กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการนครตรังรณรงค์คัดกรองสายตาและสุขภาพผู้สูงอายุ
รหัสโครงการ 2567 – L6896 – 01 – 07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานส่งเสริมสุขภาพกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครตรัง
วันที่อนุมัติ 16 พฤศจิกายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2566 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 240,312.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอาธร อุคคติ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.559,99.616place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สังคมผู้สูงอายุ (Ageing Society) เป็นแนวโน้มที่ทุกชาติทั่วโลกหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยองค์การสหประชาชาติคาดการณ์ไว้ว่าทั่วโลกจะมีประชากรที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ถึง 1,200 ล้านคนในปี พ.ศ. 2568 และ 2,000 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2593 หรือคิดเป็นร้อยละ 20 ของประชากรโลกทั้งหมด สำหรับประเทศไทยในปี พ.ศ. 2563 มีประชากรผู้สูงอายุสูงถึงร้อยละ 18.24 ของประชากรทั้งประเทศ และมีแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของประชากรผู้สูงอายุร้อยละ 3.6 ต่อปี
(คิดเป็น 400,000 คนต่อปี) ซึ่งตามการคาดประมาณการประชากรประเทศไทยของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2562) คาดการณ์ว่า ในปี พ.ศ. 2566 จะมีประชากรผู้สูงอายุสูงถึงร้อยละ 20.66 ของประชากรทั้งประเทศ และในปี พ.ศ. 2578 จะมีประชากรผู้สูงอายุสูงถึงร้อยละ 28.55 ของประชากรทั้งประเทศ การเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของผู้สูงอายุ จำนวนวัยทำงานและวัยเด็กแรกเกิดลดลงย่อมส่งผลกระทบต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศไทย
จากข้อมูลสถิติประชากรงานทะเบียนราษฎร์ เทศบาลนครตรัง ณ เดือนกันยายน 2566 พบว่ามีประชากรในพื้นที่เขตเทศบาลนครตรัง ทั้งหมด 54,887.คน โดยมีกลุ่มประชากรที่มากที่สุดแบ่งเป็น 3 อันดับดังนี้ อันดับหนึ่ง ได้แก่ กลุ่มวัยผู้ใหญ่ ร้อยละ 52.85 อันดับสอง กลุ่มวัยผู้สูงอายุ ร้อยละ 21.39 อันดับสาม กลุ่มวัยรุ่น ร้อยละ 19.78 ซึ่งขณะนี้เทศบาลนครตรังได้เข้าสู่การเป็น“สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์”เป็นที่เรียบร้อยแล้ว.และคาดการณ์ว่าอีก 10.ปีข้างหน้าจะมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 14.09
เทศบาลนครตรังตระหนักและให้ความสำคัญกับการดูแลผู้สูงอายุแบบองค์รวม โดยมีนโยบายด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุทุกกลุ่ม ซึ่งนโยบายสำคัญคือ การทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่แข็งแรง ชะลอการเกิดโรค และความเจ็บป่วยจนต้องอยู่ในภาวะพึ่งพิง เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพดี ดูแลตนเองได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี ปัญหาเรื่องสายตาที่เกิดขึ้นในผู้สูงอายุก็เป็นปัญหาหนึ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ดวงตาเริ่มเสื่อมตามอายุตั้งแต่วัยผู้ใหญ่อายุ 40 ปีขึ้นไป ยิ่งอายุมากขึ้นจะพบความเสื่อมและโรคตาได้มากตามวัย จึงควรระวังใส่ใจรักษาสุขภาพตา เพื่อป้องกันไม่ให้สุขภาพดวงตาเสื่อมโทรมจนเสี่ยงต่อการเกิดโรคตาชนิดต่างๆ ทั้งที่มีระดับความรุนแรงน้อย ไปจนถึงระดับความรุนแรงมากที่อาจนำไปสู่การตาบอด
งานส่งเสริมสุขภาพ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ตระหนักและให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพดวงตาของผู้สูงอายุ จึงได้ดำเนินการประสานงานขอข้อมูลสถิติปี 2566 ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่แผนกตาผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลตรัง ซึ่งพบข้อมูลโรคตา 10 อันดับโรคที่เข้ารับการรักษามากที่สุด ตามรายละเอียด ดังนี้ 1. โรคตาที่พบเบาหวานชนิดที่ไม่ต้องพึ่งอินซูลิน ไม่มีภาวะแทรกซ้อน จำนวน 2,904 ราย 2. ต้อกระจกในวัยชราที่มีสาเหตุมาจากการเสื่อมสภาพของแก้วตา จำนวน 2,126 ราย 3. ต้อหินมุมเปิด จำนวน 1,812 ราย 4. เลนส์ตาเทียม จำนวน 1,541 ราย 5. เบาหวานชนิดที่ไม่ต้องพึ่งอินซูลิน ร่วมกับภาวะแทรกซ้อนทางตา จำนวน 1,435 ราย 6. ต้อเนื้อ จำนวน 1,343 ราย 7.การติดตามดูแลทางศัลยกรรมอื่นๆ จำนวน 1,136 ราย 8. เบาหวานขึ้นตาระยะแรก จำนวน 1,028 ราย 9. ระยะแรกการเกิดจอประสาทตาเสื่อม หรือประสาทตาถูกทำลาย จำนวน 959 ราย 10. ต้อกระจกในวัยชรา จำนวน 687 ราย
จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้นพบว่าจังหวัดตรัง พบผู้ที่ความผิดปกติทางด้านดวงตาเป็นจำนวนมาก ร่วมกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เป็นสาเหตุส่วนหนึ่งของการเกิดความผิดปกติของดวงตา สำหรับสายตาและการมองเห็นถือเป็นเรื่องสำคัญของบุคคล โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ หากผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองการมองเห็น การตรวจหาความผิดปกติของการมองเห็น หรือคัดกรองพบโรคทางดวงตา ร่วมกับการคัดกรองภาวะสุขภาพเบื้องต้น สามารถช่วยให้ผู้สูงอายุได้รับการแก้ไขปัญหา และได้รับการส่งต่อพบแพทย์โดยเร็ว ช่วยลดผลกระทบต่อสุขภาพและช่วยให้การดำรงชีวิตของผู้สูงอายุดีขึ้น ร่วมกับการมีนโยบายขับเคลื่อนการมอบของขวัญปีใหม่แก่ผู้สูงอายุของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งกำหนดให้ปี 2566 เป็นปีแห่งสุขภาพสูงวัยไทย และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้รับนโยบายเพื่อร่วมขับเคลื่อนบริการแว่นตาสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อให้การดำเนินงานดังกล่าวเป็นไปตามนโยบาย โดยผู้จัดโครงการเสนอขอรับงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครตรัง ในการขับเคลื่อนงานตามนโยบายต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการได้รับการคัดกรองสุขภาพ และคัดกรองสายตา เพื่อค้นหาความผิดปกติในระยะเริ่มแรก หรือระยะที่ยังไม่แสดงอาการ

