กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุกเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและลดภาวะคลอดก่อนกำหนดในหญิงตั้งครรภ์
รหัสโครงการ 67-L7889-01-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 15 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2567 - 31 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 15 กันยายน 2567
งบประมาณ 16,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอัมพร ศิริวัฒน์ ผอ.กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.694,100.473place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุขภาพจิต , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 15 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ทารกเพื่อครอบครัวไทย ในพระราชูปถัมถ์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมารร่วมกับกระทรวงมหาดไทย ได้ดำเนินโครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุกเพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด เพื่อขับเคลื่อนและบูรณาการการทำงานร่วมกันในระบบส่งเสริมสุขภาพและดูแลรักษาหญิงตั้งครรภ์ เพื่อลดอัตราการคลอดก่อนกำหนดของประเทศ
    จากข้อมูลย้อนหลัง 3 ปี ของ Heath Data Center Report พบว่าอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ในปี 2564 มีหญิงที่ตั้งครรภ์และคลอดบุตรทั้งหมด 439 คน มีหญิงตั้งครรภ์คลอดก่อนกำหนด 29 คน คิดเป็นร้อยละ 6.61 ปี 2565 มีหญิงที่ตั้งครรภ์และคลอดบุตรทั้งหมด 282 คน มีหญิงตั้งครรภ์คลอดก่อนกำหนด 13 คน คิดเป็นร้อยละ 4.61 ปี 2566 มีหญิงที่ตั้งครรภ์และคลอดบุตรทั้งหมด 300 คน มีหญิงตั้งครรภ์คลอดก่อนกำหนด 20 คน คิดเป็นร้อยละ 6.67     อัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 10 - 14 ปี ปี พ.ศ. 2564 เท่ากับ 0.9 ต่อพัน ซึ่งเท่ากับปี 2565 การคลอดมีชีพในหญิงกลุ่มนี้เคยสูงสุดอยู่ที่ 1.8 ใน พ.ศ. 2555 และได้ลดลงเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง (HDC กระทรวงสาธารณสุข)     อัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 15 - 19 ปี ปี พ.ศ. 2564 เท่ากับ 24.4 ต่อพัน ใน 10 ปี ที่ผ่านมา ปี พ.ศ. 2554 อัตราคลอดมีชีพสูงที่สุดอยู่ที่ 53.4 และได้ลดลงเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง ปี พ.ศ.2565 อัตราคลอดมีชีพ เท่ากับ 24.24 (HDC, 18 พ.ย. 65)     ร้อยละการตั้งครรภ์ซ้ำในหญิงอายุต่ำกว่า 20 ปี ปี พ.ศ. 2565 เท่ากับ 14.29 (HDC, 18 พ.ย. 65) ลดลงจากร้อยละ 17.87 ในปี พ.ศ. 2559 (HDC กระทรวงสาธารณสุข) แต่ยังสูงเกินเกณฑ์เป้าหมายที่กำหนดในปี พ.ศ. 2565 ไม่เกินร้อยละ 13.0 ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่ต้องเร่งรัดการดำเนินงานเพื่อลดการตั้งครรภ์ซ้ำในกลุ่มวัยรุ่นอย่างจริงจังต่อไป     เพื่อให้การขับเคลื่อนโครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุกเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและลดภาวะคลอดก่อนกำหนดในหญิงตั้งครรภ์ บรรลุตามวัตถุประสงค์ และดำเนินการต่อเนื่องจากปีงบประมาณ 2566 กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลปริก จึงขอเสนอโครงการเพื่อเสนอขอรับสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.พ. 67มี.ค. 67เม.ย. 67พ.ค. 67มิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67
1 ลงเยี่ยมบ้านและมอบของเยี่ยม ได้แก่ นมและไข่ ให้แก่หญิงตั้งครรภ์ที่มีฐานะยากไร้ ที่มีภาวะทุพโภชนาการ มีภาวะซีด หรือน้ำหนักทารกในครรภ์น้อยกว่าเกณฑ์ เดือนละ 1 ครั้ง(1 ก.พ. 2567-31 ส.ค. 2567) 6,300.00              
2 1. ประชุมคณะกรรมการ (รวมคณะทำงาน จำนวน 35 คน)(15 ก.พ. 2567-15 มี.ค. 2567) 875.00              
3 2. จัดอบรม(1 พ.ค. 2567-31 พ.ค. 2567) 9,325.00              
รวม 16,500.00
1 ลงเยี่ยมบ้านและมอบของเยี่ยม ได้แก่ นมและไข่ ให้แก่หญิงตั้งครรภ์ที่มีฐานะยากไร้ ที่มีภาวะทุพโภชนาการ มีภาวะซีด หรือน้ำหนักทารกในครรภ์น้อยกว่าเกณฑ์ เดือนละ 1 ครั้ง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 3 6,300.00 0 0.00
1 ก.พ. 67 - 31 ส.ค. 67 มอบของเยี่ยม ไข่และนม แก่หญิงตั้งครรภ์ 3 คน 3 6,300.00 -
2 1. ประชุมคณะกรรมการ (รวมคณะทำงาน จำนวน 35 คน) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 35 875.00 0 0.00
15 ก.พ. 67 - 15 มี.ค. 67 ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุกเพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด 35 875.00 -
3 2. จัดอบรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 315 9,325.00 0 0.00
1 ก.พ. 67 - 31 ส.ค. 67 วัสดุอบรม/ประชุม 175 2,225.00 -
10 พ.ค. 67 2. จัดอบรม ครั้งที่ 1 เรื่องการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรและสุขภาพจิตในวัยรุ่น 90 4,050.00 -
20 พ.ค. 67 จัดอบรม ครั้งที่ 2 เรื่องการคุมกำเนิดและการป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนด 50 3,050.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนเกิดการตระหนักรู้และการรับรู้ในการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและลดภาวะคลอดก่อนกำหนดกำหนด
  2. ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนเชิงรุกในการดำเนินงานป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและลดภาวะคลอดก่อนกำหนด
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ม.ค. 2567 15:25 น.