กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพในเด็กพิเศษศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสตูล
รหัสโครงการ L5300-67-3-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสตูล
วันที่อนุมัติ 23 พฤศจิกายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 71,915.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางปฏิมา จ่าพันธุ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสตูล/ ทะเลบัน
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละคนพิการที่เข้าถึงบริการฟื้นฟูสมรรถภาพ
50.00
2 ร้อยละของผู้ดูแลหรือญาติสามารถให้การดูแลผู้พิการได้
84.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสตูล เป็นหน่วยงานที่ให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มแก่เด็กพิการตั้งแต่แรกเกิด หรือแรกพบความพิการโดยมีเป้าหมายในการพัฒนาเด็กพิการให้มีพัฒนาการด้านร่างกายอารมณ์จิตใจสังคม และสติปัญญาที่เหมาะสมกับวัย ความสามารถและความแตกต่างระหว่างบุคคล เป็นการเตรียมความพร้อมที่จะเรียนรู้และสร้างรากฐานชีวิตให้พัฒนาเด็กไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์เป็นคนดีมีวินัยและอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขในปัจจุบันสังคมไทยมุ่งเน้นการจัดระบบสวัสดิการต่าง ๆ ให้แก่ประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายโดยรัฐอย่างเท่าเทียมและทั่วถึงมีการขับเคลื่อนการดำเนินการด้านกฎหมาย นโยบาย แผนงานต่าง ๆ แก่กลุ่มเป้าหมายเด็กพิเศษมากขึ้น หากแต่ในความเป็นจริงเราคงไม่สามารถปฏิเสธได้ว่ายังมีจำนวนเด็กพิเศษอีกไม่น้อยที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการต่าง ๆ ของรัฐได้อย่างทั่วถึงในทุกระดับสังคม ซึ่งจากปัญหาดังกล่าวส่งผลให้ เด็กพิเศษส่วนใหญ่ยังขาดการฟื้นฟูในทุกด้านขาดโอกาสในการเรียนรู้สู่สังคมภายนอก อันเนื่องมาจากครอบครัวเด็กพิเศษขาดความกล้าและขาดความมั่นใจในการพาเด็กพิเศษเหล่านั้นออกสู่สังคมภายนอกที่นอกเหนือจากบ้านพักและชุมชนในครอบครัวตัวเอง อีกทั้งสังคมส่วนใหญ่ ยังขาดความเข้าใจ และขาดการยอมรับเด็กพิเศษเท่าที่ควร ซึ่งส่งผลให้เด็กพิเศษเหล่านั้นไม่ได้รับการพัฒนาและฟื้นฟูในด้านต่าง ๆ อย่างเหมาะสมกับช่วงวัยของเขาแต่ละบุคคลขาดทักษะการดำรงชีวิตจากประสบการณ์จริงในการเสริมสร้างประสบการณ์ชีวิตใหม่ๆเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน รวมทั้งขาดกระบวนการเรียนรู้ในการเข้าสู่สังคม “ครอบครัวเด็กพิเศษ” เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อพัฒนาการของเด็กพิเศษหากครอบครัวเหล่านี้ได้มีโอกาสเรียนรู้กระบวนการพัฒนาเด็กพิเศษจากโลกภายนอกและจากประสบการณ์เรียนรู้ จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ย่อมส่งผลให้ครอบครัวเกิดกระบวนการเรียนรู้ มีความรู้ความเข้าใจ และมีทัศนคติที่ดี
ต่อเด็กพิเศษมากขึ้นและหากเด็กพิเศษเองได้มีกระบวนการเรียนรู้ทักษะต่างๆ อย่างถูกต้องและเหมาะสม ย่อมส่งผลให้พวกเขาเหล่านั้นได้รับโอกาสในการพัฒนาและเรียนรู้อย่างรอบด้านเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ ยังพบว่ามีกลุ่มครอบครัวเด็กพิเศษที่ยังขาดโอกาสในการมีส่วนเข้าร่วมกิจกรรมและขาดโอกาส ในการเข้าถึงแหล่งความรู้และการเรียนรู้ประสบการณ์ชีวิตใหม่ๆตลอดจนได้รับโอกาสในการเข้าร่วมกิจกรรมสร้างเสริมการเรียนรู้ของเด็กและครอบครัวได้อย่างทั่วถึงอีกด้วย ดังนั้นศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสตูลตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญของเด็กพิเศษ ทั้ง ๙ ประเภทความพิการซึ่งเป็นเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าทุกด้านและมีปัญหาทางด้านสุขภาพดังนั้นจึงควรเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ของครอบครัวเด็กพิเศษอย่างถูกต้องและเหมาะสม ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสตูลจึงขอเสนอ“โครงการส่งเสริมสุขภาพในเด็กศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสตูล” ขึ้นเพื่อให้เด็กพิเศษและครอบครัวเด็กพิเศษได้เกิดกระบวนการเรียนรู้อย่างรอบด้านและเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวในการดูแลเด็กพิเศษต่อไปโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชน และสังคม ร่วมกันพัฒนาเด็กพิการให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข จากโครงการส่งเสริมสุขภาพในเด็กพิเศษศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสตูล ในปีงบประมาณ
ที่ผ่านมา ส่งผลให้ผู้ปกครองและเด็กพิเศษของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสตูล ให้ความสนใจและได้รับความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพอนามัย ได้รับสื่อ สิ่งอำนวยความสะดวกและความช่วยเหลือตรงตามความต้องการจำเป็นพิเศษ ส่งผลให้เด็กพิเศษมีพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญาที่สมวัยมากยิ่งขึ้น และครอบครัวเด็กพิเศษศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสตูล มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ร่วมกันกับครอบครัวอื่นๆเป็นการเสริมกำลังใจที่ดีซึ่งกันและสร้างสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัวดังนั้นศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสตูล ได้เห็นความสำคัญของโครงการดังกล่าวจึงขอเสนอโครงการส่งเสริมสุขภาพในเด็กพิเศษศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสตูล เพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา อย่างต่อเนื่อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มคนพิการที่เข้าถึงบริการฟื้นฟูสมรรภาพ

