กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบริหารจัดการกองทุนและพัฒนาระบบการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพเทศบาลเมืองกันตัง ปี 2567
รหัสโครงการ 67-L6895-04-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
วันที่อนุมัติ 13 กันยายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 ตุลาคม 2566 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 139,320.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.41,99.519place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เริ่มดำเนินการตั้งแต่ได้มีประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์การบริหารส่วนตำบลหรือเทศบาล ดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2548 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการสร้างหลักประกันสุขภาพให้กับบุคคลในพื้นที่ ส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วม ตามความพร้อม ความเหมาะสม และความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นและกำหนดให้องค์การบริหารส่วนตำบลและเทศบาล ได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพ ที่เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพต่อการดำรงชีวิตในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์แห่ง พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พุทธศักราช 2550 โดยเน้นการให้บริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคและฟื้นฟูสมรรถภาพให้กับประชาชนทุกคน ซึ่งกิจกรรมหรือโครงการต่าง ๆ ที่ดำเนินการในกลุ่มเป้าหมายจะต้องผ่านการเห็นชอบ จากคณะกรรมการบริหารกองทุนสุขภาพที่ได้รับการแต่งตั้งขึ้น และการพิจารณางบประมาณต่าง ๆ นั้น สามารถสนับสนุนกิจกรรมใน 6 ลักษณะ คือ 1. สนับสนุนหน่วยบริการหรือสถานบริการหรือหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ 2. การสร้างเสริมสุขภาพโดยประชาชนและชุมชนท้องถิ่น/หน่วยงานอื่น 3. การสนับสนุนการดูแลเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
4. การบริหารจัดการกองทุน/พัฒนาศักยภาพกรรมการและพัฒนาระบบบริหารจัดการ 5. กรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ 6. การสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขตามมติคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
เทศบาลเมืองกันตังได้เข้าร่วมดำเนินการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นในปี พ.ศ. 2551 มีการประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน และกิจกรรมต่าง ๆ ตลอดจนการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนสุขภาพฯ และยังมีความจำเป็นในการพัฒนาและเสริมศักยภาพในการดำเนินงานกองทุนสุขภาพฯ สำนักงานเลขานุการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น เทศบาลเมืองกันตัง มีหน้าที่ในการให้การสนับสนุนทรัพยากรการบริหารจัดการ การพัฒนามาตรฐานแบบบริหารจัดการงานสารบรรณรวมทั้งการพัฒนาระบบบริหารจัดการงานการเงินและบัญชี งานพัสดุ การบริหารงบประมาณ การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ การบริหารทรัพยากรด้านบุคลากร ตลอดจนการติดตามควบคุมกำกับ ประเมินผลการ ดำเนินงานของหน่วยบริการ หรือสถานบริการ หรือหน่วยงานสาธารณสุข หรือหน่วยงานอื่น และกลุ่มหรือองค์กรประชาชน ซึ่งหน่วยงานสนับสนุนจำเป็นจะต้องมีระบบการบริหารจัดการที่ทันเวลาและมีประสิทธิภาพ ดังนั้น สำนักงานเลขานุการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น เทศบาลเมืองกันตัง จึงได้จัดทำโครงการบริหารจัดการฯ ขึ้น เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของสำนักงานเลขานุการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น เทศบาลเมืองกันตัง และเพื่อให้การดำเนินงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตลอดจนเกิดประโยชน์ต่อประชาชนในพื้นที่เทศบาลเมืองกันตัง ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในแนวทางการพัฒนาสุขภาพประชาชนแก่คณะกรรมการบริหารกองทุนฯคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน และภาคีเครือข่ายสุขภาพต่างๆ เช่น โรงพยาบาล โรงเรียน องค์กร/หน่วยงาน ชุมชน ชมรมต่าง ๆ เป็นต้น

 

2 เพื่อเสริมศักยภาพการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล

ร้อยละ 100 มีการประเมินผลการบริหารจัดการกองทุนตามแบบประเมินที่กำหนดเพื่อการพัฒนากองทุน 1 ครั้ง/ปี

3 เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการปฏิบัติงานของกองทุนสุขภาพฯ ให้มีประสิทธิภาพ

ร้อยละ 100 มีการประชุมกรรมการบริหารกองทุนฯ/อนุกรรมการกองทุนฯ อย่างน้อย 3 ครั้ง/ปี มีการประชุมคณะทำงานติดตามประเมินผลอย่างน้อย 2 ครั้ง/ปี และมีการประชุมคณะอนุกรรมการ LTC อย่างน้อย 2 ครั้ง/ปี

