กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาระบบบูรณาการป้องกันและควบคุมโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน รพ.สต.บ้านฝาละมี ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L3339-01-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านฝาละมี
วันที่อนุมัติ 13 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2566 - 31 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 15 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 37,350.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านฝาละมี
พี่เลี้ยงโครงการ นางวาลัยพร ด้วงคง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหารเทา อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 350 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1650 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
36.50
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง
36.50
3 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)
15.00
4 ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย
4.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(NCDs) เป็นกัญหาสาธารณสุขที่สำคัญทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยด้วยพบว่าอัตราชุกของโรคเหล่านี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆโดยเฉพาะโรคดบาหวานโรคความดันโลหิตสูงและโรคหลอดเลือดสมององค์การอนามัยโลก (WHO)รายงานว่า ในปี 2552 ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีจำนวน 108 ล้านคน เพิ่มขึ้นเป็น 422 ล้านคน ในปี 2557 มีผู้เสียชีวิตจากโรคเบาหวาน 1.5 ล้านคน นอกจากนี้ ยังพบว่าประชากรทั่วโลกที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ป่วยด้วยโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.7 เป็นร้อยละ 8.5 หรือเมื่อเปรียบเทียบแล้ว พบว่า ปัจจุบันประชากรวัยผู้ใหญ่ 1 ใน 11 คนป่วยเป็นโรคเบาหวาน จากการกำเนินงานเพื่อตอบสนอง Service Plan สาขาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในปีงบประมาณ 2566 พบว่า จังหวัดพัทลุง มีอัตราตายของผู้ป่วยเบาหวานร้อยละ 3.95 อำเภอปกพะยูน มีอัตราตาย ร้อยละ 4.39 และ มีแนวโน้มผู้ป่วยโรคเบาหวานสูงขึ้นทุกๆปี จากสถิติตั้งแต่ 2561 – 2566ความชุกของผู้ป่วยเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นดังนี้ 4.615, 5.158, 5.483, 5.481 ต่อแสนประชากร ตามลำดับเนื่องมาจากปัจจัยเสี่ยงที่คุกคามภาวะสุขภาพเช่นพฤติกรรมการดำรงชีวิตที่อาจทำให้เกิดความเครียด ภาวะโภชนาการเกินการขาดการออกกำลังกายจากสถิติการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของ รพ.สต.บ้านฝาละมีพบว่า ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป ที่ยังไม่เป็นเบาหวานจำนวน 1,615 คนได้รับการคัดกรองเจาะน้ำตาลปลายนิ้วจำนวน 1,521 คนคิดเป็นร้อยละ 94.18เป็นกลุ่มเสี่ยงจำนวน 537 คนพบผู้ป่วยรายใหม่จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 0.94ในส่วนของผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีจำนวน 87 คนคิดเป็นร้อยละ 49.15สำหรับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง พบว่า ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ยังไม่เป็นโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 1,396 คนได้รับการคัดกรอง จำนวน 1,305 คนคิดเป็นร้อยละ 93.48เป็นกลุ่มเสี่ยงจำนวน 537 คนพบผู้ป่วยรายใหม่จำนวน 6 คนคิดเป็นร้อยละ 7.32ในส่วนของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดีจำนวน 322 คน คิดเป็นร้อยละ 79.51 เพื่อให้การดำเนินงานการป้องกันและควบคุมจัดการงานโรคไม่ติดต่อเรื่อรัง NCDsเป็นไปอย่างต่อเนื่อง เราต้องอาศัยการทำงานร่วมกันของภาคีเครือข่ายสุขภาพรวมทั้งประชาชนเพื่อพัฒนาระบบบูรณาการการป้องกันและควบคุมจัดการโรคเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูงเพื่อลดอุบัติการณ์การเกิดผู้ป่วยรายใหม่ลดภาวะแทรกซ้อนจากโรครวมทั้งการลดอัตราตายจากภาวะแทรกซ้อนของโรคอีกด้วย ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านฝาละมีจึงจัดทำโครงการพัฒนาระบบบูรณาการป้องกันและควบคุมโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน รพ.สต.บ้านฝาละมี ปีงบประมาณ 2567 ขึ้นเพื่อกระตุ้นให้ประชาชนทั่วไปและผู้ป่วยมีความตระหนักและสร้างความรอบรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3 อ 2สเพื่อให้ประชาชนสามารถป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานลดลง

36.50 30.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงลดลง

36.50 30.00
3 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA) ลดลง

15.00 10.00
4 เพื่อแก้ปัญหาผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย

ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น  เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย ลดลง

4.00 2.50
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 37,350.00 0 0.00
1 ธ.ค. 66 - 31 ม.ค. 67 คัดกรองโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงในประชากรกลุ่มเป้าหมายในชุมชน 0 21,200.00 -
1 ธ.ค. 66 - 31 พ.ค. 67 กิจกรรมสร้างกระแสในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รักสุขภาพ 0 2,850.00 -
1 ธ.ค. 66 - 31 พ.ค. 67 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก3 อ. 2 ส.ในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง 0 2,850.00 -
1 ธ.ค. 66 - 31 มี.ค. 67 ติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้าน กลุ่มเสี่ยง/สงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง 0 0.00 -
1 ม.ค. 67 - 31 มี.ค. 67 ติดตามเจาะ FBS กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน 0 0.00 -
1 มี.ค. 67 - 31 พ.ค. 67 อบรมให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยเบาหวานและตรวจประเมินภาวะแทรกซ้อน 0 5,850.00 -
1 - 30 มิ.ย. 67 ติดตามสุขภาพกลุ่มเสี่ยง/สงสัยเป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานกิจกรรมรักษ์สุขภาพครั้งที่ 2 0 1,650.00 -
1 มิ.ย. 67 - 31 ส.ค. 67 สื่อสารความเสี่ยง ป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง 0 2,950.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ร้อยละของประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป ในเขตรับผิดชอบได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า ร้อยละ 95 2.ร้อยละประชากรกลุ่มเป้าหมายมีความเสี่ยงโรคเบาหวานลดลง 3.ร้อยละของผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 4.ร้อยละของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดีไม่น้อยกว่าร้อยละ 75

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2566 00:00 น.