กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก HPV self-samplingทางเลือกใหม่ ลดกลัว ลดอาย ทำได้ด้วยตัวเอง
รหัสโครงการ 67-L3068-10(1)-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางตาวา
วันที่อนุมัติ 31 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2566 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 1 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 15,125.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายจีรศักดิ์ อัตถเจริญสุข
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 27 ก.พ. 2567 27 ก.พ. 2567 15,125.00
รวมงบประมาณ 15,125.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 55 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 55 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) ปัจจุบันโรคมะเร็งถือเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยและมีแนวโน้มอัตราการเกิดโรคสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากสถิติพบว่ามีผู้ป่วยโรคมะเร็งรายใหม่ถึงวันละ 336 คน หรือ 122,757 คนต่อปี โดยโรคมะเร็งที่พบมาก 5 อันดับแรกในคนไทย ได้แก่ มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก และมะเร็งปากมดลูก มีผู้เสียชีวิตวันละ 221 คน หรือคิดเป็น 80,665 คนต่อปีปัญหาดังกล่าวก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และทางด้านเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก แต่สามารถป้องกันและรักษาให้หายขาดได้ถ้าพบผู้ป่วยโรคมะเร็งในระยะเริ่มแรกดังนั้นถ้าสามารถกระตุ้นให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับโรคดังกล่าวพร้อมทั้งตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการตรวจค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรกก็จะทำให้อัตราการเกิดโรค อัตราการป่วยและอัตราการตายจากโรคมะเร็งฯลดลงกระทรวงสาธารณสุขได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้บรรจุแผนงาน/โครงการเกี่ยวกับโรคดังกล่าวขึ้น โดยกำหนดตัวชี้วัดคือสตรีที่มี อายุระหว่าง 30-60 ปี ได้รับการตรวจ PAP smear ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางตาวา พบว่าจำนวนผู้มารับการตรวจมะเร็งปากมดลูกของปี 2564 ร้อยละ 10.92 ปี 2565 ร้อยละ 11.45 ซึ่งยังไม่ผ่านเกณฑ์ตามเป้าหมายที่กำหนด และจากประสบการณ์การทำงานในชุมชนและจากการวิเคราะห์ตามสถานการณ์พบว่า กลุ่มเป้าหมายมีความอาย ความกลัว และปฏิเสธการรับบริการจากเจ้าหน้าที่ที่คุ้นเคยของสถานบริการใกล้บ้าน
สถิติได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโรงพยาบาลส่งเสริมสุภาพตำบลบางตาวา ปี 2566 มีจำนวนผู้เข้าอบรมทั้งหมด 60 คน และมีกลุ่มเป้าหมายรับการตรวจมะเร็งปากมดลูกทั้งหมด 60 คน ไม่พบกลุ่มเป้าหมายที่มีภาวะเสี่ยง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางตาวา ได้ตระหนักดีในบทบาทหน้าที่ในการส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคแก่ประชาชน เพื่อที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตแก่ประชาชน และเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายที่จะต้องดูแลรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง เป็นการสนองตามนโยบายประกันสุขภาพอีกทางหนึ่ง จึงได้จัดทำโครงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกขึ้น ดังนั้น เพื่อการดำเนินงานที่มีประสิทธิผลให้ครอบคลุมเป้าหมายอีกทั้งสร้างความตระหนักถึงความจำเป็นในการควบคุมป้องกันความรุนแรงของโรคมะเร็งปากมดลูก ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางตาวา จึงจัดทำโครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก HPV self-samplingทางเลือกใหม่ ลดกลัว ลดอาย ทำได้ด้วยตัวเอง ขึ้น เพื่อเป็นการตอบสนองนโยบายหลักประกันสุขภาพและส่งเสริมสุขภาพอนามัยในกลุ่มสตรี ดูแลสุขภาพของตนเอง และเป็นการติดตามกลุ่มเป้าหมายที่ยังไม่ได้รับการคัดกรอง เพิ่มความรู้ความเข้าใจและพัฒนาคุณภาพชีวิต รวมถึงลดค่าใช้จ่าย ลดความกลัว ลดความอาย ตลอดจนทรัพยากรที่จะต้องใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง โดยเน้นการตรวจแบบ HPV self-samplingทำได้ด้วยตนเอง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมาย ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแบบ HPV self-sampling

ร้อยละ 20 ของสตรีกลุ่มเป้าหมาย ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแบบ HPV self-sampling

0.00
2 เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง

ร้อยละ 80 ของสตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง

0.00
3 เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายที่ผลผิดปกติดได้รับการส่งต่อและวินิจฉัยโดยแพทย์ และติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่อง

ร้อยละ 100 ของสตรีกลุ่มเป้าหมายที่ผลผิดปกติดได้รับการส่งต่อและวินิจฉัยโดยแพทย์ และติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่อง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 15,125.00 0 0.00
1 ม.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ประชาสัมพันธ์เชิงรุกเกี่ยวกับโครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก HPV self-sampling ทางเลือกใหม่ ลดกลัว ลดอาย ทำได้ด้วยตัวเองในพื้นที่ เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้ามายที่มีอายุ 30-60 ปีมารับการตรวจคัดกรอง ทั้ง 2 หมู่บ้าน 0 1,500.00 -
1 มี.ค. 67 - 30 เม.ย. 67 จัดประชุมให้ความรู้แก่สตรีกลุ่มเป้าหมายที่มีอายุ 30-60 ปี พร้อมสอนวิธีการตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยตนเองแบบ HPV self-sampling และการตรวจเต้านมด้วยตนเอง 0 13,625.00 -
1 พ.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมการติดตามและส่งต่อเพื่อการรักษาที่ถูกต้อง 0 0.00 -
1 มิ.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมการติดตามและตรวจซ้ำจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข(กรณีกลุ่มเป้าหมายผิดปกติ) 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.สามารถค้นหาผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก และผู้ป่วยมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรก 2.กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม และเห็นความสำคัญของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลและมะเร็งเต้านม 3.ผู้ที่มีผลการตรวจผิดปกติได้รับการส่งต่อและวินิจฉัยโดยแพทย์ และติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่องทันท่วงที 4.สร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการสร้างเสริมพฤติกรรมการป้องกันเป็นการสร้างกระแสและให้ความสำคัญในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ม.ค. 2567 10:52 น.