กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ “บุหรี่ไฟฟ้า มหันตภัยใหม่ใกล้ตัวนักสูบรุ่นเยาว์”
รหัสโครงการ L7161 -02-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนถนอมศรีศึกษา
วันที่อนุมัติ 28 ธันวาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2567 - 31 มีนาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 29 มีนาคม 2567
งบประมาณ 34,710.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนรา นิยมไทย
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ , แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 130 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบัน “บุหรี่ไฟฟ้า” ถือว่าได้รับความนิยมขึ้นกว่าในอดีตมากซึ่งแรกเริ่มบุหรี่ไฟฟ้าได้รับการโฆษณาสรรพคุณว่าเป็นตัวช่วยที่ทำให้เลิกบุหรี่ได้ง่ายขึ้น และไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย แต่มาจนวันนี้ “บุหรี่ไฟฟ้า” ได้กลายเป็นเหมือนกับทางเลือกสำหรับ “วัยรุ่น” มากขึ้นในฐานะ “แฟชั่นใหม่” ภายใต้แนวความคิดที่ว่า “เท่ห์ สูบได้ และไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ” สำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2564 เผยคนไทยสูบบุหรี่ไฟฟ้า 78,742 คน ในจำนวนนี้อายุ 15-24 ปี 24,050 คน และผลสำรวจของกระทรวงสาธารณสุขพบเยาวชนไทยมีการใช้บุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น โดยในกลุ่มเด็กนักเรียนไทยเพิ่มจากร้อยละ 3.3 ปี 2558 เป็น ร้อยละ 8.1 ในปี 2564สัดส่วนแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ที่มีการขายและส่งเสริมการขายบุหรี่ไฟฟ้า พบว่า มีการขายและส่งเสริมการขายบุหรี่ไฟฟ้าในสื่อสังคมออนไลน์สูงถึง 300 ราย ใน 6 แพลตฟอร์ม พบการขายมากที่สุดผ่านทาง “เว็บไซต์” อยู่ที่ร้อยละ 23 รองลงมาคือผ่านทางแอปพลิเคชัน “Line” อยู่ที่ร้อยละ 21 และ “Youtube” อยู่ที่ร้อยละ 20 ส่วนช่องทาง “Facebook” พบอยู่ที่ร้อยละ 15 “Twitter” พบอยู่ที่ร้อยละ 12 และผ่านทาง “Instagram” พบอยู่ที่ร้อยละ 9จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า “บุหรี่ไฟฟ้า” มีความแพร่หลายอย่างมากในกลุ่มเยาวชนไทย และยังสามารถหาซื้อได้ง่ายผ่านทางช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ เราจึงพบเห็นแนวโน้มการใช้บุหรี่ไฟฟ้าที่มากขึ้นในปัจจุบัน
จากการสังเกตและติดตามประเมินภายในโรงเรียนพบว่า เด็กอายุ11-15 ปีบางกลุ่มมีพฤติกรรม เปลี่ยนไปอย่างผิดปกติเช่นติดเกมส์มาโรงเรียนพูดถึงแต่เกมส์ที่เล่นด้วยกันในค่ำคืนที่ผ่านมา ไม่สนใจเรียนก้าวร้าวและหลับในห้องเรียนบางคนมีการขอ (ขู่)เอาเงินจากเพื่อนๆและรุ่นน้องในโรงเรียนและ/หรือที่เล่นเกมส์ด้วยกัน และมีการโพสต์ในเฟสบุ๊คกลุ่ม(ปิด) ซักชวนให้ซื้อบุหรี่ไฟฟ้า โดยเป็นตัวแทนขายตรงพร้อมกับชักชวนเพื่อนๆและรุ่นน้องให้ลองสูบบุหรี่ไฟฟ้าเป็นต้นเด็กที่มีฐานะค่อนข้างดีกลุ่มนี้จะมีทั้งเพื่อนในโรงเรียนเดียวกันและต่างโรงเรียนมีนัดที่จะไปพบกันทั้งในสนามกีฬา และสถานที่ใกล้ร้านจำหน่ายโดยผู้ปกครอง หรือ ครู ส่วนใหญ่ยังไม่รู้ ตลอดจนไม่รู้ถึงสาเหตุพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของบุตรหลานของตน เช่น ขอเงินมากกว่าปกติโดยอ้างเหตุซื้ออุปกรณ์การเรียนฯลฯ ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของ ครูโรงเรียนแห่งหนึ่ง ที่กล่าวว่า บุหรี่ไฟฟ้าถือว่ามาแรงในปัจจุบัน ซึ่งที่พบมีมากในกลุ่มของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา และที่น่าเป็นห่วงก็พบในระดับชั้น ป.5 - ป.6และที่เพิ่งตรวจพบคือชั้น ป.4 ทางโรงเรียนถนอมศรีศึกษาได้เห็นความสำคัญของภัยร้ายจากการใช้บุหรี่ไฟฟ้าที่มีต่อกลุ่มเยาวชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มนักเรียนที่กำลังเข้าสู่วัยรุ่นวัยอยากรู้อยากลองโรงเรียนถนอมศรีศึกษาจึงได้จัดโครงการ “บุหรี่ไฟฟ้า มหันตภัยใหม่ใกล้ตัวนักสูบรุ่นเยาว์” เพื่อให้นักเรียนได้รับความรู้รู้เท่าทันเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า และเกิดความตระหนักถึงพิษภัยอันตรายจากการสูบของบุหรี่ไฟฟ้า และเป็นแกนนำในการช่วยเพื่อนมิให้ตกเป็นเหยื่อของการสูบบุหรี่ไฟฟ้า

