กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการร้านชำใส่ใจ ปลอดภัยต่อผู้บริโภค ปี 2567
รหัสโครงการ 67-L5225-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพังยาง
วันที่อนุมัติ 12 ธันวาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2567 - 30 มิถุนายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 2 มิถุนายน 2567
งบประมาณ 19,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสุดารัตน์ หนูปลอด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพังยาง อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.721,100.354place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้ประกอบการร้านขายของชำ และ อสม. มีความรู้เกี่ยวกับอาหาร ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ
40.00
2 ร้อยละของผู้ประกอบการร้านขายของชำสามารถเลือกซื้ออาหาร ยา เครื่องสำอางผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีคุณภาพมาจำหน่ายให้กับผู้บริโภค
40.00
3 ร้อยละของ อสม.สามารถออกตรวจร้านชำตามเกณฑ์มาตรฐาน (RDU)
30.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

งานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม กำกับ ดูแลและบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ เช่น อาหาร ยา เครื่องสำอาง ร้านขายของชำในหมู่บ้าน เป็นต้น ซึ่งในส่วนของผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพเหล่านี้มีผู้เกี่ยวข้องหลายส่วน เช่น ผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ตลอดจนผู้บริโภค โดยเฉพาะผู้บริโภคจะเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านั้น หากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีคุณภาพ ลอกเลียนแบบ เจือปนสารอันตรายลงไป หรือหากบริการสุขภาพนั้นไม่ได้มาตรฐานจะทำให้ผู้บริโภคได้รับผลกระทบต่อสุขภาพจนอาจทำให้เสียชีวิตได้ ปัจจุบันนี้ร้านขายของชำในหมู่บ้าน ถือได้ว่าเป็นแหล่งกระจายสินค้าประเภทต่าง ๆ ให้แก่ผู้บริโภคในพื้นที่ ซึ่งส่วนใหญ่นิยมจับจ่ายใช้สอยเครื่องอุปโภคและบริโภคจากร้านขายของในหมู่บ้าน  ไม่ว่าจะเป็น อาหาร เครื่องสำอาง ยา ของใช้ต่าง ๆ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสุขภาพทั้งสิ้น และยังพบว่ามีการจำหน่ายสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพ มาตรฐาน และไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคในชุมชน เช่น ผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องสำอางที่ไม่ได้คุณภาพ จำหน่ายให้กับประชาชนในชุมชน  และยังจำหน่ายยาบางชนิดที่ไม่สามารถจำหน่ายได้ในร้านขายของชำ ซึ่งอาจก่อให้เกิดโรคหรืออันตรายต่อสุขภาพผู้บริโภค          ซึ่งผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ที่ชัดเจนเกี่ยวกับการเลือกผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องสำอางที่มีคุณภาพ ความรู้เรื่องประเภทของยาแต่ละชนิดที่สามารถจำหน่ายได้ในร้านขายของชำ และจำหน่ายให้กับร้านค้าในชุมชนได้ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคทั้งสิ้น อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเป็นส่วนหนึ่งที่มีความจำเป็นในการพัฒนาศักยภาพและมีบทบาทในการเป็นผู้นำการดำเนินงานพัฒนาสุขภาพอนามัย และคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยผ่านกระบวนการอบรมให้ความรู้จากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และการปฏิบัติงานด้วยความเสียสละต่อประชาชนในหมู่บ้าน สำหรับโครงการร้านชำใส่ใจ ปลอดภัยต่อผู้บริโภค ปี 2567 จึงมีความจำเป็นต้องพัฒนาความรู้ความสามารถอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในงานคุ้มครองผู้บริโภค ผลิตภัณฑ์ด้านอาหาร และยา ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่เกี่ยวข้องสำหรับผู้บริโภคในชุมชนอีกด้วย         ในการนี้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพังยาง ได้เล็งเห็นว่าการพัฒนายกระดับร้านขายของชำในหมู่บ้าน จะช่วยส่งเสริมให้ผู้ประกอบการร้านขายของชำ มีความรู้เกี่ยวกับอาหาร ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สามารถเลือกซื้ออาหาร ยา เครื่องสำอางผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีคุณภาพมาจำหน่ายให้กับผู้บริโภค โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพังยาง จึงได้จัดทำโครงการร้านชำใส่ใจ ปลอดภัยต่อผู้บริโภค ปีงบประมาณ 2567 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านขายของชำ และ อสม. มีความรู้เกี่ยวกับอาหาร ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ

ร้อยละของผู้ประกอบการร้านขายของชำ และ อสม. มีความรู้เกี่ยวกับอาหาร ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ

30.00
2 เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปเลือกซื้ออาหาร ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่มีคุณภาพมาจำหน่ายให้กับผู้บริโภคได้อย่างปลอดภัย

ร้อยละของผู้ประกอบการร้านขายของชำสามารถเลือกซื้ออาหาร ยา เครื่องสำอางผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีคุณภาพมาจำหน่ายให้กับผู้บริโภค

30.00
3 เพื่อเพิ่มศักยภาพและความสามารถของ อสม.ในการตรวจร้านชำตามเกณฑ์มาตรฐาน (RDU)

ร้อยละของ อสม.สามารถออกตรวจร้านชำตามเกณฑ์มาตรฐาน (RDU)

40.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 60 19,700.00 0 0.00
13 ธ.ค. 66 - 30 มิ.ย. 67 กิจกรรมตรวจร้านขายของชำ จำนวน 30 ร้าน หลังการอบรม 0 3,000.00 -
1 พ.ค. 67 - 30 มิ.ย. 67 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องอาหาร ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ 60 16,700.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ประกอบการร้านขายของชำ และ อสม. มีความรู้เกี่ยวกับอาหาร ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ
  2. ผู้ประกอบการสามารถเลือกผลิตภัณฑ์ อาหาร เครื่องสําอาง ที่มีคุณภาพ จําหน่ายให้กับประชาชนในชุมชนได้อย่างปลอดภัย
  3. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มีความสามารถและมีศักยภาพในการตรวจร้านชำตามเกณฑ์มาตรฐาน (RDU)
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ธ.ค. 2566 19:50 น.