กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
รหัสโครงการ 67-L2535-05-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลปาเสมัส
วันที่อนุมัติ 11 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 90,117.63 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวดาริยา ขุนจันทร์
พี่เลี้ยงโครงการ นายอายิ หะมาดุลลาห์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปาเสมัส อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 95 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือกออกเป็นโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหนะนำเชื้อสู่คน โดยผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูง ปวดศรีษะ อ่อนเพลีย ซึม อาจจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน และตับโต ร่วมด้วยในผู้ป่วยบางรายอาจมีอการรุนแรงถึงกับมีเลือดออกในอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย ทำให้ช็อคและเสียชีวิตได้ ซึ่งโรคไข้เลือดออกนี้สามารถเป็นได้ในทุกกลุ่มอายุ โดยเฉพาะในกลุ่มอายุ 2-10 ปี โดยพบว่ามีการระบาดได้เกือบตลอดทั่งปีเกิดขึ้นได้ทุกฤดูกาลแต่มักจะมีการระบาดรุนแรงในช่วงฤดูฝน ระหว่างเดือนมิถุนายน - สิงหาคม ของทุกปี จากข้อมูลการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข โรคไข้เลือดออกเป็นโรคประจำถิ่นที่ถือเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญมากปัญหาหนึ่งของประเทศไทย เนื่องจากมีการป่วยหรือเสียชีวิตจากโรคดังกล่าวเป็นจำนวนมาก จากข้อมูลทางระบาดวิทยาของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในตำบลปาเสมัส อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส พบว่า ตั้งแต่เดือนมกราคม 2566 - ตุลาคม 2566 พบว่ามีผู้ป่วยไข้เลือดออกตามแพทย์วินิจฉัย จำนวนทั้งสิ้น 68 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 338.14 จากข้อมูลดังกล่าวพบว่า ในช่วง 2 ปีหลัง ช่วงปี 2565 -2566 อัตราผู้ป่วยเพิ่มขึ้น คืออัตราป่วยต้องไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกยังคงต้องมีการป้องกันและควบคุมอย่างต่อเนื่อง จึงต้องมีการเตรียมการเฝ้าระวังและควบคุมโรคอย่างเข้มข้น โดยใช้มาตรการที่หลากหลาย ได้แก่ การกำจัดพาหนะนำโรคไม่ว่าจะเป็นการทำลายภาชนะที่มีน้ำขัง การใส่ทรายกำจัดลูกน้ำ หรือการพ่นหมอดควัน ปรับปรุงสภาพแวดล้อม และป้องกันไม่ให้ยุงกัด จึงจำเป็นต้องมีการเริ่มดำเนินการให้รวดเร็ว ให้ทันต่อสภาวการณ์แพร่ระบาดของโรค ซึ่งการควบคุมโรคนั้น จำเป็นจะต้องทำอย่างต่อเนื่อง และอาศัยการมีส่วนร่วมจากหลายฝ่ายทั้งภาครัฐ และประชาชน จึงจะควบคุมโรคได้ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลปาเสมัส เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออก จะเห็นได้ว่ามีอัตราการป่วยจำนวนหลายรายในแต่ละปี เมื่อเทียบดูจากสถติการเกิดโรค การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากมักพบผู้ป่วยในช่วงเดือนมิถุนายน -สิงหาคม ของทุกปีในพื้นที่ตำบลปาเสมัส จึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้งชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนและศาสนสถาน ด้วยเหตุนี้การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากชุมชน โรงเรียน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นเพื่อเป็นการเฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้เลือดออก เทศบาลตำบลปาเสมัสจึงได้จัดโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ขึ้น เพื่อเป็นการเตรียมรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกและให้มีการทำงานอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกได้อย่างรวดเร็ว เพื่อมิให้มีการแพร่ระบาดในชุมชน

 

0.00
2 เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคที่มียุงเป็นพาหะนำโรค

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 90,117.63 0 0.00
1 ก.พ. 67 - 30 ก.ย. 67 ดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในโรงเรียน /ศดม./ศพด. และศาสนสถาน 0 24,282.45 -
1 ก.พ. 67 - 30 ก.ย. 67 ดำเนินการฉีดพ่นสารเคมีในบ้านผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก และโดยรอบรัศมี 100 เมตร ร่วมกับสาธารณสุขในพื้นที่ (50 หลังคาเรือน) 0 65,835.18 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 มีการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
2 อัตราการป่วยด้วยโรคที่มียุงเป็นพาหะนำโรคลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ม.ค. 2567 00:00 น.