กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ อสม.บ้านดอนศาลา อาสาควบคุมและป้องกันภัยโรคไข้เลือดออก ปี 2567
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่ม อสม.รพ.สต.บ้านดอนศาลา
วันที่อนุมัติ 31 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2567 - 31 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 19,930.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเพลินพิศ ขุนเศรษฐ์
พี่เลี้ยงโครงการ นางสมทรง ประยูรวงศ์
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 2007 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออก
90.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย โดยมีรายงานพบผู้ป่วยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2492 ปัจจุบันยังพบการระบาดของโรคในทุกพื้นที่ของประเทศไทย ทั้งในเขตเมืองและเขตชนบท โดยพบผู้ป่วยต่อเนื่องทุกปีทำให้คาดการณ์ว่าอาจมีแนวโน้มการระบาดโรครุนแรงขึ้น โดยสาเหตุสำคัญเกิดจากแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายที่ยังพบได้ในบ้านเรือนประชาชนโดยทั่วไป ประชาชนและองค์กรที่เกี่ยวข้อง ยังไม่เห็นความสำคัญของปัญหา และขาดความตระหนักในการร่วมมือกันแก้ไขปัญหาในพื้นที่ตำบลมะกอกเหนือยังมีรายงานการพบผู้ป่วยไข้เลือดออกทุกปี โดยเฉพาะในปี 2565 พบผู้ป่วยจำนวน 1 ราย อัตราป่วย 49.54 ต่อแสนประชากร ในปี 2566 มกราคม - มิถุนายน 2566 พบผู้ป่วยจำนวน 8 ราย อัตราป่วย 396.04 ต่อแสนประชากร ซึ่งเกินเกณฑ์มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข ประกอบกับรายงานการสำรวจดัชนีลูกน้ำยุงลายในพื้นที่ตำบลมะกอกเหนือ พบค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายบางหมู่บ้านสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (ค่า HI>10) ซึ่งการป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุด คือการทำลายแหล่งเพาะลูกน้ำยุงลายทั้งในครัวเรือน บริเวณที่พักอาศัย อาคารสำนักงาน วัดและโรงเรียน ประกอบกับยุงลายสามารถแพร่พันธุ์ได้ตลอดปี ถ้าไม่ดำเนินการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย อย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอและมีประสิทธิภาพ ก็อาจเกิดการระบาดของโรคได้ตลอดเวลา ด้วยเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอนศาลาจึงได้จัดทำโครงการ อสม.ร่วมใจป้องกันภัยไข้เลือดออก ปี 2567 ขึ้น เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอนศาลา โดยกำหนดกิจกรรมต่างๆ ที่ทำให้การดำเนินการควบคุมโรคไข้เลือดออกประสบความสำเร็จยั่งยืน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลการทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

การแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาด (ร้อยละ)

90.00 70.00
2 2.เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในชุมชน

ร้อยละ 80 ของหมู่บ้านสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกไม่ให้ประชาชนได้รับผลกระทบ

0.00
3 3.เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม

ร้อยละ 80 ของประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1.เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลการทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : 2.เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในชุมชน

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : 3.เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

29 ม.ค. 67 1.ประสานงานกับผู้นำชุมชน/เทศบาล/อสม./และประชาชนในหมู่บ้านเพื่อรับทราบแนวทางการดำเนินงาน 0.00 -
1 ก.พ. 67 - 31 ส.ค. 67 2.ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชนทางหอกระจายข่าวและเวทีประชุมหมู่บ้าน แจกเอกสารใบความรู้ 400.00 -
1 ก.พ. 67 - 31 ส.ค. 67 3.อสม.สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายทุกวันศุกร์ ใช้แบบสำรวจลูกน้ำยุงลาย ใส่ทรายอะเบททุกหลังคาเรือนที่มีน้ำขังบริเวณบ้าน 19,290.00 -
25 - 31 ส.ค. 67 4.ประเมินและสรุปผลโครงการ 240.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก 2.ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคไข้เลือดออก
3.ประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก 4.ทำให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ธ.ค. 2566 10:20 น.