กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ต.ท่าช้าง อ.บางกล่ำ จ.สงขลา ปี 2567
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ คลินิกชุมชนโคกเมา
วันที่อนุมัติ 26 ธันวาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 22,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสุริยะ สุพงษ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าช้าง อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.04528215,100.3926905place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การดำเนินงานคัดกรองโรคเบาหวาน เป็นกิจกรรมหลักที่หน่วยบริการสาธารณสุขได้ดำเนินงานตามนโยบายป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังกระทรวงสาธารณสุข จากการดำเนินงานที่ผ่านมา 3 ปี 2564-2566 พบว่า อัตราการเกิดผู้ป่วยรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยงสูง ร้อยละ26.7,25 และ 66.67 ตามลำดับซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้นมาก ในขณะที่ค่ามาตรฐานไม่เกินร้อยละ 17.24 (สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา, 2566) การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจะช่วยให้กลุ่มเสี่ยงสูงเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่เป็นผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ ทั้งนี้การมีส่วนร่วมของชุมชนมีความสำคัญต่อการบริหารจัดการให้เกิดรูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ยั่งยืน สามารถต่อยอดการดำเนินงานในระยะต่อไปได้ เพื่อการจัดการทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพ คลินิกชุมชนโคกเมาจึงเห็นควรดำเนินงานโครงการนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเสี่ยงสูงเบาหวานมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม

ผู้ร่วมโครงการมีผลการประเมินพฤติกรรมสุขภาพหลังเข้าร่วมโครงการในระดับดีขึ้นไป ร้อยละ 80

2 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเสี่ยงสูงมีค่าระดับน้ำตาลในเลือดลดลง

กลุ่มเสี่ยงเบาหวานมีระดับน้ำตาลในเลือดเป็นปกติ ร้อยละ 80

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมคณะกรรมการชมรม (คณะกรรมการประกอบด้วยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม.และตัวแทนหมู่บ้าน)จำนวน 20 คน
  2. จัดทำคู่มือสำหรับแกนนำ
    2.รับสมัครสมาชิกชมรม จำนวน 30คนและจัดอบรมค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 1 วัน (ผู้เข้าร่วมกิจกรรม คณะกรรมการและสมาชิก รวม 50 คน) ประกอบด้วยกิจกรรม ดังนี้   -ให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน
      -ให้ความรู้เรื่องอาหารสุขภาพ   -ให้ความรู้เรื่องสมุนไพร และเมนูอาหารที่ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด   -ให้ความรู้เรื่องหลักการออกกำลังกาย และการฝึกโยคะ   -ให้ความรู้เรื่องการจัดการความเครียดตามหลักศาสนาอิสลาม 3.จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์รายสัปดาห์ 4.ประชุมสรุปผลการจัดกิจกรรมและตรวจระดับน้ำตาลในเลือด
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ลดการเกิดผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ไม่เกินร้อยละ 17.24
    1. ได้รูปแบบการจัดการกลุ่มเสี่ยงสูงเบาหวาน
    2. มีเครือข่ายบุคคลต้นแบบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพป้องกันโรคเบาหวาน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ม.ค. 2567 12:56 น.