กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคนรุ่นใหม่ใส่ใจเอดส์
รหัสโครงการ 67 - L8426 - 2 - 03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ จังหวัดนราธิวาส
วันที่อนุมัติ 16 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 25 มกราคม 2567 - 25 มีนาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 25 เมษายน 2567
งบประมาณ 33,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวพรพนา เจ๊ะกา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตันหยงลิมอ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.283,101.775place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ จังหวัดนราธิวาส ได้มีแนวทางการทำงานส่งเสริมการป้องกันการติดเชื้อรายใหม่และส่งเสริมการเข้าถึงบริการสุขภาพของผู้ติดเชื้อเอชไอวีให้ได้รับการรักษาที่ทันท่วงที โดยใช้หลักฐานการทำงานของกลุ่มที่มีการทำงานร่วมกับโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) และองค์กรชุมชนในปี ๒๕๖๒ กลุ่มได้มีการขยายงานเชิงรุก เพื่อจัดกิจกรรมในชุมชน เช่น หมู่บ้าน สถานศึกษา กลุ่มเยาวชน กลุ่มแม่บ้าน เป็นต้น  เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายสามารถประเมินความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีของตนเองได้    พร้อมมีความเข้าใจเรื่องการป้องกันเอชไอวี การอยู่ร่วมกันในชุมชน  และกลุ่มเป้าหมายเข้าถึงบริการให้คำปรึกษา และตรวจเลือดหาการติดเชื้อเอชไอวีโดยสมัครใจ โดยจัดบริการเชิงรุกในชุมชนเพื่อให้ผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการรับเชื้อเอชไอวีเข้าสู่บริการได้เร็วขึ้น  และหากพบว่าติดเชื้อเอชไอวีจะเข้าถึงการรักษาโดยไม่ต้องรอให้ป่วย และจะส่งผลอีกด้าน คือ การสร้างความเข้าใจลดการตีตรา และการเลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวีนำไปสู่การอยู่ร่วมกันในสังคม  นอกจากนั้นการจัดบริการเชิงรุกนี้ยังได้มุ่งเน้นส่งเสริมการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่เป็นประเด็นสำคัญในการทำงาน
    สถานการณ์ปัจจุบันมีสมาชิกผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่อยู่ในพื้นที่ตำบลตันหยงลิมอ ได้เข้าไปรับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอชไอวีที่โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ จำนวน ๘ ราย เมื่อปีพ.ศ.๒๕๖๕ ได้เสียชีวิต จำนวน ๑ ราย คงเหลือจำนวน ๗ ราย เมื่อสมาชิกผู้ติดเชื้อเอชไอวี ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอชไอวีแล้ว ทำให้มีสุขภาพดี แข็งแรง สามารถทำงานได้ มีครอบครัว เป็นต้น และได้ใช้ชีวิตเหมือนคนทั่ว ๆ ไป ที่สำคัญบางรายไม่บอกสถานการณ์ติดเชื้อเอชไอวีกับคู่ /ครอบครัวของตัวเองดังนั้น เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์  จังหวัดนราธิวาส ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการจัดอบรมส่งเสริมให้ชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องเอชไอวี/เอดส์ ที่ถูกต้องและสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกต้องต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายประเมินความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีของตนเองได้

กลุ่มเป้าหมายเข้าใจเรื่องเอชไอวี/เอดส์ มากขึ้น และสามารถเข้าใจการอยู่ร่วมกันกับผู้ติดเชื้อได้ 70%

84.00
2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความเข้าใจเรื่องการป้องกันเอชไอวีและการอยู่ร่วมกันในชุมชน

กลุ่มเป้าหมายสามารถประเมินความเสี่ยงของตนเองได้และมีทางเลือกในการป้องกันตนเอง 70%

84.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณม.ค. 67ก.พ. 67
1 อบรมให้ความรู้(8 ก.พ. 2567-8 ก.พ. 2567) 33,500.00    
รวม 33,500.00
1 อบรมให้ความรู้ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 120 33,500.00 0 0.00
8 ก.พ. 67 การป้องกัน การติดเชื้อเอชไอวี 60 23,300.00 -
15 ก.พ. 67 การป้องกัน การติดเชื้อเอชไอวี 60 10,200.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

กลุ่มเป้าหมายเข้าใจเรื่องเอชไอวี/เอดส์ มากขึ้น และสามารถเข้าใจการอยู่ร่วมกันกับผู้ติดเชื้อได้   กลุ่มเป้าหมายสามารถประเมินความเสี่ยงของตนเองได้และมีทางเลือกในการป้องกันตนเอง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ม.ค. 2567 15:05 น.