กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ เยาวชนเข้มแข็ง พัฒนาสุขภาพ คลองรี ปี 67
รหัสโครงการ 67-L3065-2-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมคนรักกีฬา หมู่ที่ 1 บ้านคลองรี
วันที่อนุมัติ 28 ธันวาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 16,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมาฮาซัน หะยีมุเสาะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายแวอูเซ็ง แวสาและ
พื้นที่ดำเนินการ บ้านคลองรี ม.1 ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.859716,101.176294place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 90 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน)
90.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

วิถีชีวิตของประชาชนในพื้นที่เปลี่ยนไปจากเดิมจากสังคมชนบทเป็นสังคมเมือง ผลที่ตามมาหลายครอบครัวต้องทำงานอย่างหนักไม่มีเวลาที่จะดูแลสุขภาพ ภัยมืดที่คุกคามสุขภาพในรูปแบบต่างๆก็จะตามมา ผู้ปกครองไม่มีเวลาเอาใจใส่เด็กๆ โรคที่เกิดจากพฤติกรรมการบริโภคเพิ่มขึ้น จากมติที่ประชุมของชมรม พบภัยมืดที่คุกคามสุขภาพวัยเรียนดังนี้
1. เด็กหรือเยาวชนมีภาวะอ้วนมากกว่าเดิมเนื่องจากการบริโภคแป้งและน้ำตาล
2. เด็กขาดทักษะชีวิตเนื่องจากสิ่งอำนวยความสะดวกที่ผู้ปกครองหามาให้ 3. เด็กมีความก้าวร้าวโลกส่วนตัวสูง เนื่องจากสื่อ อุปกรณ์โซเชียล
ทางชมรมคนรักกีฬา ม.1 บ้านคลองรี เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนที่มีความใกล้ชิดกับทุกกลุ่มวัยในพื้นที่อยากเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนในการขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆเพื่อให้เยาวชนมีสุขภาพกายและใจที่เข้มแข็ง โดยเฉพาะในกลุ่มของเยาวชนที่เป็นกำลังหลักของชุมชนในการทำกิจกรรมต่างๆ มีกิจกรรมปฏิสัมพันธ์กับเยาวชนมานานหลายปี จากการสังเกตและรวบรวมข้อมูลของชมรมพบว่า หากเยาวชนได้มีการรวมตัวกัน มีความเข้าใจในรูปแบบการดำเนินชีวิตที่เหมือนกันก่อให้เกิดความสามัคคีกัน ภัยคุกคามต่างๆจากภายนอก ก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเยาวชนและประชาชนในพื้นที่ เพราะเยาวชนคือกำลัง พลัง อนาคตของชุมชน เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เยาวชนในพื้นที่ได้มีกิจกรรมในการส่งเสริมสุขภาพตนเอง คนรอบข้าง ชุมชนอย่างต่อเนื่อง ทางชมรมจึงได้จัดทำโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนจากกองทุนฯเพื่อดำเนินการอย่างต่อเนื่องต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวังภัยมืดที่คุกคามสุขภาพเยาวชนในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง

ร้อยละ 90 ของเยาวชนในพื้นที่มีทัศนคติที่ถูกต้องนำสู่การปฏิบัติที่ดี ต่อตนเองและชุมชน

90.00 81.00
2 เพื่อให้เยาวชนในพื้นที่ได้มีการรวมกลุ่มทำกิจกรรมที่เป็น การส่งเสริมสุขภาพเป็นประโยชน์ต่อตนเองและชุมชน

ร้อยละ 90 ของเยาวชนในพื้นที่ได้มีการรวมกลุ่มทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและชุมชน

90.00 81.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 16,900.00 0 0.00
1 ก.พ. 67 - 30 ก.ย. 67 ประชุมเครือข่ายสร้างสุขภาพ 0 2,100.00 -
1 ก.พ. 67 - 30 ก.ย. 67 ประเมินโครงการ 0 0.00 -
1 - 31 มี.ค. 67 พัฒนาทักษะองค์ความรู้ 0 12,850.00 -
1 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 ส่งเสริมกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางกาย การขยับกาย 0 1,950.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เยาวชนได้ตระหนักให้ความสำคัญต่อสุขภาพของตนเอง และคนรอบข้าง
  2. เยาวชนมีพฤติกรรมไม่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด สามารถปฏิบัติตนในแนวทางที่ถูกต้อง เหมาะสมและเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้อื่น ในสถานศึกษา และชุมชุน
  3. สิ่งแวดล้อมดี ชุมชนน่าอยู่
  4. เยาวชนตระหนักในกิจกรรมจิตอาสา
  5. เยาวชนเป็นกำลังหลักของหมู่บ้านในทุกเรื่อง
  6. เยาวชนมีความรู้สึกสำคัญมีคุณค่าในตนเอง และชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ม.ค. 2567 00:00 น.