ร้อยละของคนพิการที่เข้าถึงบริการฟื้นฟู

50.00 65.00
2 เพิ่มศักยภาพผู้ดูแลหรือญาติสามารถดูแลคนพิการ

ร้อยละของผู้ดูแลหรือญาติสามารถให้การดูแลผู้พิการได้

84.00 96.40
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 71,915.00 0 0.00
1 ม.ค. 67 - 31 มี.ค. 67 จัดอบรมให้ความรู้การดูแลและส่งเสริมสุขภาพอนามัยในเด็กพิการ และตรวจสุขภาพให้กับเด็กพิการ 0 27,700.00 -
1 - 30 มิ.ย. 67 จัดกิจกรรมค่ายสานสัมพันธ์เสริมสร้างพัฒนาการเด็กพิการ 0 44,215.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลผลิต
1.เด็กพิเศษและผู้ปกครองกลุ่มเป้าหมายได้รับการดูแลส่งเสริมสุขภาพและป้องกันปัญหาสุขภาพทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคมและจิตใจโดยผ่านกระบวนการเรียนรู้จากกิจกรรม ร้อยละ ๑๐๐
2.เด็กพิเศษ ตามกลุ่มเป้าหมายมีสุขนิสัยในการดูแลสุขภาพและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ มีสุขภาพกายที่ดี เห็นคุณค่าในตนเอง มีความมั่นใจ และกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม ร้อยละ ๑๐๐ ผลลัพธ์
1.กลุ่มเป้าหมายโครงการ เกิดกระบวนการเรียนรู้ในการฟื้นฟู พัฒนาและส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกายอารมณ์สังคมและสติปัญญา
2.เด็กพิการครอบครัวเด็กพิการ กลุ่มเป้าหมาย และบุคลากรภายในศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสตูลมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน เกิดความสามัคคี และเกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน และมีความมั่นใจมากขึ้นในการพาเด็กพิการออกสู่สังคมภายนอกและสังคมมีโอกาสได้รับรู้และมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กพิการ 3.เด็กพิการ กลุ่มเป้าหมาย ได้รับการดูแลช่วยเหลือ และส่งเสริมสุขภาพอนามัยอย่างถูกวิธี
4. ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแล ช่วยเหลือเด็กพิการ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 พ.ย. 2566 09:16 น.