กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรู้เร็ว รู้ทัน ป้องกันภัย มะเร็งปากมดลูก ปี 2567
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าขมิ้น
วันที่อนุมัติ 21 ธันวาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2566 - 31 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2567
งบประมาณ 13,450.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเฉลา ทัศศรี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าขมิ้น อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 130 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านม เป็นโรคมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 1 และ 2 ของโรคมะเร็งทั้งหมดในสตรีไทย ปัจจุบันสถิติการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเต้านม และโรคมะเร็งปากมดลูกในสตรีไทยมีปริมาณเพิ่มขึ้นในโรคมะเร็งเต้านม เสียชีวิต 17.2 ต่อแสนประชากร ในโรคมะเร็งปากมดลูกเสียชีวิต 19.5 ต่อแสนประชากร ปัญหาดังกล่าวก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และทางด้านเศรษฐกิจ เป็นอย่างมาก แต่จะสามารถป้องกันและรักษาให้หายขาดได้ ถ้าพบผู้ป่วยโรคมะเร็งในระยะเริ่มแรก ได้พบว่าการคัดกรอง โดยวิธีการตรวจ HPV DNA Test คือ การตรวจในระดับโมเลกุล เพื่อหาเชื้อ HPV ความเสี่ยงสูงทั้ง 14 สายพันธุ์ ซึ่งเป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูก ประมาณ 99% โดยมีวิธีการตรวจเหมือนตรวจภายใน เพื่อจะตรวจหาเชื้อ HPV DNA การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเบื้องต้นด้วยวิธี เอชพีวี ดีเอ็นเอ (HPV DNA Test) เป็นการตรวจด้วยวิธีเจาะลึกระดับดีเอ็นเอเพื่อตรวจหาเชื้อเอชพีวี สายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูงทั้ง 14 สายพันธุ์ คือสายพันธุ์ 16, 18 และ เอชพีวี อีก 12 สายพันธุ์ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักสูงถึง 99% ของการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกในผู้หญิง และทราบหรือไม่ว่าเชื้อเอชพีวี สายพันธุ์ 16 และ18 สองสายพันธุ์นี้เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งปากมดลูกสูงถึง70% ดังนั้นถ้าสามารถกระตุ้นให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้มีความรู้และเข้าใจ เกี่ยวกับโรคดังกล่าว พร้อมทั้งตระหนักและเห็นถึงความสำคัญ ของการตรวจค้นหาโรคมะเร็งเต้านมและโรคมะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรกก็จะทำให้อัตราการเกิดโรค อัตราการป่วย และอัตราการตายจากโรคมะเร็งเต้านมและโรคมะเร็งปากมดลูกลดลงแต่ก็เป็นโรคที่สามารถรักษาได้ สำหรับมะเร็งเต้านม สามารถตรวจพบได้โดยการตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำทุกเดือน เพื่อค้นหาความผิดปกติของเต้านม ซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับการแนะนำให้ปฏิบัติมากที่สุด เนื่องจากเป็นวิธีที่ ไม่ยุ่งยาก สามารถปฏิบัติได้ง่ายด้วยตนเอง โดยไม่ต้องอาศัยเครื่องมือพิเศษใดๆช่วยในการตรวจ ประหยัดเวลา ไม่เสียค่าใช้จ่าย ดังนั้นงานศูนย์บริการสาธารณสุข กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม จึงได้ให้ความสำคัญการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านมขึ้นเพื่อค้นหาผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมให้ได้รับการรักษาตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก ตำบลท่าขมิ้น มีผลงานการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ผลงานสะสม ปี ( 2564-2566 ) เป้าหมาย 765 คน ได้รับการตรวจคัดกรอง363 คนคิดเป็นร้อยละ 47.45 ในรายที่พบผลผิดปกติจากการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ทุกรายได้รับการส่งต่อตามแนวทางการรักษา โรงพยาบาลส่งเสริมตำบลท่าขมิ้นเห็นความสำคัญในเรื่องดังกล่าวจึงจัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อเสริมสร้างความรู้ การป้องกัน มะเร็งปากมดลูก เพื่อค้นหาผู้ที่มีความผิดปกติให้ได้รับการส่งต่อ รักษาตามขั้นตอนอย่างรวดเร็ว

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้สตรี อายุ 30 - 60 ปี และประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ 50-70 ปี มีความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม อย่างน้อยร้อยละ 80 2. เพื่อให้สตรีกลุ่มเสี่ยง อายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูก

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ 50-70 ปี มีความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม อย่างน้อยร้อยละ 80

0.00 0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1. เพื่อให้สตรี อายุ 30 - 60 ปี และประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ 50-70 ปี มีความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม อย่างน้อยร้อยละ 80 2. เพื่อให้สตรีกลุ่มเสี่ยง อายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูก

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

1 - 30 พ.ย. 66 สำรวจประชากรกลุ่มเป้าหมาย สตรีอายุ 30 - 60 ปี ในพื้นที่ 12 หมู่บ้าน 0.00 -
1 ธ.ค. 66 - 31 ม.ค. 67 ชี้แจงให้ความรู้แกนนำอาสาสมัครสาธารณสุข เรื่องมะเร็ง ม ปากมดลูก มะเร็งเต้านม 0.00 -
1 ม.ค. 67 - 31 มี.ค. 67 คัดกรองด้วยวาจาประชาชนสตรีได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูก อายุ 30 - 60 ปี 0.00 -
1 - 29 ก.พ. 67 อบรมกลุ่มเป้าหมายให้ความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ลักษณะ มีส่วนร่วมและเชิญชวนกลุ่มเป้าหมายตรวจมะเร็งปากมดลูก (HPV DNA TEST) - นัดหมายกำหนดการตรวจมะเร็งปากมดลูก HPV DNA TEST - ประเมินความรู้โดยการซักถามขณะประชุมกลุ่ม 13,450.00 -
1 ก.พ. 67 - 30 เม.ย. 67 จัดกิจกรรมตรวจมะเร็งปากมดลูก HPV DNA TEST ในกลุ่มเป้าหมายพื้นทีรับผิดชอบ 12 หมู่บ้าน - เมื่อทราบผล ให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน แจ้งผลให้ผู้เข้ารับการตรวจทราบ 0.00 -
1 เม.ย. 67 - 30 มิ.ย. 67 ส่งกลุ่มเป้าหมายที่พบผลการตรวจผิดปกติ เพื่อรับการวินิจฉัยจากแพทย์ และรักษาตามขั้นตอน 0.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สตรี อายุ 30 - 60 ปี มีความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม อย่างน้อยร้อยละ 80
  2. สตรีกลุ่มเสี่ยงอายุ 30-60 ปี ได้ตรวจมะเร็งปากมดลูก (HPV DNA TES)
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ม.ค. 2567 00:00 น.