กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการค้นหา ป้องกัน และควบคุมวัณโรคในชุมชน ตำบลบ่อหิน
รหัสโครงการ ุ67-L8429-01-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลสิเกา
วันที่อนุมัติ 24 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2567 - 30 เมษายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางบุญตา ศรีละออง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อหิน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.569505428,99.33580733place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มี.ค. 2567 30 เม.ย. 2567 10,000.00
รวมงบประมาณ 10,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

วัณโรคเป็นโรคติดต่อที่กำลังเป็นปัญหาสำคัญด้านสาธารณสุข เป็นสาเหตุของการป่วย และการเสียชีวิตในหลายๆประเทศ  ทั่วโลก อีกทั้งปัจจุบันการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ทำให้ปัญหาวัณโรคมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเนื่องจากการติดเชื้อเอดส์ทำให้ภูมิคุ้มกันบกพร่อง มีโอกาสป่วยเป็นวัณโรคได้รวดเร็วและรุนแรงกว่าผู้ที่ไม่ติดเชื้อเอดส์ วัณโรคจึงนับเป็นปัญหาที่ท้าทายต่อวงการสาธารณสุขของประเทศต่างๆ ปัจจุบันทั่วโลกมีผู้ที่ติดเชื้อวัณโรคประมาณ ๒ พันล้านคน หรือเกือบ ๑ ใน ๓ ของประชากรโลก มีผู้ป่วยวัณโรคเสียชีวิต ๑.๙๐ ล้านคนในแต่ละปี จากการคำนวณทางระบาดวิทยาในรายงานขององค์การอนามัยโลกคาดว่า ประเทศไทยน่าจะมีผู้ป่วยรายใหม่ทุกประเภทประมาณ ๙๒,๓๐๐ คน ในจำนวนนี้ประมาณครึ่งหนึ่ง หรือ ๔๔,๔๗๕ คนเป็นผู้ป่วยที่สามารถแพร่เชื้อได้ และมีผู้ป่วยวัณโรคเสียชีวิตปีละ ๑๒,๐๘๙ ราย นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ป่วยโรคเอดส์รายใหม่ตรวจพบวัณโรคร่วมด้วย ประมาณร้อยละ ๑๗
  รายงานสถานการณ์และการเฝ้าระวังวัณโรคประเทศไทย ปีงบประมาณ พ.ศ.256๕ ข้อมูล ณ วันที่1 ตุลาคม 256๖ พบว่า ผู้ป่วยวัณโรครายใหม่และกลับเป็นซ้ำ ของทุกประเภท (คนไทย ไม่ใช่คนไทย และเรือนจำ) ที่ขึ้นทะเบียน จำนวน ๑๐๓,๐๐๐ ราย และมีการเสียชีวิตจากวัณโรคกว่า 12,000 รายต่อปี
    สถานการณ์วัณโรคในอำเภอสิเกา ปี ๒๕๖๔ – ๒๕๖๖ มีจำนวนผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่เสมหะพบเชื้อจำนวน ๑๔ ,๒๐ และ ๒๖ ราย ตามลำดับ มีผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่เสมหะพบเชื้อที่อาศัยอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 1,2,3,๖,8,9 ตำบลบ่อหิน จำนวน ๕ ,๓ และ ๔ ราย ตามลำดับ โดยปี ๒๕๖๔-๒๕๖๖ พบผู้ป่วยวัณโรคเสียชีวิต จำนวน ๒ , ๑ และ ๑ ราย ตามลำดับ อัตราความครอบคลุมการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ปี ๒๕๖๖ ร้อยละ ๕๒ ซึ่งยังต่ำกว่าเกณฑ์ที่กรมควบคุมโรคตั้งเกณฑ์เป้าหมายไว้ร้อยละ ๙๐ จึงจำเป็นต้องเร่งรัดค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มประชากรด้อยโอกาส และกลุ่มเสี่ยงต่างๆให้ครอบคลุม รวมทั้งทำงานแบบผสมผสานทั้งงานวัณโรค และโรคเอดส์อย่างจริงจัง เพื่อลดอัตราการตายของผู้ป่วย และป้องกันปัญหาวัณโรคดื้อยาหลายขนานอีกด้วย โดยการดำเนินงานดังกล่าวจำเป็นต้องได้รับการ ช่วยเหลือจาก ภาคส่วน และองค์กรในชุมชน โดยเฉพาะอาสาสมัครธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ซึ่งเป็นบุคคลจิตอาสาที่อาศัยอยู่ในชุมชน เป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับจากชุมชน มีระบบเครือญาติ และเครือข่ายทางสังคม มีความคล่องตัว คุ้นเคย เข้าใจสภาพปัญหาในชุมชน และมีบทบาทในการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ร่วมกับบุคลากรสาธารณสุขมาอย่างต่อเนื่อง จากความสำคัญดังกล่าว โรงพยาบาลสิเกาจึงได้จัดทำโครงการค้นหา ป้องกัน และควบคุมวัณโรคในชุมชน โดยเชิญอสม.ในพื้นที่หมู่ที่ ๑ ,๒, ๓ ,๖, ๘ ,๙ ตำบลบ่อหินเพื่อรับการพัฒนาความรู้ และทักษะตลอดทั้งดำเนินการคัดกรองวัณโรคและ ส่งต่อในรายที่มีอาการสงสัยไปโรงพยาบาลสิเกา อีกทั้งเป็นแกนนำในการสร้างความเข้าใจและจัดทำแนวทางแก้ไขปัญหาวัณโรคร่วมกับชุมชน เพื่อให้ชุมชนสามารถดำเนินงานป้องกันและควบคุมวัณโรคปอดได้ด้วยชุมชนเอง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้อสม.แกนนำมีความรู้ความเข้าใจเรื่องวัณโรค

อสม.แกนนำที่รับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเรื่องวัณโรคเพิ่มขึ้น

90.00
2 เพื่อให้อสม.แกนนำ มีทักษะที่ถูกต้องในการคัดกรอง ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง สามารถตั้งคำถาม/ให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยวัณโรคและญาติได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

งอสม.แกนนำที่ได้รับการอบรมมีทักษะที่ถูกต้องในการคัดกรองผู้สัมผัสเสี่ยงสูง สามารถตั้งคำถาม/ให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยวัณโรคและญาติได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

90.00
3 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงเป้าหมายในชุมชนได้รับการคัดกรอง วัณโรคและได้รับการส่งต่อในรายที่มีอาการสงสัย

กลุ่มเสี่ยงเป้าหมายในชุมชนได้รับการคัดกรองวัณโรคและได้รับการส่งต่อในรายที่มีอาการสงสัย

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 30 10,000.00 1 10,000.00
7 มี.ค. 67 กิจกรรมอบรม อสม. โดยการบรรยาย เนื้อหาประกอบด้วย -ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวัณโรค -ยาที่ใช้ในการรักษาวัณโรคและอาการข้างเคียง -แนวทางการเยี่ยมบ้านและการกำกับการกินยา -แนวทางคัดกรองวัณโรคในกลุ่มเสี่ยงเป้าหมายและการส่งต่อ 30 10,000.00 10,000.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.อสม.แกนนำสามารถเป็นผู้นำในการป้องกันวัณโรค ๒.ผู้ป่วยวัณโรคทุกรายได้รับการกำกับการกินยาแบบมีพี่เลี้ยง(DOT) โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและ อสม. ๓.อัตราป่วยวัณโรคลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 ม.ค. 2567 11:22 น.