ร้อยละ 90 ของผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการได้รับการคัดกรองสุขภาพ และคัดกรองสายตา และได้รับการส่งต่อพบแพทย์ในรายที่พบความผิดปกติของดวงตา

2 เพื่อให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ได้รับการคัดกรองสายตาแล้วพบความผิดปกติที่เกี่ยวกับสายตา ได้รับการแก้ไขด้วยแว่นสายตา

ร้อยละ 90 ของผู้สูงอายุพบความผิดปกติที่เกี่ยวกับสายตา ได้รับการแก้ไขด้วยแว่นสายตา

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อให้ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการได้รับการคัดกรองสุขภาพ และคัดกรองสายตา เพื่อค้นหาความผิดปกติในระยะเริ่มแรก หรือระยะที่ยังไม่แสดงอาการ

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ได้รับการคัดกรองสายตาแล้วพบความผิดปกติที่เกี่ยวกับสายตา ได้รับการแก้ไขด้วยแว่นสายตา

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

1 พ.ย. 66 - 30 ก.ย. 67 ประชุมคณะทำงานวางแผนคัดเลือกกลุ่มผู้สูงอายุ ในการตรวจคัดกรองสายตา ร่วมกับการคัดกรองภาวะสุขภาพ และการพิจารณาคัดเลือกผู้สูงอายุที่มีคุณสมบัติตัดแว่นสายตา 0.00 850.00 -
1 ธ.ค. 66 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมการตรวจคัดกรองสายตา และการคัดกรองสุขภาพ (ตรวจน้ำตาลในเลือด และความดันโลหิต) และแก้ไขปัญหาสายตากลุ่มผู้สูงอายุที่พบปัญหาสายตา 0.00 239,462.00 -
1 ธ.ค. 66 - 30 ก.ย. 67 ประชุมคณะทำงานวางแผนคัดเลือกกลุ่มผู้สูงอายุ ในการตรวจคัดกรองสายตา ร่วมกับการคัดกรองภาวะสุขภาพ และการพิจารณาคัดเลือกผู้สูงอายุที่มีคุณสมบัติตัดแว่นสายตา 0.00 850.00 -
1 ธ.ค. 66 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมการตรวจคัดกรองสายตา และการคัดกรองสุขภาพ (ตรวจน้ำตาลในเลือด และความดันโลหิต) และแก้ไขปัญหาสายตากลุ่มผู้สูงอายุที่พบปัญหาสายตา 0.00 239,462.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองสุขภาพ และการตรวจคัดกรองสายตา
  2. ผู้สูงอายุที่ได้รับการคัดกรองสายตาแล้วพบความผิดปกติที่เกี่ยวกับสายตา ได้รับการแก้ไขด้วยแว่นสายตา
  3. ผู้สูงอายุที่ได้รับการคัดกรองสายตาแล้วพบความผิดปกติที่เกี่ยวกับโรคของดวงตาได้รับการส่งต่อเพื่อพบแพทย์เฉพาะทางโดยเร็ว
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 พ.ย. 2566 09:12 น.