กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างสุข สูงวัย ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย และแพทย์ทางเลือก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
รหัสโครงการ 67-L2512-2-4
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ประธานชมรม อสม. ตำบลรือเสาะออก
วันที่อนุมัติ 11 ตุลาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 30,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางคอรีเป๊าะ ดอเลาะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลรือเสาะออก อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันผู้สูงอายุมีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วคิดเป็นร้อยละ 14 ของประชากรโลก (รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย, 2563) สำหรับประเทศไทยปัจจุบันเป็นสังคมผู้สูงอายุเนื่องจากมีสัดส่วนผู้สูงอายุคิดเป็นร้อยละ 18.33 และจำนวนช่วงอายุมากที่สุดคือ 60-69 ปี คิดเป็นร้อยละ 56.5 (สำนักบริหารการทะเบียน, 2564) ในปี 2565 มีสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุสูงถึงร้อยละ 20 เป็นสังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ และในปี 2576 จะเป็นสังคมสูงอายุระดับสุดยอดหรือมีสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุสูงถึงร้อยละ 28 (กรมกิจการผู้สูงอาย, 2564) สอดคล้องกับจังหวัดนราธิวาส พบว่า ประชากรผู้สูงอายุตั้งแต่ปี 2563 - 2565 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 11.46, 11.71, 11.95 ตามลำดับ โดยอำเภอรือเสาะมีจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด 6,724 คน คิดเป็นร้อยละ 10.78 ของประชากรอำเภอรือเสาะ ซึ่งจากข้อมูลการคัดกรองผู้สูงอายุ 9 ด้านผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรอง 6,329 คน คิดเป็นร้อยละ 94.13 โดยส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม จำนวน 6,215 คิดเป็นร้อยละ 98.20 รองลงมาเป็นกลุ่มติดบ้าน จำนวน 92 คน ร้อยละ 1.45 และกลุ่มติดเตียง จำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 0.35 ตามลำดับ โดยผู้สูงอายุที่ได้รับการคัดกรองสุขภาพ 10 เรื่อง มีความเสี่ยงด้านสุขภาพจำนวน 2,828 คน คิดเป็นร้อยละ 42.05 ซึ่งความเสี่ยงที่พบมากที่สุดคือ การเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ค่าดัชนีมวลกาย และการช่วยเหลือตัวเองลดลง ตามลำดับ (HDC, 2566) สาเหตุที่ทำให้ผู้สูงอายุมีปัญหาด้านสุขภาพที่สำคัญ ได้แก่ 1) การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายไปในทางที่เสื่อมถอยลง มีข้อจำกัดในการช่วยเหลือตัวเอง ความสามารถในการช่วยตัวเองลดลง ต้องพึ่งพาคนอื่นมากขึ้น 2) การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ ต้องพบกับความสูญเสียและการพลัดพรากของคู่ชีวิต ญาติสนิทหรือเพื่อนฝูง เกิดความเหงา ขาดที่พึ่งทางใจ ขาดคนพูดคุยปรึกษาหารือให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ขาดความผูกพันที่เคยมีต่อสังคม สูญเสียบทบาททางสังคม และ 3) การเปลี่ยนแปลงทางสังคม ทำให้ผู้สูงอายุถูกทอดทิ้ง ต้องปรับตัวกับบทบาทใหม่จากเป็นผู้นำครอบครัวกลายเป็นผู้พึ่งพิงอาศัย ส่งผลต่อปัญหาด้านสุขภาพง หากรุนแรงจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในระดับรุนแรงได้ ศาสตร์การแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกศาสตร์ นับเป็นการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุที่สำคัญ เป็นศาสตร์เพื่อการวินิจฉัย รักษาและป้องกันโรค โดยไม่ใช้ยาหรือสารเคมีใดๆ จะใช้นํ้าร้อน นํ้าเย็น การนวด ผลไม้ อาหาร สมาธิ โยคะ การพูดคุย เป็นต้น ที่นอกเหนือจากการแพทย์แผนปัจจุบัน ซึ่งผู้สูงอายุให้ความสนใจในการดูแลสุขภาพของตนเองเพิ่มขึ้น และสามารถใช้ความรู้มาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ตามบริบท สำหรับพื้นที่ตำบลรือเสาะออก มีผู้สูงอายุจำนวน 835 คน จากข้อมูลการคัดกรอง 9 ด้าน พบว่า มีผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองครบทั้ง 9 ด้านจำนวน 817 คน คิดเป็นร้อยละ 97.84 โดยส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม รองลงมาเป็นกลุ่มติดบ้าน และกลุ่มติดเตียง ปัญหาด้านสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน นอกจากนี้ จากการประเมินภาวะซึมเศร้ายังพบว่า ผู้สูงอายุมีภาวะซึมเศร้าเพิ่มขึ้น จำนวน 6 คน และได้รับการส่งต่อเพื่อประเมินและรักษาต่อไป ซึ่งการส่งเสริมสุขภาพทั้งด้านสุขภาพกายและจิตใจของผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถเข้าใจและดูแลสุขภาพ สม่ำเสมอ จะสามารถส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ป้องกันปัญหาด้านสุขภาพได้ ดังนั้น อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเขต อบต. รือเสาะออก ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาด้านสุขภาพดังกล่าว จึงจัดโครงการ สร้างสุข สูงวัย ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖7 เพื่อให้ผู้สูงอายุ ผู้ดูแล และ อสม.เข้าใจถึงการดูแลตนเองด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ อสม. สามารถดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยและแพทย์

อสม. สามารถดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยและแพทย์

0.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุ ผู้ดูแล มีทักษะการดูแลตนเองด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก

ผู้สูงอายุ ผู้ดูแล มีทักษะการดูแลตนเองด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อให้ อสม. สามารถดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยและแพทย์

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อให้ผู้สูงอายุ ผู้ดูแล มีทักษะการดูแลตนเองด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

1 ม.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ส่งเสริมความรู้ และฝึกทักษะการดูแลตนเองด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย และแพทย์ทางเลือก 10,600.00 -
1 ม.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 แบ่งกลุ่ม ฝึกทักษะการดูแลผู้สูงอายุ ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย และแพทย์ทางเลือก 19,400.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้สูงอายุและผู้ดูแลเข้าใจถึงภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุ ผู้ดูแล เข้าใจถึงการดูแลตนเองด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก อสม.สามารถดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกได้ ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดีทั้งด้านร่างกายและจิตใจ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 ต.ค. 2566 00:00 น.