กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ นวัตกรรมการจัดการขยะ “ขยะไร้ค่า สู่นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาชุมชน”
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขเเละสิ่งเเวดล้อม เทศบาลตำบลท่าช้าง
วันที่อนุมัติ 26 ธันวาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2566 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 4,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสกุลศิริ ศิริสงคราม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าช้าง อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.04528215,100.3926905place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) มีมติเห็นชอบแผนแม่บทการ บริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2560 - 2565) เพื่อใช้เป็นกรอบและทิศทางในการดำเนินการแก้ไข ปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยและขยะอันตรายของประเทศ ซึ่งมีสาระสำคัญให้เกิดการจัดการขยะมูลฝอยอย่างครบวงจร โดยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม มุ่งสู่การแก้ไขปัญหาขยะอย่างยั่งยืน ลด ผลกระทบปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีวิธีการสำคัญ ได้แก่ การลดการเกิดขยะมูลฝอยหรือขยะอันตรายที่แหล่งกำเนิด การนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ซ้ำและใช้ประโยชน์ใหม่
ในปัจจุบัน พบว่าในเขตพื้นที่ตำบลท่าช้าง มีจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น จึงทำให้ปัญหาขยะก็มีเพิ่มขึ้นตามมาด้วย ซึ่งส่งผลกระทบต่อความสมดุลของสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ในชุมชน การสะสมของขยะต่าง ๆ ก่อให้เกิดน้ำเสีย ทำให้เกิดความเสื่อมโทรมของตำบลท่าช้าง ซึ่งเป็นแหล่งที่มีทรัพยากรทางการท่องเที่ยว ทางด้านโบราณสถาน และสถาปัตยกรรม แสดงถึงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ มีแหล่งเพาะปลูกพืช และปศุสัตว์ที่สำคัญ แสดงถึงความสมบูรณ์ของพื้นที่ทางด้านเกษตรกรรม ขณะที่ชุมชนกำลังประสบปัญหา และอุปสรรคที่สำคัญในการบริหารจัดการขยะในชุมชน
      ดังนั้น กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลตำบลท่าช้าง จึงจัดทำโครงการ นวัตกรรมการจัดการขยะ “ขยะไร้ค่า สู่นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาชุมชน” เพื่อให้มีนวัตกรรมใหม่ มาพัฒนาชุมชนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้โดยการ รณรงค์การคัดแยกขยะ ลดการใช้พลาสติก การใช้ถุงผ้า หรือตะกร้ามาตลาด จัดตั้งศูนย์ขยะรีไซเคิล และธนาคารขยะ ทั้งนี้เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมให้เป็นตลาดนัดท้องถิ่นสีเขียว รวมทั้งส่งเสริมให้ใช้วัสดุธรรมชาติ เพื่อลดการใช้พลาสติก ส่งผลให้ชุมชนมีปริมาณขยะลดลง และเพิ่มรูปแบบของการแปรรูปขยะเพื่อเพิ่มช่องทางการขายและสร้างรายได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนเกิดความรู้ เรื่อง ขยะสู่นวัตกรรมในชุมชน

จำนวนหมู่บ้าน/ชุมชนในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลท่าช้าง มีการจัดทำนวัตกรรมท้องถิ่นที่เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในชุมชน  เพิ่มขึ้นร้อยละ 80

2 เพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

ชุมชนมีการจัดเก็บขยะและประเภทขยะ เพิ่มขึ้นร้อยละ 80

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ (PLAN) ดำเนินกิจกรรม ดังนี้ 1.จัดทำโครงการและเสนอโครงการเพื่ออนุมัติ
2.แต่งตั้งคณะกรรมการในโครงการ
3.ประชุมคณะกรรมการเพื่อวางแผนกำหนดรูปแบบการจัดกิจกรรม ขั้นดำเนินการ (DO) ดำเนินกิจกรรม ดังนี้     กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้
            เรื่อง นวัตกรรมการจัดการขยะ
            เรื่อง การคัดแยกขยะอย่างถูกวิธี
            เรื่อง แนวคิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ขยะมูลฝอย     กิจกรรมที่ 2 รณรงค์การคัดแยกขยะลดการใช้พลาสติก “การใช้ถุงผ้า หรือตะกร้ามาตลาด”
    กิจกรรมที่ 3 จัดตั้งศูนย์ขยะรีไซเคิล และธนาคารขยะ ขั้นสรุปผลและประเมินผล (Check) ดำเนินกิจกรรม ดังนี้ . 1. สรุปผลการดำเนินโครงการ
2. สรุปผลร้อยละของผู้เข้ารับการอบรมจากแบบประเมินความพึงพอใจ
3. นำเสนอและรายผล ขั้นปรับปรุงและติดตามการประเมิน (Action) ดำเนินกิจกรรม ดังนี้ 1.ประชุมคณะกรรมการและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง เพื่อทบทวนและปรับปรุงกระบวนการ/ขั้นตอนการดำเนินงานเพื่อวางแผนการดำเนินงานครั้งต่อไปให้มีประสิทธิภาพ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ร้อยละ 80 ของประชาชนที่เข้าร่วมอบรม มีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับนวัตกรรมขยะ การคัดแยกขยะ นโยบายการจัดการขยะ 2. ร้อยละ 80 ของประชาชนในชุมชน มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม นำขยะพลาสติกสามารถต่อยอดเป็นอาชีพทำเงินให้กับชุมชนได้
3.ร้อยละ 80 ของประชาชนในชุมชน มีความพึงพอใจในระดับดี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ธ.ค. 2566 16:05 น.