4 เพื่อกำกับดูแลให้หน่วยงาน หรือกลุ่มหรือองค์กรผู้ที่ได้รับอนุมัติงบประมาณ ให้เป็นไปตามแผนงาน โครงการที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ และตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพกำหนด

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในแนวทางการพัฒนาสุขภาพประชาชนแก่คณะกรรมการบริหารกองทุนฯคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน และภาคีเครือข่ายสุขภาพต่างๆ เช่น โรงพยาบาล โรงเรียน องค์กร/หน่วยงาน ชุมชน ชมรมต่าง ๆ เป็นต้น

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อเสริมศักยภาพการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการปฏิบัติงานของกองทุนสุขภาพฯ ให้มีประสิทธิภาพ

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 4 : เพื่อกำกับดูแลให้หน่วยงาน หรือกลุ่มหรือองค์กรผู้ที่ได้รับอนุมัติงบประมาณ ให้เป็นไปตามแผนงาน โครงการที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ และตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพกำหนด

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

23 พ.ย. 66 - 6 ก.ย. 67 ประชุมอนุกรรมการกองทุนฯ 0.00 2,970.00 -
27 ธ.ค. 66 ประชุมคณะกรรมการกองทุนฯ ครั้งที่ 1/2567 21.00 9,030.00 -
31 ม.ค. 67 ประชุมคณะติดตามประเมินผลกองทุนฯ ครั้งที่ 1/2567 8.00 1,840.00 -
23 พ.ย. 66 ประชุมอนุกรรมการกองทุนฯ ครั้งที่ 1/2567 9.00 2,970.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

  1. กิจกรรมประชุมพัฒนาศักยภาพแก่กลุ่มเป้าหมาย 1.1 ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 1.2 จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย
  2. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 2.1 ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2.2 เตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ 2.3 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการในการจัดทำแผนสุขภาพกองทุนฯ การเขียนโครงการ/การสรุปโครงการ เป็นต้น 2.4 ประเมินความพึงพอใจผู้เข้ารับการอบรม
  3. กิจกรรมประชุมคณะกรรมการ/คณะทำงานต่างๆ ของกองทุนสุขภาพฯ
    3.1 ประชุมวางแผน กำหนดร่างวาระในการประชุม จำนวนคณะกรรมการบริหาร คณะอนุกรรมการ คณะอนุกรรมการ LTC และคณะทำงาน กำหนดวันประชุมตลอดปีงบประมาณ 3.2 ติดต่อประสานงานกับคณะกรรมการบริหารฯ คณะอนุกรรมการคณะอนุกรรมการ LTC คณะทำงาน และผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดนัดหมายการประชุมและส่งเอกสารเพื่อพิจารณาก่อนการประชุม 3.3 จัดเตรียมสถานที่ในการประชุม เตรียมเอกสารการประชุม
    3.4 ดำเนินการจัดประชุมตามแผนงานและวาระที่กำหนดโดยจัดประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ คณะอนุกรรมการกองทุนอย่างน้อย 4 ครั้ง/ปี จัดประชุมคณะทำงานติดตามประเมินผลอย่างน้อย 3 ครั้ง/ปี และคณะอนุกรรมการ LTC อย่างน้อย 2 ครั้ง/ปี 3.5 จัดทำรายงานการประชุม
  4. จัดซื้อวัสดุ /ครุภัณฑ์ อุปกรณ์ประกอบการดำเนินงาน จัดจ้างทำสื่อประชาสัมพันธ์/สื่อวิดีทัศน์กองทุน
  5. สำรวจความพึงพอใจ และการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ต่อการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ
  6. การเดินทางไปราชการ/ประชุม/อบรมของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทำงานและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง การปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ พร้อมสรุปและบันทึกผลการประชุม
  7. สรุปผล/รายงานผลการดำเนินโครงการต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กระบวนการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพมีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผล
  2. แผนงาน หรือโครงการ หรือกิจกรรมที่ผ่านการอนุมัติเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
  3. การรับเงินการจ่ายเงินการเก็บรักษาเงินและการจัดทำบัญชีเงินหรือทรัพย์สินในกองทุนหลักประกันสุขภาพ เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด
  4. คณะกรรมการฯ สามารถเข้าใจในแนวทางบริหารกองทุนฯ สามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  5. เกิดการดำเนินงานอย่างบูรณาการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์กร หน่วยงาน ชุมชนชมรมต่างๆ ให้มีความเข้มแข็ง
  6. มีแผนสุขภาพ/แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ของกองทุนสุขภาพฯ เพื่อใช้เป็นแนวทางบริหารกองทุนฯ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 พ.ย. 2566 13:27 น.