กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคนำโดยยุงลายในชุมชน โรงเรียน และสถานประกอบการประจำปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L5251-1-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศรีประชาอุทิศ
วันที่อนุมัติ 15 พฤศจิกายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 12,970.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวพิชาภัค บุญมาศ/นางสาวสุรยานา สะมะแอ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสำนักขาม อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.584,100.382place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ยุงลายเป็นสัตว์พาหะนำโรคที่สำคัญ เพราะสามารถทำให้เกิดโรคในมนุษย์ได้ถึง 3 โรค คือโรคไข้เลือดออก
โรคไข้ปวดข้อยุงลาย (ชิคุนกุนยา) และโรคติดเชื้อไวรัสซิกา ดังนั้น การกำจัดยุงลาย จึงเป็นมาตรการควบคุมและป้องกันโรคที่สำคัญ         สถานการณ์โรคไข้เลือดออกจังหวัดสงขลา (ข้อมูล ตั้งแต่ 1 มกราคม – 6 กันยายน 2566) พบผู้ป่วยไข้เลือดออกจำนวน 4,112 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 287.54 ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้เสียชีวิตจำนวน 4 ราย กลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือกลุ่มอายุ 10-14 ปี อัตราป่วย 953.75 ต่อแสนประชากร รองลงมาอายุ 15-24 ปี อัตราป่วย 537.75 ต่อแสนประชากร และกลุ่มอายุ 25-34 ปี อัตราป่วย 247.58 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ อำเภอที่พบอัตราป่วยสูงสุด คือ อำเภอสะเดา อัตราป่วย 555.70 ต่อแสนประชากร (เป็นลำดับที่ 1 ของจังหวัดสงขลา) รองลงมา อำเภอเมืองสงขลา อัตราป่วย 358.13 ต่อแสนประชากร อำเภอหาดใหญ่ อัตราป่วย 354.07 ต่อแสนประชากร อำเภอเมืองสิงหนคร อัตราป่วย 324.21 ต่อแสนประชากร และอำเภอนาหม่อม อัตราป่วย 244.31 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ (ที่มา : สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา)
        อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ได้เกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง จากสถานการณ์การระบาดของโรค ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 – 28 สิงหาคม 2566 พบผู้ป่วยทั้งหมด 547 ราย อัตราป่วย 383.41 ต่อแสนประชากร โดยตำบลที่พบจำนวนผู้ป่วยสูงสุด คือ ตำบลสะเดา พบผู้ป่วยจำนวน 128 ราย อัตราป่วย 504.48 ต่อแสนประชากร รองลงมาตำบลปาดังเบซาร์ พบผู้ป่วยจำนวน 106 ราย อัตราป่วย 37.97 ต่อแสนประชากร ตำบลสำนักขาม พบจำนวนผู้ป่วย 87 ราย อัตราป่วย 611.90 ต่อแสนประชากร (อัตราป่วยสูงสุดของอำเภอ) ตำบลสำนักแต้ว พบจำนวนผู้ป่วย 81 ราย อัตราป่วย 568.02 ต่อแสนประชากร ตำบลปริก พบผู้ป่วยจำนวน 76 ราย อัตราป่วย 413.90 ต่อแสนประชากร ตำบลพังลา พบผู้ป่วยจำนวน 29 ราย อัตราป่วย 228.85 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ และอำเภอสะเดาเป็นหนึ่งในอำเภอที่กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เตรียมมาตรการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ในกรณีที่ประกาศเป็นพื้นที่ระบาดตามาตรา 9 ภายใต้ พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 (ที่มา : งานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสะเดา) จะเห็นได้ว่าตำบลสำนักขามเป็นตำบลที่มีอัตราป่วยสูงสุดของอำเภอสะเดา ซึ่งจากสถานการณ์มีแนวโน้มการระบาดของโรคติดต่อนำโดยยุงลายเพิ่มสูงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะช่วงฤดูฝน ที่มีฝนตกทำให้เกิดน้ำขังในภาชนะต่างๆ ซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลายพาหะนำโรคได้ ดังนั้นโรคที่ควรเฝ้าระวังเป็นพิเศษในช่วงนี้ คือ โรคที่มียุงลายเป็นพาหะเช่น โรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิกา และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย และการควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากชุมชน โรงเรียน สถานประกอบการ เทศบาลตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมให้คนในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีแก้ไข การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรค โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกันกระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ
