กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสุขภาพดี ชีวีมีสุข
รหัสโครงการ 67-L8291-2-17
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนวัดนิกรรังสฤษฎ์
วันที่อนุมัติ 15 ธันวาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 20,332.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอำนวยพร เชยชื่นจิตร ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดนิกรรังสฤษฎ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลย่านตาขาว อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.406,99.674place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

วัยเด็กเป็นวัยที่กำลังเจริญเติบโตมีการพัฒนาทั้งด้านร่างกาย ด้านสติปัญญา และด้านอารมณ์ รวมถึงการใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ดังนั้นอาหารจึงเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการพัฒนาในด้านต่างๆของวัยเด็ก ซึ่งทำให้มีพัฒนาการที่ดีขึ้นส่งผลต่อการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน นอกจากอาหารแล้ว การออกกำลังกายถือว่าเป็นสิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่ส่งผลต่อด้านร่างกาย ทำให้ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง แต่เนื่องจากสถานการณ์ในปัจจุบันการรับประทานอาหารที่เร่งรีบ รับประทานอาหารไม่ครบ ๕ หมู่ นักเรียนจึงมีปัญหาภาวะทุพโภชนาการ น้ำหนักส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์และบางส่วนที่มีน้ำหนักมากกว่าเกณฑ์ ส่งผลให้เป็นโรคอ้วน จากการสำรวจในโรงเรียนวัดนิกรรังสฤษฏ์ พบว่าเด็กนักเรียนจำนวน ๓๒ คน จากทั้งหมด ๖๗๙ อยู่ในภาวะทุพโภชนาการและมีค่า BMI (Body Mass Index) ต่ำกว่าเกณฑ์ โดยในจำนวนนี้ แบ่งเป็น นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ ๑ - ๓ จำนวน ๑๗๖ คน อยู่ในภาวะ      ทุพโภชนาการ จำนวน ๑๓ คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๖ จำนวน ๕๐๓ คน อยู่ในภาวะทุพโภชนาการ จำนวน ๑๙ คน และมีเด็กนักเรียนจำนวน ๙๑ คน จากทั้งหมด ๘๒๙ คน อยู่ในภาวะที่มีน้ำหนักมากกว่าเกณฑ์ โดยในจำนวนนี้ แบ่งเป็น นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ ๑ - ๓ จำนวน ๑๗๖ คน อยู่ในภาวะที่มีน้ำหนักมากกว่าเกณฑ์ จำนวน ๙ คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๖ จำนวน ๕๐๓ คน อยู่ในภาวะที่มีน้ำหนักมากกว่าเกณฑ์ จำนวน ๖๗ คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ - ๓ จำนวน ๑๕๐ คน อยู่ในภาวะที่มีน้ำหนักมากกว่าเกณฑ์ จำนวน ๑๕ คน
  ด้วยเหตุนี้ ทางโรงเรียนวัดนิกรรังสฤษฏ์ จึงได้จัดทำโครงการ “สุขภาพดี ชีวีมีสุข” ขึ้นเพื่อส่งเสริมให้เด็กนักเรียนบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ และได้ออกกำลังกายเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งช่วยลดปัญหาความเสี่ยงทางด้านสุขภาพ อันจะก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่อตัวของเด็กนักเรียนในอนาคต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนที่เข้ารับการอบรม มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับอาหารที่มีประโยชน์เพิ่มมากขึ้น

นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเพิ่มขึ้นหลังการอบรม ร้อยละ ๘๐

2 เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกายให้กับนักเรียนที่มีน้ำหนักส่วนสูงกว่าเกณฑ์ ให้มีร่างกายที่เจริญเติบโต สมส่วนและสมวัย พร้อมที่จะพัฒนาด้านอื่นๆต่อไป

นักเรียนในโรงเรียนมีภาวะโภชนาการที่ดี ร้อยละ  90

3 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับประทานอาหารที่มีสารอาหารครบ 5 หมู่

นักเรียนได้รับสารอาหารครบ ๕ หมู่ ร้อยละ ๑๐๐

4 เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายให้กับนักเรียนที่มีน้ำหนักมากกว่าเกณฑ์ให้มีร่างกายเจริญเติบโต สมส่วน แข็งแรง และปราศจากโรค

นักเรียนมีสุขภาพที่แข็งแรง สมส่วน และปราศจากโรค ร้อยละ 90

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อให้นักเรียนที่เข้ารับการอบรม มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับอาหารที่มีประโยชน์เพิ่มมากขึ้น

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกายให้กับนักเรียนที่มีน้ำหนักส่วนสูงกว่าเกณฑ์ ให้มีร่างกายที่เจริญเติบโต สมส่วนและสมวัย พร้อมที่จะพัฒนาด้านอื่นๆต่อไป

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับประทานอาหารที่มีสารอาหารครบ 5 หมู่

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 4 : เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายให้กับนักเรียนที่มีน้ำหนักมากกว่าเกณฑ์ให้มีร่างกายเจริญเติบโต สมส่วน แข็งแรง และปราศจากโรค

รวม 0 0.00 0 0.00

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับสุขภาพอนามัยและมีพฤติกรรมที่ดีในการรับประทานอาหาร
  2. นักเรียนมีสุขภาพร่างกายที่เจริญเติมโต แข็งแรง และมีสุขภาพที่สมบูรณ์ปราศจากโรคและมีภาวะโภชนาการที่ดี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ธ.ค. 2566 13:37 น.