กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก เพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด ตำบลท่าช้าง อำเภอบางกล่ำจังหวัดสงขลา ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลท่าช้าง
วันที่อนุมัติ 26 ธันวาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 2,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสกุลศิริ ศิริสงคราม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าช้าง อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.04528215,100.3926905place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ทารกแรกเกิดที่มีอายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์ ที่เรียกว่าทารกเกิดก่อนกำหนด มีโอกาสเสียชีวิตและพบภาวะแทรกซ้อน ทำให้ทารกมีความพิการในช่วงหลังคลอด บางรายจะมีพัฒนาการล่าช้า “ภาวะคลอดก่อนกำหนดอาจเกิดได้กับหญิงตั้งครรภ์ทุกคน แต่ถ้ามีภาวะเสี่ยงอาจเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะคลอดก่อนกำหนดมากขึ้น” หากทารกรายนั้นมีความพิการครอบครัวและภาครัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อการฟื้นฟูสภาพร่างกายและดูแลอย่าต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 4 – 5 ปี จากการทำวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนทีปังกรนภัทรบุตร พบว่า ประมาณน้อยละ 50 – 60 ของการคลอดก่อนกำหนดเกิดขึ้นในสตรีตั้งครรภ์ที่ไม่มีโรค หรือภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ บางคนเกิดจากพฤติกรรมของสตรีตั้งครรภ์ก่อให้เกิดภาวะภาวะเจ็บครรภ์ก่อนกำหนด เนื่องจากตรีเหล่านี้ยังขาดความรู้เรื่องการป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากภาวะคลอดก่อนกำหนด จึงเข้ามารับบริการล่าช้าเป็นเหตุให้การยับยั้งภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดมักไม่ประสบผลสำเร็จ กระทรวงมหาดไทย ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาลในฐานะคณะกรรมการอำนวยการโครงการเครือข่ายสุขภาพมารดาและทารกเพื่อครอบครัวไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมงกุฎราชกุมาร ได้ดำเนินโครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก เพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด เพื่อลดอุบัติการณ์การคลอดก่อนกำหนด เพื่อขับเคลื่อนและบูรณาการการทำงานร่วมกันในระบบส่งเสริมสุขภาพและดูแลหญิงตั้งครรภ์ เพื่อลดอัตราการคลอดก่อนกำหนดของประเทศ เทศบาลตำบลท่าช้างจึงได้ดำเนินโครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุกเพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด โดยมีการบูรณาการขับเคลื่อนโครงการภายใต้ความร่วมมือของภาคีเครือข่ายทั้ง ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ ภาคศาสนา ภาคประชาชน ภาคประชาสังคม และภาคสื่อมวลชน เพื่อให้บรรลุผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรมตามนโยบายของกระทรวงมหาดไทย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ คู่สมรส และบุคคลใกล้ชิดหญิงตั้งครรภ์ มีความรู้และความตระหนัก เรื่องอันตรายของการคลอดก่อนกำหนด สัญญาณเตือนที่จะไปโรงพยาบาล และการฝากครรภ์ภายใน 12 สัปดาห์

หญิงตั้งครรภ์ คู่สมรส และบุคคลใกล้ชิดหญิงตั้งครรภ์ มีความรู้ และความตระหนัก เรื่องอันตรายของการคลอดก่อนกำหนด

2 เพื่อลดอัตราคลอดก่อนกำหนด ร้อยละ 50 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

ลดภาวะคลอดก่อนกำหนดอย่างน้อยร้อยละ 50 ในปี 2567

3 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ มีสุขภาพจิตและสุขภาพกายที่ดี

หญิงตั้งครรภ์ไม่มีมีภาวะโรคซึมเศร้า หญิงตั้งครรภ์มีวิธีการจัดการความเครียดที่ดี

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ประชุมคณะทำงานสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก เพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด ตำบลท่าช้าง และผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 2 ครั้ง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ลดภาวะคลอดก่อนกำหนดอย่างน้อยร้อยละ 50 ในปี 2566
  2. หญิงตั้งครรภ์ คู่สมรส และบุคคลใกล้ชิดหญิงตั้งครรภ์ มีความรู้ และความตระหนัก เรื่องอันตรายของการคลอดก่อนกำหนด
  3. หญิงตั้งครรภ์ในพื้นที่ตำบลท่าช้างมีสุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี
  4. ภาคีเครือข่ายให้ความร่วมมือในการดำเนินโครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุกเพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนดตำบล ท่าช้าง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ธ.ค. 2566 15:27 น.