กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานและการใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ ประจำปี 2567
รหัสโครงการ 2567 – L6896 – 01 – 06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานส่งเสริมสุขภาพ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครตรัง
วันที่อนุมัติ 16 พฤศจิกายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 99,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอาธร อุคคติ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.559,99.616place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภาวะหัวใจหยุดเต้นและหรือหยุดหายใจเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest: CA) เป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์  มีความเสี่ยงสูงต่อการเสียชีวิตส่วนใหญ่เกิดจาก 2 สาเหตุหลักคือจากโรคหัวใจขาดเลือด (Cardiac Cause) จากการมีโรคหัวใจอยู่เดิมซึ่งมักพบในผู้ป่วยที่อายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป มักพบว่ามีหัวใจเต้นผิดปกติชนิดที่สั่นพลิ้วไม่มีแรงบีบตัวเพื่อให้เลือดออกจากหัวใจ (Ventricular Fibrillation: VF) สาเหตุที่ 2 คือ การขาดออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายจากอุบัติเหตุต่างๆมักเกิดเหตุนอกโรงพยาบาล (Out-of-Hospital Cardiac Arrests: OHCA) เช่นใน ปี พ.ศ.2557 ในอเมริกา มีผู้ป่วยภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันนอกโรงพยาบาล จำนวน 424,000 คน มีอัตราการเสียชีวิตทั้งนอกและในโรงพยาบาล      จากกล้ามเนื้อหัวใจตาย ประมาณร้อยละ 50 ในประเทศไทย มีผู้ป่วย OHCA โดยประมาณคือ 0.5-1.0 ต่อ 1,000 รายต่อปี เสียชีวิตจากโรคหัวใจขาดเลือดและอุบัติเหตุจราจร และคาดการณ์ได้ว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีอัตราป่วยและอัตราตายด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้น โดยพบอัตราตายจากโรคหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน จาก 20.25 คนต่อแสนประชากร เป็น 27.83 คนต่อแสนประชากร ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันมีโอกาสเสียชีวิตในไม่กี่นาทีภายหลังหัวใจหยุดเต้น การเริ่มกดนวดหน้าอกโดยเร็ว มีผลต่อการกลับมาเต้นของหัวใจ ผู้พบเห็นคนแรกที่เริ่มทำการฟื้นคืนชีพเร็ว มีความสัมพันธ์  กับอัตรารอดชีวิตที่เพิ่มขึ้น ตามหลักการห่วงโซ่ของการอยู่รอด (.Chain.of.Survival.).ปี พ.ศ.2558.สมาคมโรคหัวใจ    แห่งอเมริกา (American Heart Association: AHA) ให้ข้อเสนอแนะว่าบุคคลแรกที่ไม่ใช่บุคลากรทางการแพทย์ (Bystander) ที่พบเห็นเหตุการณ์ มีบทบาทสำคัญใน 3.ห่วงแรกของการช่วยชีวิต คือ 1).เมื่อพบผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นโทรแจ้งหน่วยฉุกเฉินทันที 2).เริ่มกดนวดหน้าอก (Chest Compression) ให้เร็วภายในเวลา.4.นาที และ 3) กระตุ้นหัวใจด้วยเครื่องไฟฟ้าแต่พบว่าผู้ป่วย OHCA.ได้รับการช่วยฟื้นคืนชีพโดยผู้พบเห็นคนแรกค่อนข้างน้อย อัตราการรอดชีวิตจนออกจากโรงพยาบาลค่อนข้างต่ำ    คือประมาณร้อยละ 7.6-7.9 เท่านั้น การให้คำแนะนำการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานจึงมีความสำคัญมากเนื่องจากช่วยเพิ่มจำนวนการช่วยฟื้นคืนชีพจากผู้พบเห็นคนแรกทำให้เริ่มการกดนวดหน้าอกครั้งแรกเร็วขึ้น นำไปสู่การมีชีวิตรอดที่เพิ่มขึ้น
จากการที่เทศบาลนครตรังมีครุภัณฑ์วิทยาศาสตร์หรือการแพทย์เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ และจากการสนับสนุนเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ จากหน่วยงานอื่นๆ ที่มาติดตั้งในพื้นที่สาธารณะ ในเขตเทศบาลนครตรัง ซึ่งมีประชาชนมาใช้บริการในสถานที่สาธารณะเป็นจำนวนมาก ได้แก่ สนามกีฬาเทศบาลนครตรัง,ชมรมเทนนิสเทศบาลนครตรัง(สนามกีฬาทุ่งแจ้ง), สวนสาธารณะสมเด็จพระศรีนครินทร์ 95 (เขาแปะช้อย), อนุสาวรีย์พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี และสวนสาธารณะสระกะพังสุรินทร์ งานส่งเสริมสุขภาพ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครตรังเห็นความสำคัญ  จึงจัดการอบรมการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน เพื่อการช่วยเหลือผู้ป่วยในภาวะวิกฤต และสอนการใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ ให้ข้าราชการ,พนักงาน,ลูกจ้าง เทศบาลนครตรัง, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, ผู้ดูแลเครื่อง นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย.และประชาชนทั่วไปให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในการช่วยชีวิตเบื้องต้น สามารถใช้เครื่องฯ.ช่วยเหลือผู้ที่ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันได้อย่างปลอดภัยและทันท่วงที

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะเรื่องการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน.และการใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ.

ผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะเรื่องการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน  และการใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติเพิ่มขึ้น ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรม

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 ม.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมอบรมให้ความรู้และสาธิต 0 99,800.00 -
รวม 0 99,800.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน
  2. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ
  3. ผู้เข้ารับการอบรมมีทักษะการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานได้อย่างถูกต้อง
  4. ผู้เข้ารับการอบรมสามารถใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติได้อย่างถูกต้อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 พ.ย. 2566 15:34 น.