กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ
รหัสโครงการ 67 – L7889-02-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ คณะกรรมการชุมชนร้านใน
วันที่อนุมัติ 15 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2567 - 31 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 15,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอัน เหล็มหมัน ประธานคณะกรรมการชุมชนร้านใน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.694,100.473place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 45 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคกระดูกและข้อเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญ เนื่องจากอุบัติการณ์ของโรคเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง  โดยข้อที่พบว่าเป็นปัญหาสุขภาพมากที่สุดคือ ข้อเข่า เนื่องจากข้อเข่าเป็นข้อที่มีขนาดใหญ่และต้องรับน้ำหนักของร่างกายโดยตรง ทั้งยังต้องทำหน้าที่เคลื่อนไหวเกือบตลอดเวลา ทำให้ข้อเสื่อมได้ง่าย โรคข้อเข่าเสื่อมหมายถึงภาวะที่ข้อเข่าเกิดความผิดปกติเนื่องจากสภาพร่างกายที่เปลี่ยนแปลงแบบถดถอยซึ่งสัมพันธ์โดยตรงกับอายุที่มากขึ้น และเป็นปัญหาสำคัญของระบบบริการสุขภาพของประเทศไทยเนื่องจากเป็นโรคข้อที่พบบ่อยที่สุด 1 ใน 10 ของโรคที่เป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดความทุพพลภาพในผู้สูงอายุ
ในปัจจุบันประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เช่นเดียวกันชุมชนร้านในก็มีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับโดยในปัจจุบันมีจำนวนผู้สูงอายุจำนวน 116 คน ในจำนวนนี้มีภาวะน้ำหนักเกิน มีอาการปวดข้อเข่า จำนวน 45 คน ซึ่งมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว     ดังนั้น เพื่อเป็นแนวทางให้เกิดความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมเพื่อชะลอความเสื่อมของข้อเข่า ซึ่งเป็นการป้องกันการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมรวมถึงป้องกันภาวะทุพพลภาพที่อาจจะเกิดตามมาได้ในผู้สูงอายุ ชุมชนร้านในจึงได้จัดทำโครงการ “รณรงค์ป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ” ขึ้นเพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุ อาการ การดูแลตนเอง รวมถึงท่าบริหารต่างๆ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อ การเกิดโรคข้อเข่าเสื่อม และการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อม รวมถึงให้ผู้สูงอายุมีความรู้เกี่ยวการทำยาพอกเข่าด้วยสมุนไพรและวิธีการใช้ ซึ่งการพอกเข่าด้วยสมุนไพรเป็นการนำสมุนไพรในท้องถิ่นที่มีสรรพคุณเพิ่มการไหลเวียนเลือด ลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ ลดอาการบวม มาพอกบริเวณเข่า ซึ่งเมื่อทำควบคู่กับการบริหารข้อเข่า การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รวมถึงการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมก็จะสามารถชะลอความเสื่อมของข้อเข่า

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีปัญหาข้อเข่าเสื่อมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุ อาการ รวมถึงท่าบริหารต่างๆที่สามารถป้องกันการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมได้

ผลลัพธ์เชิงปริมาณ

  1. ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุที่มีปัญหาข้อเข่าเสื่อมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุ อาการ รวมถึงท่าบริหารต่างๆ ที่สามารถป้องกันการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมได้
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีปัญหาข้อเข่าเสื่อมมีความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อม รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อม

ผลลัพธ์เชิงปริมาณ

  1. ร้อยละ 80 ของผู้ผู้สูงอายุที่มีปัญหาข้อเข่าเสื่อมมีความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อม รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อม

ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ

  1. ผู้สูงอายุที่มีปัญหาที่มีสุขภาพข้อเข่าที่ดีขึ้น
3 เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีปัญหาข้อเข่าเสื่อมมีความรู้เกี่ยวกับการทำยาพอกเข่าด้วยสมุนไพรรวมถึงวิธีการใช้ยาพอกเข่า

ผลลัพธ์เชิงปริมาณ

1.ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุที่มีปัญหาข้อเข่าเสื่อมมีความรู้เกี่ยวกับการทำยาพอกเข่าด้วยสมุนไพร รวมถึงวิธีการใช้ยาพอกเข่า

ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ

1.ชะลออาการเจ็บป่วยที่มีสาเหตุจากโรคข้อเข่าเสื่อม

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.พ. 67มี.ค. 67เม.ย. 67พ.ค. 67มิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67
1 กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้(20 ก.พ. 2567-20 ก.พ. 2567) 14,000.00              
2 ประเมินความรู้ความเข้าใจก่อน-หลังอบรม และติดตามอาการหลังจากพอกเข่า(20 ก.พ. 2567-31 ส.ค. 2567) 1,600.00              
รวม 15,600.00
1 กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 135 14,000.00 0 0.00
20 ก.พ. 67 - 23 ม.ค. 67 กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้ เรื่อง สาเหตุ อาการ รวมถึงท่าบริหารต่างๆที่สามารถป้องกันการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อม 45 9,000.00 -
20 ก.พ. 67 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อม รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อม 45 0.00 -
20 ก.พ. 67 กิจกรรมอบรมการทำยาพอกเข่าด้วยสมุนไพรรวมถึงวิธีการใช้ยาพอกเข่า 45 5,000.00 -
2 ประเมินความรู้ความเข้าใจก่อน-หลังอบรม และติดตามอาการหลังจากพอกเข่า กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 45 1,600.00 0 0.00
20 ก.พ. 67 - 31 ส.ค. 67 ประเมินความรู้ความเข้าใจก่อน-หลังอบรม และติดตามอาการหลังจากพอกเข่า โดยติดตามประเมินอาการก่อนสิ้นสุดโครงการ และหลังสิ้นสุดโครงการ ชุมชนดำเนินการต่อยอดกิจกรรมการพอกเข่า โดยการพึ่งพาตนเองและการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างต่อเนื่อง 45 1,600.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกิดความยั่งยืนในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุในชุมชน

  2. เกิดการขยายผลความรู้ในการป้องกันข้อเข่าเสื่อมไปยังชุมชนอื่นๆ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ม.ค. 2567 09:35 น.