กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตรวจคัดกรองสารเคมีตกค้างในเลือดแก่ประชาชนที่มีความเสี่ยง
รหัสโครงการ 67-L1512-01-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองปาง
วันที่อนุมัติ 24 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 9,180.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายชวลิตร คีรีรัตน์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองปาง อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.987,99.645place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประชาชนตำบลคลองปางส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งเกษตรกรมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเนื่องจากรูปแบบการเกษตรเปลี่ยนแปลงไปจากรูปแบบเดิม จากการทำเกษตรเพื่อบริโภคมาเป็นการทำเกษตรเพื่อเศรษฐกิจ เกษตรกรต้องการผลผลิตและรักษาคุณภาพของสินค้า จึงจำเป็นต้องใช้สารเคมี ประกอบกับมีการระบาดของศัตรูพืช จึงจำเป็นต้องใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืช ตำบลคลองปาง มีจำนวนเกษตรกรกลุ่มที่สัมผัสสารเคมีในการประกอบอาชีพทำสวนยางพารา สวนปลูกฝรั่ง และปลูกผัก ซึ่งเสี่ยงต่ออันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช           โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองปาง อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง มีการดำเนินงานดูแลสุขภาพเกษตรกรมาอย่างต่อเนื่อง โดยการให้ความรู้แก่เกษตรกรในพื้นที่มีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช เรื่องอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช การจัดบริการตรวจระดับเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรส เพื่อให้เกษตรกรมีความตระหนักถึงโอกาสเสี่ยงในการได้รับอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชทุกปี โดยในปีล่าสุด ๒๕๖6 ได้มีการสำรวจความเสี่ยงเกษตรกรจำนวน 214 คน และตรวจเลือดหาสารโคลีนเอสเตอเรสในผู้ที่มีความเสี่ยง พบว่า อยู่ในระดับไม่ปลอดภัย 15 คน คิดเป็นร้อยละ 7.03 ระดับเสี่ยง 19 คน คิดเป็นร้อยละ 8.87 ระดับปลอดภัย 39 คน คิดเป็นร้อยละ 18.22 ระดับปกติ 141 คน คิดเป็นร้อยละ 65.88 จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จะเห็นว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ยังมีพฤติกรรมในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ไม่ถูกต้อง จึงส่งผลกระทบต่อสุขภาพ
          ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองปาง อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง จึงได้จัดทำโครงการตรวจคัดกรองสารเคมีตกค้างในเลือดแก่ประชาชนที่มีความเสี่ยง เพื่อเป็นการเฝ้าระวัง ป้องกันและลดอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตร และสร้างความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ ๑ เพื่อให้ประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อสารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้รับการตรวจคัดกรอง และให้คำแนะนำเพื่อส่งต่อรักษา

๑. ร้อยละ ๑๐๐ ของประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อสารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้รับการตรวจคัดกรอง และให้คำแนะนำเพื่อส่งต่อรักษา

2 ข้อที่ ๒ เพื่อให้มีการจัดบริการดูแลสุขภาพเชิงรุกแก่ประชาชนที่มีภาวะเสี่ยง

๒. ร้อยละ ๑๐๐ ของประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการรักษาด้วยยาสมุนไพร

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : ข้อที่ ๑ เพื่อให้ประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อสารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้รับการตรวจคัดกรอง และให้คำแนะนำเพื่อส่งต่อรักษา

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : ข้อที่ ๒ เพื่อให้มีการจัดบริการดูแลสุขภาพเชิงรุกแก่ประชาชนที่มีภาวะเสี่ยง

รวม 0 0.00 0 0.00

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

๑. ขั้นเตรียมการ     ๑.๑ ประชุมคณะทำงานเพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินงาน     ๑.๒ จัดทำและเสนออนุมัติโครงการ     ๑.๓ ประสานกับหน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้อง ๒. ขั้นดำเนินการ     ๒.๑ จัดเก็บข้อมูลเพื่อประเมินความเสี่ยงการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช จำนวน 210 คน     ๒.๒ เจาะเลือดตรวจคัดกรองผู้ที่มีความเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช จำนวน 210 คน     ๒.๓ บันทึกสุขภาพเกษตรกรที่มีความเสี่ยงจากการเจาะเลือด รักษาโดยใช้ยาสมุนไพรและนัดติดตามผลอย่างต่อเนื่อง
๓. ขั้นสรุปโครงการ     ๓.๑ สรุปผลโครงการ     ๓.๒ จัดทำรายงานสรุปผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ทำให้ประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อสารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้รับการตรวจคัดกรอง และให้คำแนะนำเพื่อส่งต่อรักษา
๒. ทำให้มีการจัดบริการดูแลสุขภาพเชิงรุกแก่ประชาชนที่มีภาวะเสี่ยง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ม.ค. 2567 11:48 น.