา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อหยุดยั้งการระบาดของโรคไข้เลือดออกที่กำลังเป็นปัญหาของชุมชน

บ้านเรือนหรือจุดพื้นที่ซึ่งมีการระบาดของไข้เลือดออกได้รับการพ่นสารเคมีกำจัดยุงลาย ร้อยละ 100 ของพื้นที่ซึ่งมีการระบาด

0.00
2 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายด้วยความร่วมมือของประชาชนในชุมชน

ไม่พบลูกน้ำยุงลายในภาชนะรองรับน้ำในบ้าน (Container Index=0) และบริเวณบ้าน (House Index=0)

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณธ.ค. 66ม.ค. 67ก.พ. 67มี.ค. 67เม.ย. 67พ.ค. 67มิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67
1 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ(14 ธ.ค. 2566-14 ธ.ค. 2566) 10,260.00                  
2 พ่นหมอกควันป้องกันยุงลายเพื่อเตรียมการรับการระบาดโรคไข้เลือดออก(14 ธ.ค. 2566-30 ส.ค. 2567) 157,650.00                  
3 กิจกรรมทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกนำ้ยุงลาย(14 ธ.ค. 2566-30 ส.ค. 2567) 26,350.00                  
รวม 194,260.00
1 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 36 10,260.00 0 0.00
14 ธ.ค. 66 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการแก่ทีมงานสำรวจ/ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย ทีมเยี่ยมบ้านผู้ป่วย ทีมสอบสวนควบคุมโรคเบื้องต้น ทีมพ่นสารเคมี และทีมปรับปรุงสิ่งแวดล้อม 36 10,260.00 -
2 พ่นหมอกควันป้องกันยุงลายเพื่อเตรียมการรับการระบาดโรคไข้เลือดออก กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 100 157,650.00 0 0.00
14 ธ.ค. 66 - 30 ส.ค. 67 ลงพ่นหมอกควันป้องกันยุงลายเพื่อเตรียมการรับการระบาดโรคไข้เลือดออก 100 157,650.00 -
3 กิจกรรมทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกนำ้ยุงลาย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 100 26,350.00 0 0.00
14 ธ.ค. 66 - 30 ส.ค. 67 ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกนำ้ยุงลาย 11 หมู่บ้าน 100 26,350.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ครัวเรือนที่มีการระบาดจากโรคไข้เลือดออกได้รับการเยี่ยมบ้าน สอบสวนโรคเบื้องต้น และดำเนินการพ่นหมอกควันทุกราย
  2. ทุกครัวเรือนได้รับการสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย ปรับปรุงสภาพแวดล้อมและไม่มีลูกน้ำยุงลาย
  3. ประชาชนในพื้นที่ไม่เป็นโรคไข้เลือดออก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 พ.ย. 2566 00:00 น.