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนที่เข้าร่วมการอบรมได้รับความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า และ ตระหนักถึงโทษของการสูบบุหรี่ไฟฟ้า

นักเรียนที่เข้าร่วมการอบรม  ร้อยละ 100%  มีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักถึงโทษ  รู้วิธีป้องกันและหลีกเลี่ยงตนจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้า

0.00
2 เพื่อให้นักเรียนที่เข้าร่วมการอบรมได้เป็นแกนนำในการถ่ายทอดความรู้ขยายผลไปยังผู้ใกล้ชิดในโรงเรียน

นักเรียนที่เข้าร่วมการอบรม  ร้อยละ 100%  สามารถถ่ายทอดความรู้ขยายผลไปยังผู้ใกล้ชิดในโรงเรียน  ครอบครัว เพื่อนบ้านและชุมชนได้

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณม.ค. 67ก.พ. 67มี.ค. 67
1 กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และสร้างภูมิคุ้มกันจากบุหรี่ไฟฟ้า(2 ม.ค. 2567-31 มี.ค. 2567) 29,190.00      
2 กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมเดินรณรงค์ต่อต้าน “บุหรี่ไฟฟ้า”(2 ม.ค. 2567-31 มี.ค. 2567) 5,520.00      
รวม 34,710.00
1 กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และสร้างภูมิคุ้มกันจากบุหรี่ไฟฟ้า กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 130 29,190.00 1 34,163.00
2 ม.ค. 67 - 31 มี.ค. 67 กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และสร้างภูมิคุ้มกันจากบุหรี่ไฟฟ้า 130 29,190.00 34,163.00
2 กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมเดินรณรงค์ต่อต้าน “บุหรี่ไฟฟ้า” กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 130 5,520.00 1 1,300.00
2 ม.ค. 67 - 31 มี.ค. 67 กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมเดินรณรงค์ต่อต้าน “บุหรี่ไฟฟ้า” 130 5,520.00 1,300.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.นักเรียนที่เข้าร่วมการอบรมได้รับความรู้ความเข้าใจตระหนักถึงโทษรู้วิธีป้องกันและ
หลีกเลี่ยงตนจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้า
2.นักเรียนที่เข้าร่วมการอบรมได้เรียนรู้และเป็นแกนนำในการถ่ายทอดความรู้ขยายผลไปยังผู้ใกล้ชิดในโรงเรียน ครอบครัว เพื่อนบ้านและชุมชนใกล้เคียงในการหลีกเลี่ยง การสร้างภูมิคุ้มกันและการป้องกันตนจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้า

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2567 00:00 น.