กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ พัฒนาคุณภาพน้ำอุปโภค บริโภค เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขเเละสิ่งเเวดล้อม เทศบาลตำบลท่าช้าง
วันที่อนุมัติ 26 ธันวาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2566 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 12,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสกุลศิริ ศิริสงคราม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าช้าง อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.04528215,100.3926905place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 90 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติได้เปลี่ยนแปลงไป จากภัยธรรมชาติ และการกระทำของมนุษย์ ล้วนมีความสำคัญทำให้เกิดมลพิษในหลายๆด้าน เช่น มลพิษทางด้านน้ำ ซึ่งน้ำถือว่าเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ในตำบลท่าช้าง มีทั้งหมด 18 หมู่บ้าน 22 ชุมชน ประชากรรวมทั้งหมดประมาณ 21,490 คน ต่างก็ต้องใช้น้ำในการอาบ การกิน หรือการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ซึ่งน้ำมีความจำเป็นขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ดังนั้นถ้าประชาชนได้อุปโภค บริโภคน้ำที่ไม่สะอาด ทำให้มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน และคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ไม่ดี     ดังนั้นกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลท่าช้าง ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ จึงมีแนวทางในการจัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อสำรวจ ตรวจสอบ ตรวจคุณภาพน้ำ และดำเนินการแก้ไขน้ำให้มีคุณภาพ พร้อมทั้งอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ และการจัดการน้ำเสียในเขตพื้นที่

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อตรวจสอบคุณภาพน้ำอุปโภค บริโภค ในเขตพื้นที่ ก่อนนำมาใช้อุปโภค บริโภค

ผลการตรวจคุณภาพน้ำประปา และแหล่งน้ำสาธารณะ ในเขตพื้นที่ทั้งหมด 18 หมู่บ้าน 22 ชุมชน และรายงานผล พร้อมทั้งหาวิธีแก้ไข ปรับปรุง และให้ความรู้เกี่ยวกับคุณภาพน้ำ

2 เพื่อการกำจัดผักตบชวาและวัชพืชในแหล่งน้ำสาธารณะ ในเขตพื้นที่ เนื่องจากผักตบชวาและวัชพืช ส่งผลให้ทางเดินของน้ำเกิดการตื้นเขิน นำมาสู่ปัญหาน้ำท่วม และทำให้น้ำขาดออกซิเจน เพราะอากาศในน้ำไม่ถ่ายเท สุดท้ายก็กลายเป็นน้ำเน่าเสีย

เทศบาลตำบลท่าช้าง ชุมชน และหน่วยงานต่าง ๆ ร่วมมือกันกำจัดผักตบชวาและวัชพืชในแหล่งน้ำสาธารณะ ร้อยละ 100

3 จัดทำฐานข้อมูลสภาพปัญหาน้ำเสีย เพื่อที่จะได้หาสาเหตุการเกิดน้ำเสีย และหาแนวทางลดมลพิษทางน้ำ

เทศบาลตำบลท่าช้าง ชุมชน และหน่วยงานต่าง ๆ ร่วมมือกันสำรวจ จัดทำฐานข้อมูล รายงานผล พร้อมทั้งหาวิธีแก้ไข ปรับปรุง และให้ความรู้เกี่ยวกับคุณภาพน้ำแหล่งน้ำเสียในเขตพื้นที่

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

กิจกรรมที่ 1 ตรวจสอบคุณภาพน้ำประปา และแหล่งน้ำสาธารณะ -ลงพื้นที่ตรวจสอบคุณภาพน้ำ โดยใช้เครื่องมือทดสอบภาคสนาม -รายงานผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำประปา และแหล่งน้ำสาธารณะ ในเขตพื้นที่ และประชาสัมพันธ์ลงบนเว็บไซต์เทศบาลตำบลท่าช้าง และรายงานผลไปยังกรรมการประปาหมู่บ้าน กิจกรรมที่ 2 จัดทำฐานข้อมูลสภาพปัญหาน้ำเสีย -ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลน้ำเสียในเขตพื้นที่ -รวบรวมข้อมูล เพื่อหาแนวทางในการปรับปรุง กิจกรรมที่ 3 การกำจัดผักตบชวาและวัชพืชในแหล่งน้ำสาธารณะ 1. รายงานผลการดำเนินการ และจัดประชาสัมพันธ์ ลงบนเว็บไซต์เทศบาลตำบลท่าช้าง 2. อบรม ให้ความรู้เรื่อง   -การอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ และการจัดการน้ำเสีย   -วิธีการทำ EM เพื่อช่วยในการบำบัดน้ำเสีย

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เพื่อบ่งบอกถึงการปนเปื้อนของมลพิษชนิดต่าง ๆ ทั้งเชื้อแบคทีเรีย ความกระด้าง คลอรีนอิสระและความเป็นกรด-ด่าง (pH)
  2. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปรับปรุงคุณภาพน้ำได้อย่างเหมาะสม
  3. การตรวจสอบจะช่วยบ่งบอกถึงความเหมาะสม และความปลอดภัยของการนำน้ำมาใช้งาน และบริโภค
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ธ.ค. 2566 09:07 น.