กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการไอโอดีนเพื่อสุขภาพในเด็กปฐมวัย ประจำปี 2567
รหัสโครงการ 67-L5252-01-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลสำนักแต้ว
วันที่อนุมัติ 11 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 31,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางกัญชลิกา ขุนศรี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสำนักแต้ว อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.567,100.516place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 โรคขาดสารไอโอดีน เป็นปัญหาสำคัญปัญหาหนึ่งของประเทศ เป็นปัญหาสาธารณสุขทางด้านโภชนาการที่สำคัญ และเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของภาวะปัญญาอ่อน พบได้ในทุกกลุ่มอายุ แต่จะมีผลร้ายแรงชัดเจนในทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์จนถึงอายุ 3 ปี โดยในหญิงตั้งครรภ์หากขาดสารไอโอดีนจะ

ส่งผลต่อสมองของทารกในครรภ์ เพราะสารไอโอดีนมีความสำคัญมากต่อการพัฒนาสมอง ทารกที่อยู่ในครรภ์ต้องการสารไอโอดีนจากมารดาในการเพิ่มขนาดเซลล์สมองและช่วยสร้างโครงข่ายประสาทที่ต่อเชื่อมถึงกัน สร้างปลอกหุ้มเซลล์ใยประสาทอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหากขาดสารไอโอดีนจะส่งผลให้เกิดความด้อยของสมองในทารกและมีความเสี่ยงต่อการแท้งบุตรสูง อาจทำให้ทารกตายตั้งแต่อยู่ในครรภ์หรือพิการตั้งแต่กำเนิด เด็กที่เกิดจากมารดาที่ขาดสารไอโอดีนจะส่งผลให้สมองและร่างกายเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ ร่างกายแคระแกร็น รูปร่างเตี้ย และมีส่วนทำให้ความฉลาดทางสติปัญญาของเด็กตํ่าลง หรือมีโอกาสที่จะเป็นปัญญาอ่อน เป็นใบ้ ช่วยตัวเองไม่ได้กลายเป็นเด็กเอ๋อ อันจะบั่นทอนคุณภาพชีวิตโดยรวม ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ส่วนในเด็กวัยเรียนที่ขาดสารไอโอดีนจะส่งผลให้เรียนรู้ช้า เฉื่อยชา เป็นคอพอก ส่วนในวัยผู้ใหญ่หากขาดสารไอโอดีนจะทำให้กลายเป็นคนเซื่องซึม เฉื่อยชาประสิทธิภาพการทำงานลดลง

100.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้เด็กนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับการบริโภคอาหารที่มีส่วนประกอบหลักจากเกลือไอโอดีน

 

2 เด็กนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง และประชาชนในชุมชน มีความรู้ความ เข้าใจในสาเหตุและอันตรายจากการขาดสารไอโอดีน

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เด็กนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับการบริโภคอาหารที่มีส่วนประกอบหลักจากเกลือเสริมไอโอดีน 2.เด็กนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง และประชาชนในชุมชน มีความรู้ความเข้าใจในสาเหตุและอันตรายจากการขาดสารไอโอดีน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ม.ค. 2567 13:48 น.