        ด้วยเหตุนี้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศรีประชาอุทิศ จึงจัดทำโครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคนำโดยยุงลายในชุมชน โรงเรียน และสถานประกอบการ ประจำปี 2567 เพื่อควบคุมและป้องกันโรคล่วงหน้าและทันท่วงทีที่เกิดโรค โดยอาศัยความร่วมมือทั้งจากทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคเอกชน ร่วมกันรณรงค์ควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในชุมชนในหลากหลายรูปแบบ เช่น การรณรงค์ การร่วมมือกับโรงเรียน ชุมชน ภาคีเครือข่ายต่างๆ ในการรณรงค์การกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย การใช้วิธีทางธรรมชาติในการกำจัดลูกน้ำ และสำคัญที่สุดคือการรู้จักป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัด ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนมีความปลอดภัยต่อโรคที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อลดอัตราป่วยของโรคที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค

อัตราป่วยด้วยโรคที่มียุงลายเป็นพาหะลดลงร้อยละ 90

1.00
2 2. เพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลาย และยุงลายพาหะนำโรค
  • ในโรงเรียน สามารถกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในทุกโรงเรียนให้ครอบคลุมร้อยละ 90 โดยแต่ละโรงเรียนไม่พบภาชนะที่มีลูกน้ำยุงลาย (CI=0)
  • ในชุมชน สามารถกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในทุกครัวเรือนให้ครอบคลุมไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 โดยให้มีจำนวนบ้านที่พบลูกน้ำยุงลายไม่เกินร้อยละ 10 (ค่า HI ไม่เกิน 10 )
  • ในสถานประกอบการ สามารถกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายทุกแห่งให้ครอบคลุมร้อยละ 90 โดยแต่ละสถานประกอบการไม่พบภาชนะที่มีลูกน้ำยุงลาย (CI=0)
1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณเม.ย. 67พ.ค. 67มิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67ก.ย. 67
1 1.ขั้นเตรียมการ 1.1 เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติโครงการจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลสำนักขาม 1.2 จัดประชุมคณะกรรมการกองทุนฯ ผู้นำชุมชน อสม. โรงเรียน และภาคีเครือข่ายผู้เกี่ยวข้อง เพื่อชี้แจงสถานการณ์ และปรึกษาหารือร่วมกันในการดำเนินการต่างๆ ทั้ง(1 เม.ย. 2567-30 ก.ย. 2567) 0.00            
2 2.ขั้นดำเนินการ 2.1 ประชาสัมพันธ์ให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการป้องกันโรคที่มียุงลายเป็นพาหะ 2.2 จัดกิจกรรมรณรงค์ป้องกันควบคุมโรคที่มียุงลายเป็นพาหะ ในชุมชน โรงเรียน ศาสนสถาน สถานประกอบ และสถานที่ราชการ - รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและสำร(1 เม.ย. 2567-30 ก.ย. 2567) 0.00            
รวม 0.00
1 1.ขั้นเตรียมการ 1.1 เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติโครงการจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลสำนักขาม 1.2 จัดประชุมคณะกรรมการกองทุนฯ ผู้นำชุมชน อสม. โรงเรียน และภาคีเครือข่ายผู้เกี่ยวข้อง เพื่อชี้แจงสถานการณ์ และปรึกษาหารือร่วมกันในการดำเนินการต่างๆ ทั้ง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
2 2.ขั้นดำเนินการ 2.1 ประชาสัมพันธ์ให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการป้องกันโรคที่มียุงลายเป็นพาหะ 2.2 จัดกิจกรรมรณรงค์ป้องกันควบคุมโรคที่มียุงลายเป็นพาหะ ในชุมชน โรงเรียน ศาสนสถาน สถานประกอบ และสถานที่ราชการ - รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและสำร กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ลดอัตราป่วยจากโรคที่มียุงลายเป็นพาหะ และไม่มีรายงานอัตราการตายด้วยโรคที่มียุงลายเป็นพาหะ 2.สามารถป้องกัน และควบคุมการระบาดของโรคที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค 3.หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกระดับ ประชาชนในหมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 4 เห็นความสำคัญของปัญหา ให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วมในการสนับสนุนการดำเนินงานตามโครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคนำโดยยุงลายในชุมชน โรงเรียน และสถานประกอบการ ต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2566 10:16 น.